ความคิดเห็นต่อเวทีเสวนาเด็กไทยสไตล์ว่าที่ดอกเตอร์ป๊อป


เป้าหมายของเวทีนี้...อยากให้ทุกคนพัฒนาระบบความคิดเพื่อจัดการความรู้ก่อนสร้างโปรแกรมให้เด็กไทยที่มีระบบและมีประสิทธิภาพครับ

หลายท่านพอใจกับความรู้ที่ได้รับ แต่ด้วยเวลาที่จำกัด โปรแกรมที่ทุกๆท่านได้จึงอาจจะไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็มีหลายโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาได้ดีระดับหนึ่งทีเดียวเพราะเป็นตัวอย่างที่สะท้อนออกมาจากความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละท่านครับ

มีบางท่านต้องการให้ผมแก้ภาษาและรายละเอียดในโปรแกรมที่ฝึกสร้างและเขียนกันในห้อง ผมขอปฏิบัติเสธและแนะนำต่อไปว่า อยากให้พี่เค้านำไปคิดตรึงตรอง ทบทวนกับความรู้ใหม่ นำลงไปปฏิบัติจนรู้จริง ก็สามารถเพิ่มเติมด้วยความคิดที่เป็นระบบของตนเอง

"ไม่มีอะไรถูกหรือผิดในการจัดการความรู้ครับ"

ผมยอมรับว่า "การเปลี่ยนทัศนคติและรูปแบบความคิด" ของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะมีพื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์ชีวิตใดๆ เป็นเรื่องที่ท้าทายมากครับ แต่ผมเชื่อว่า "การลงมือปฏิบัติจนเกิดความคิดใหม่" จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการพัฒนาตนเองครับ

หลายท่านอาจจะถามว่า ทำไมต้องคิดเยอะแยะจังเลย กว่าจะสร้างโปรแกรมใดๆ ทำไมไม่นำโปรแกรมสำเร็จรูปไปใช้เลย เสียเวลาคิดทำไม ทำไมไม่อธิบายไปเลยว่าอะไรที่เป็นโปรแกรมที่มีชื่อเสียงและได้ผลต่อเด็กพิเศษ แล้วนำมาใช้ไปเลย

คำตอบของผมก็คือ หากคนเราไม่รู้ระบบความคิดของตนเอง เมื่อมนำโปรแกรมใดๆไปใช้ เราจะรู้จริงแท้อย่างไรว่าเราจะมีระบบความคิดที่ดีในการใช้โปรแกรมนั้นๆ

"โปรแกรมที่ดีที่สุด คือ โปรแกรมที่มีการจัดการสร้างโปรแกรมและคิดอย่างเป็นระบบ" ยิ่งถ้าเด็กพิเศษและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสร้างโปรแกรมและคิดอย่างเป็นระบบ โปรแกรมนั้นก็อาจจะถูกนำไปใช้และจัดการในเด็กพิเศษอื่นๆ ได้ต่อไปครับ

แม้แต่โปรแกรมสำเร็จรูปก็ถือกำเนิดมาจากแนวความคิดที่ถูกจัดการมาด้วยเวลาที่นานจนพิสูจน์แล้วว่า "ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

ลองพิจารณาอีกครั้ง หนังสือที่ท่านได้จากการประชุม (เล่มสีเหลือง) คือความรู้ใหม่ หากท่านทบทวนอีกสักครั้งพร้อมๆกับการเขียนรายละเอียดตามหลักการสร้างโปรแกรม ผมเชื่อว่าท่านจะได้แนวคิดเพื่อจัดสร้างโปรแกรมที่มีรายละเอียดที่เกือบสมบูรณ์ และจะให้สมบูรณ์เมื่อท่านลองนำไปปฏิบัติแล้วรายงานผลเพิ่มเติม โปรแกรมก็จะถูกพัฒนาอย่างมีระบบต่อไปครับ 

การนำโปรแกรมใดๆ ก็ตามมาใช้กับกลุ่มผู้บำบัด หรือครู หรือเด็กพิเศษที่แตกต่างกัน ท่านต้องระลึกเสมอว่าเรารู้จริงไหม เรามั่นใจแค่ไหน เราใส่ความคิดและสร้างสรรค์โปรแกรมให้เหมาะสมกับตัวเรา หรือเด็กพิเศษของเราแค่ไหน เห็นไหมครับ ทักษะการให้เหตุผลมีความจำเป็นในการทำการรักษาหรือให้การศึกษาเด็กพิเศษหนึ่งคน เพราะพวกเค้ามีปัญหาค่อนข้างซับซ้อน เป็นการวัดประเมินคุณภาพของการรักษาหรือการให้การศึกษาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กพิเศษ

บทสรุปนี้คือ "ถ้าเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ เราต้องรู้จักระบบความคิดและการจัดการความรู้เพื่อให้มีแนวคิดและพฤติกรรมของตนเองที่ชัดเจนก่อน" แนวคิดและพฤติกรรมที่ชัดเจนของท่านจะนำมาซึ่งการเลือกองค์ประกอบต่างๆในโปรแกรมและพัฒนาวิธีการจัดการโปรแกรมนั้นต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 87549เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2007 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • งง บันทึกเนื่องจากไม่เห็นรูปหล่อๆๆ
  • เคยเข้ามาไม่ถูก
  • มาให้กำลังใจในการทำงานครับผม

เป็นบัททึกสรุปงานที่ผมลองทำ Workshop ครั้งแรกเมื่อสามวันที่ผ่านมาครับ พยายามจะนำ KM & Clinical reasoning skill มาจับกับบุคลากรที่ดูแลเด็กพิเศษครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจจากพี่ขจิตครับ

 

รูปแบบบันทึกเท่ห์จังค่ะ กำลังติดตามแบบงงอยู่นะคะ อาจจะขอดูสักพักก่อนจะลปรร.ด้วย
รูปแบบบันทึกเท่ห์จังค่ะ กำลังติดตามแบบงงอยู่นะคะ อาจจะขอดูสักพักก่อนจะลปรร.ด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท