เทคนิคปุจฉา-วิสัชนาเมื่อนำไปใช้ในการอบรมสัมมนาเรื่อง KM


ประสบการณ์การจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้คิดนวัตกรรมว่าการทำ KM ทุกคนจะต้องมาเป็นผู้เรียนในบทบาทที่ตนเป็นอยู่ เป็นอะไรก็เรียนรู้บทบาททำภารกิจในนั้นในวงเรียนรู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นวงเรียนรู้คุณเอื้อ วงเรียนเรียนรู้คุณอำนวย วงเรียนรู้คุณกิจ วงเรียนรู้คุณลิขิต วงเรียนรู้ที่ประสมกันของตัวละคอน KM หลายๆตัวรวมกัน ฯลฯ คงจะเป็นบทเรียนให้กับที่ประชุมได้บ้างไม่มากก็น้อย

วันนี้ช่วงเช้าไปเป็นวิทยากรในการอบรมสัมมนาพหุภาคีเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนและท้องถิ่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เขต 16,18 และ19 ณ โรงแรมแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

งานนี้ไปเป็นตัวช่วยให้อาจารย์ภีม ภคเมธาวี จาก มวล.ครับ

อาจารย์ภีมได้รับเชิญจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง Knowledge Management กับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนและท้องถิ่น

แต่อาจารย์ภีมคิดว่าน่าจะไปกันเป็นทีมจะได้ช่วยกันเสริมเติมเต็ม จึงโทร.มาประสานผมไว้แล้วตั้งแต่ตอนบ่ายสี่โมงเมื่อวาน

ไปถึงจึงได้ทราบว่าผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาประมาณ 80 คน เป็นตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานพานิชย์จังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกลุ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน

ไปถึงที่อบรมสัมมนาช้าสิบนาที ก็ไม่ถือว่าช้ามากนัก

ตั้งแต่เก้าโมงกว่าจนถึงเที่ยงจึงเข้าสู่กิจกรรมเรียนรู้ KM ตามหัวข้อที่กำหนดให้

อาจารย์ภีมใช้วิธีตั้งคำถามกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการอบรมคิด ผู้เข้ารับการอบรมก็ตั้งคำถามกับวิทยากร ทั้งวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมตั้งคำถามเอาข้อมูลความรู้จากซึ่งกันและกัน แบบปุจฉา-วิสัชนาตามที่อาจารย์ถนัดเสียส่วนใหญ่

จากนั้นแบ่งกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มจังหวัดให้คิดเป้าหมายงาน เป้าหมายความรู้และกระบวนการทำงานร่วมกันว่าจะต้องเซ็ทกิจกรรมวิธีการอย่างไรที่ไม่ให้ต่างคนต่างทำ คือให้มากำหนดหัวปลาและส่วนตรงกลางของตัวปลาที่เป็นกระบวนการว่าจะต้องทำอย่างไรที่เป็นการทำงานที่เรียกว่าพหุภาคี

จากนั้นอาจารย์ภีมก็เล่าประสบการณ์การทำงานจัดการความรู้ของตนเองพร้อมแสดงวิธีปรับหลักการ KM แต่ละเรื่องเข้ากับข้อเท็จจริงในงานที่ทำอยู่ให้เห็น แล้วจึงบอกว่าทักษะ KM ที่ทำนี้ก็เป็นเรื่องที่ทำอยู่แล้วทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย ทุกคนสามารถลงมือทำได้เอง ยิ่งเกี่ยวกับการเพิ่มสมรรถนะให้กับตนเองในการทำงานที่เรียกว่าตารางอิสรภาพด้วยแล้วก็ยิ่งไม่ต้องแข่งกับใครเลย ถ้าจะเป็นการแข่งก็เป็นการแข่งกับตนเอง ฉะนั้นการทำงานแบบ KM จึงจะไม่สดุดขากัน ตรงกันข้ามจะเสริมหนุนและแบ่งปันกัน

สามชั่วโมงที่นั่งฟังที่ประชุมและได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนในบางจังหวะ ก็มีความรู้สึกว่าหัวข้อนี้เป็นที่สนใจของผู้เข้ารับการอบรมและสัมมนาอยู่ไม่น้อย ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับกระบวนการนี้ดีอยู่แล้วสังเกตได้จากการแบ่งกลุ่มให้ทำกิจกรรม

ประสบการณ์การจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้คิดนวัตกรรมว่าการทำ KM ทุกคนจะต้องมาเป็นผู้เรียนในบทบาทที่ตนเป็นอยู่ เป็นอะไรก็เรียนรู้บทบาททำภารกิจในนั้นในวงเรียนรู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นวงเรียนรู้คุณเอื้อ วงเรียนเรียนรู้คุณอำนวย วงเรียนรู้คุณกิจ วงเรียนรู้คุณลิขิต วงเรียนรู้ที่ประสมกันของตัวละคอน KM หลายๆตัวรวมกัน ฯลฯ คงจะเป็นบทเรียนให้กับที่ประชุมได้บ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งอาจารย์ภีมและผมได้ช่วยกันเล่าแล้ว

ผมคิดว่าหากทางฝ่ายผู้จัดจะได้ติดตามหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องก็น่าจะทำให้พหุภาคีเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนและท้องถิ่น ทั้งในระดับจังหวัดและระดับภาคจะมีร่องรอยการเรียนรู้ให้เห็นอย่างแน่นอน

เทคนิคการตั้งคำถามของวิทยากรแบบปุจฉา วิสัชนา ผมคิดว่าเป็นเทคนิคการทำความเข้าใจเรื่อง KM ได้ดีเหมือนกันครับ

หมายเลขบันทึก: 87177เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
       ตามเข้ามาเรียนรู้ ขอบพระคุณมากครับ

ขอบคุณอาจารย์มากที่ไปเป็นเพื่อน

อย่าลืมงานหนังสือที่คุยกันนะครับ

น้องสิงห์ป่าสัก

             เจออะไรที่จะใช้เรียนรู้ร่วมกันได้ก็นำมาฝากกันครับแบบญษติมิตรgotoKnow

อ.ภีม ครับ

            ไม่ลืมเรื่องหนังสือที่จะอิดิตใหม่ ขอบคุณครับที่คอยกระตุ้นจี้อยู่เรื่อยๆ เดือนหน้าได้เห็นโฉมแน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท