การผสมของสีดอกกล้วยไม้


เม็ดสี(pigments)ทำให้เกิดดอกที่มีสีสันสวยงาม

ไปอ่านเจอ เลยนำมาขยายต่อ สำหรับนำไปใช้ในการผสมกล้วยไม้ครับ 

ผสมสีดอกกล้วยไม้

อ่านพบมาคิดว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน
สีของดอกกล้วยไม้ที่ได้ทำการศึกษากันมามากคือสีของแคทลียา  เรื่องของ เม็ดสี(pigments)ทำให้เกิดดอกที่มีสีสันสวยงาม
นอกจากนี้การเกิดสีขาวก็มีเหตุผลที่น่าศึกษา  
โดยทั่วไปเราพบว่ามีเม็ดสีอยู่ 4 ชนิด คือ Chlorophylls  , Carotenoids ,Flavonoids,และ Betalins โดยที่     
Chlorophyllsสีเขียว และ Carotenoidsสีเหลือง,สีส้ม  
ทั้งสองเม็ดสีนี้ ละลายในน้ำมันและอยู่ในPlastidsซึ่งอยู่ใน cytoplasmของcell      Plastidsมีหน่วยGenome ของตนเองส่งถ่ายทอดทางต้นที่เป็นแม่(female)เท่านั้น         แต่อย่างไรก็ตามNuclear DNAซึ่ง
ถ่ายทอดได้จากต้นพ่อและแม่มักจะมีบทบาทในการควบคุมการสร้างCarotenoids
        Flavonoidsและ Betalins ละลายในน้ำอยู่ในVacuolesของcell (Cell Sap)      Betalins ให้สี น้ำเงิน(ไม่พบในกล้วยไม้ )
ส่วนFlavonoidsให้สีแดงไปจนถึงสีม่วงน้ำเงิน   การเกิดสีขึ้นกับความเป็นกรด,ด่างของCell Sap นี้ ถ้าเป็นกรดจะสีแดง ถ้าเป็นด่างจะให้สีม่วงน้ำเงิน      โดยFlavonoids ก็คือAnthocyanins
         Chlorophyll ให้สีเขียวเข้ม ถ้าปนกับ Carotenoidsจะได้สีเขียวใสหรือซีด ถ้าปนAnthocyaninsเข้าไปอีกจะได้สีบรอนซ์
หรือสีน้ำตาล   สีโคลนมาจากAnthocyanins ชั้นบนของกลีบดอกขณะที่มีChlorophyllsอยู่ในชั้นล่างของกลีบดอก    ส่วนสีแดงมาจากการที่สีส้มหรือเหลืองของCarotenoidปนกับสีแดงของAnthocyanins
          การเกิดดอกสีขาวเกิดได้สองกรณี ๆแรกจากยีนการควบคุมAnthocyaninsผิดปรกติ ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสีออกมา
ทำให้ดอกเป็นสีขาว( Albino Geneแฝงอยู่ ) ตัวอย่างเช่นการผสมไม้สีม่วง2ต้นเข้าด้วยกันกลับได้สีขาว        ส่วนอีกกรณีหนึ่ง
นั้นไปใช้แนวใหม่เรื่องSuppressive Gene   เช่นดอกสีเหลืองแสดงว่ามี Anthocyanins suppressive gene  ดอกสีม่วงมีCarotenoids suppressive gene ถ้าเอา2อย่างนี้มาผสมกันโอกาสได้สีขาว   ตัวอย่างเช่นLc.Powhatan มีแม่เป็นไม้ม่วง มีพ่อเป็นC.dowianaซึ่ง
เป็นสีเหลืองพันธุ์แท้ กลับได้สีขาว(ปากแดงเพราะสีปากควบคุมต่างกันกับกลีบดอก)
         
การผสมสีของแคทลียาเท่าที่ติดตามค้นคว้าทางทฤษฎีและเปรียบเทียบจากคู่ผสมในอดีต รวมทั้งสอบถามจากประสบการณ์ของท่าน
ที่เป็นนักผสมพอได้แนวทางบ้าง
มีคำกล่าวว่า    ยีนที่ควบคุมสีของปากแคทลียาถ่ายทอดไปหาปากเท่านั้นไม่สามารถถ่ายทอดส่งต่อไปหากลีบดอก
                          สีเหลืองในกลุ่มCattleya เป็นลักษณะด้อยซ่อนอยู่ในหน่วยพันธุกรรมชองดอกสีม่วง
                          ส่วนใน Laelia สีเหลืองเป็นลักษณะเด่นโดยกลบสีม่วง
                           การผสมถ้าต้องการดอกสีส้มหรือเหลืองควรใช้ต้นแม่เป็นสีที่ต้องการนั้น และควรผสมด้วยต้นพ่อสีเดียวกัน
                           ยีนที่ควบคุมสีบลูในแคทลียาเป็นลักษณะด้อยดังนั้นถ้าเอาต้นสีบลูไปผสมกับต้นสีอื่นจะไม่ได้สีบลู
                               
 (แต่บลูในตระกูลLaelia บางชนิดเป็นลักษณะเด่นได้บ้าง  ) ดังนั้นถ้าอยากได้แคทสีบลูต้องผสมระหว่างบลู
ด้วยกันเท่านั้น  ตัวอย่างมีผู้ผสมแคท เมมโรเบริทสเตรทบลูฮาวายเข้ากับวอคเคอเรียน่าบลู ลูกออกมากลับ
เป็นไม้สีม่วงแดงแสดงว่าบลูฮาวายบลูแต่ชื่อแต่มิใช่ไม้บลูจริงๆ         หรือตัวอย่างของ ปอร์เตียบลูxควีนสิริกิต
ได้สีม่วงแดงไม่ได้สีบลูยิ่งมีการผสมมาหลายๆชั้นยิ่งยากที่จะทายว่าลูกผสมนั้นๆจะออกมาเป็นอย่างไร
     พันธุ์แท้ย่อมมีอิทธิพลสูงในการดึงลักษณะลูกผสมให้ไปหาลักษณะของตนเอง ตัวอย่างเช่น ดิกบายาน่าลูกผสม
หน้าตาคล้ายๆกันไปหมด
      Co pigmentation เป็นเรื่องน่าติดตาม ทั้งเป็น enhancer ,intensifier,suppressor เช่นสีเขียวเป็นตัว
กระตุ้นให้สีบลูเข้มขึ้นในการทำไม้บลูแต่ต้องเป็นเขียวที่แฝงอยู่
พยามรวบรวมมาครับผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยและเปิดให้วิจารณ์เสริมได้เต็มที่นะครับ  การศึกษาคู่ผสมเป็นเรื่องสนุกและทำให้เราได้ทราบว่าทฤษฎีถูกต้องหรือไม่และทำให้เรากำหนดสีได้ดีขึ้นไม่ต้องเสียเวลาไปหลายปีกว่าจะได้ลูกผสมที่ออกมาไม่ตรงใจที่อยากได้

ขอขอบคุณข้อมูล จาก http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J5185483/J5185483.html#22

หมายเลขบันทึก: 87210เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
 ดิฉันเห็นบันทึกของคุณ โดนใจ เพราะคุณพ่อชอบกล้วยไม้เป็นชีวิตจิตใจ ที่บ้านปลูกมากมาย เหลือขายให้ร้านมาซื้อถึงบ้านก็มาก ผสมกล้วยไม้และไปจดทะเบียนด้วยค่ะ ท่านเสียไปแล้ว ได้ความรู้ค่ะ ขอบคุณ  อยากให้มีคนเขียนหลากหลายหน่อยก็ดีนะคะ
P

ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเยี่ยมครับ

อีกนิดนึงค่ะ เมื่อคืนง่วงมาก คุณพ่อส่งกล้วยไม้ออกนอกด้วย คุณพ่อศึกษามาก มีเอนไซโคลพีเดียกล้วยไม้หลายเล่มที่บ้าน ตอนนี้ก็ยังอยู่  แต่ดิฉันไม่ได้สานเรื่องส่งออกต่อ เพราะทำงานอื่นอยู่ มีคนทำส่งออกมากมาย เขาต้องมีความรู้แค่ไหนคะ จึงจะทำได้ดี เห็นชาวสวนทำกันแยะ ไม่ต้องรู้วิชาการอะไรมาก ขอช่วยตอบค่ะ

P

เรื่องของกล้วยไม้เป็นเรื่องของความรักครับ ส่วนใหญ่จะชอบ รัก และค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นเรื่องของการค้าครับผม ถามว่ามีความรู้แค่ไหนถึงทำได้ ในเรื่องการการปลูกเลี้ยง องค์ความรู้ส่วนใหญ่ 90 กว่าเปอร์เซนต์ อยู่กับผู้ปลูกเลี้ยงหรือเรียกง่าย ๆ ว่าชาวสวนนั่นเองครับ นักวิชาการสู้ไม่ได้ครับ สำหรับเรื่องการค้า การส่งออก จะเป็นเรื่องของการจัดการ การตลาดครับ เท่าที่ได้ข้อมูลคุณพ่อ คงจะเป็นคนที่ชอบกล้วยไม้มาก ๆ ครับ หาหนังสือ มาอ่านแล้วทดลองผสมพันธุ์ จะได้พันธุ์กล้วยไม้ใหม่ ๆ เกิดขึ้น ครับ ได้ลุ้นว่าลูกผสมที่เราผสมนั้นจะออกมามีหน้าตาเป็นอย่างไร มีสีสันเป็นอย่างที่เราต้องการหรือที่ตั้งสมมุติฐานไว้หรือเปล่า  เป็นความสุขอย่างหนึ่งครับ

 

 เพิ่งได้ยินที่พูดว่า องค์ความรู้ส่วนใหญ่อยู่ที่ชาวบ้าน แล้วนักวิชาการทำไมไม่นำหลักวิชาการไปสอนเขาเพิ่มล่ะคะ เขาจะได้ไปพัฒนาความรู้จากการปฏิบัติให้ดีขึ้น ทำนองเดียวกันนักวิชาการก็จะได้ นำภาคปฏิบัติมาพิสูจน์ตามหลักการ จะทำให้ภาคปฏิบัติไปคู่กับวิชาการได้ดีขึ้น  ดิฉันทำร.ง.อุตสาหกรรมมาก่อน เคยมีนักวิชาการมาแนะนำเรื่องการทำโรงบ่มผลไม้ ปรากฏว่า เสียมากกว่าได้ค่ะ เพราะการทดลองยังน้อยไป

P
ชาวสวนกล้วยไม้ ปลูกเลี้ยงและอยู่กับกล้วยไม้เกือบตลอดเวลา บางคนเกิดและโตในสวนกล้วยไม้ ได้เรียนรู้ชนิดพันธุ์ นิสัย และวิธีการปลูกเลี้ยงจากการสังเกตุ การผสมพันธุ์ การให้ปุ๋ย ให้ยา การจัดการในสวน พวกเขาปฏิบัติ เป็นการทดลอง อาจจะลองผิดบาง ถูกบ้างแต่ก็ได้เก็บและสั่งสมความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประกวดกล้วยไม้ เวลา และความชอบ ปากท้อง อยู่ที่กล้วยไม้ครับ ผมถึงบอกว่า องค์ความรู้ส่วนใหญ่อยู่ที่ชาวสวน  ส่วนนักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้ ก็มีหลากหลาย บางคนเป็นนักเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพาะเมล็ด บางคนก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรค แมลง แต่เวลาที่จะได้สัมผัสกับกล้วยไม้โดยตรงมีจำกัด อีกทั้งการสนับสนุนของส่วนราชการที่มุ่งมาที่กล้วยไม้อย่างเดี่ยวค่อนข้างจะน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับภาษีที่ได้รับจากการขาย ส่งออก กล้วยไม้ไปต่างประเทศ (ยังไม่ได้รับการสนับสนุนมากพอ) ผมไม่อยากเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่ใกล้ ๆ บ้านเรา ที่รัฐให้การสนับสนุนเต็มที่ สำหรับนักวิชาการ บางคน(เป็นบางคนเท่านั้น) ก็มุ่งแต่จะทำงานวิจัยเพียงอย่างเดี่ยวไม่สนใจในเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้ให้ ทำให้ไม่มีความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมครับ  ตอนนี้ผมก็มีความคิดที่จะทำงานวิจัยในสวนกล้วยไม้โดยตรงโดยร่วมกับเจ้าของสวนกล้วยไม้ทำการทดลองโดยใช้หลักวิชาการร่วมกับประสพการณ์ของชาวสวนครับ

คือว่าหนูจะแข่งวาดรูปชิงถ้วยพระเทพอยากจะขอคำแนะนำการลงสีชอกให้หน่อยนะคะหนูระบายเป็นสีส้มโทนเหลืงแบบไร้สีหนูจะปะกวดวันที่30ขอแบบด่วนเลยนะคะขอร้องหละคะ[email protected]

คือว่าผมชื่อปิงผมเห็นกล้วยไม้ที่แถวจัตุจักรแล้วผมอยากมาผสมเองอะคับบอกทีว่าควรใช้พันธุ์อะรที่ไม่แพงมากและติดง่ายออกดอกเร็วตอนนี้ผมเพิ่งอยู่ป.6เองคับยำของ่ายๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท