จีดีพีต่ำสุดในรอบ 5 ปี หอการค้าชี้โตไม่ถึง 4%


จีดีพีต่ำสุดในรอบ 5 ปี หอการค้าชี้โตไม่ถึง 4%
        "หอการค้า" ระบุเศรษฐกิจไทยทรุดเตรียมปรับประมาณการณ์ใหม่ จากเป้าเดิม 4-4.5% หลังทุกฝ่ายขาดความเชื่อมั่น ส่งผลกระทบธุรกิจสินค้าฟุ่มเฟือย-ก่อสร้าง-อสังหาริมทรัพย์             นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ว่า จากผลการสำรวจของนักธุรกิจไทยจำนวน 1,200 คน ในระหว่าง 16-23 มีนาคม 2550 พบว่า เศรษฐกิจไตรมาสแรกของปีนี้ มีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ถึงไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ คาดจะฟื้นตัวได้ในปลายไตรมาส 3 ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคชะลอตัวลง และคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของประเทศทั้งปีจะขยายตัวไม่ถึง 4% ขยายตัวต่ำสุดรอบ 5 ปี  "การขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาส 1 จะชะลอตัวลงคืออยู่ที่ระดับ 3.5-4% ไปจนถึงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 โดยไตรมาส 3   จะขยายตัวต่ำมากที่สุด อย่างไรก็ตามคาดว่าจะฟื้นตัวได้ในปลายไตรมาส 3" นายธนวรรธน์กล่าว             นายธนวรรธน์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจการบริโภคของประชาชนมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง โดยกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบคือ ธุรกิจสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น บ้าน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น และกลุ่มธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องทุกภาคขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน  นอกจากนี้หอการค้าไทย   เตรียมตัวปรับประมาณการจีดีพีในปีนี้ใหม่ จากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าอยู่ที่ 4-4.5% อาจจะขยายตัวได้ไม่ถึง 4%ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะยังคงขยายตัวอยู่ในระดับที่ 4.0-4.5% โดยไตรมาส 1 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 3.5-4.0% ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 34.5-35.2% โดยปัจจัยลบมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและสหรัฐ จีดีพีขยายตัวในอัตรา 4.2% ชะลอตัวลงจากการขับเคลื่อนจาการส่งออกสุทธิเป็นสำคัญ  ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกยังผันผวน การแข็งค่าของเงินบาท รวมทั้งมาตรการ     กันสำรอง 30% ด้วย และการเบิกจ่ายการลงทุนของภาครัฐล่าช้า และการบริโภคของประเทศชะลอตัวลง

            อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกที่มีผลดีกับเศรษฐกิจคือ อัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวเพียง 2.0-3.0% เป็นการ    ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนจากที่ขยายตัวประมาณ 4.7% ในปี 2549 ส่วนอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะปรับลดลง  อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การจ้างงานมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และอัตราการจ้างงานมีแนวโน้มต่ำลง ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลงในอัตราใกล้เคียงกัน เป็นต้น

            นอกจากนี้ภาคการส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัว แต่เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากผลกระทบเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นด้วย ขณะที่การนำเข้าอาจเร่งตัวขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาท    ที่แข็งค่าขึ้น โดยทั้งปีของ 2548 มีการส่งออกประมาณ 109,211 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 15.0%        ในปี 2549 ส่งออกประมาณ 33,981 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้าของปี 2548 นำเข้าทั้งปีประมาณ 117,788 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2549 ส่งออกประมาณ 125,975 ล้านเหรียญสหรัฐ    ส่วนผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอย 33.2% มากที่สุด  รองลงมาคือการวางแผนการดำเนินชีวิต 17.4%   การวางแผนดำเนินชีวิต 16.6%แนวหน้า  ผู้จัดการรายวัน  27  มีนาคม  2550
คำสำคัญ (Tags): #ภาวะเศรษฐกิจ
หมายเลขบันทึก: 86841เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท