ระบบองค์การขององค์การแห่งการเรียนรู้


ระบบย่อยที่สองที่มีความสำคัญมากและจะเกื้อหนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ก็คือ ตัวองค์การเองซึ่งเป็นส่วนที่จะต้องสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขั้น องค์การจะมีส่วนประกอบสำคัญๆ อยู่ 4 เรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน

อ่านข้อคำถามของ ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย  ข้อที่  6 กันต่อครับ

คำถามที่ 6.   ระบบองค์การขององค์การแห่งการเรียนรู้นั้นมีส่วนประกอบสำคัญอะไรบ้าง

  ระบบย่อยที่สองที่มีความสำคัญมากและจะเกื้อหนุนองค์การแห่งการเรียนรู้ก็คือ ตัวองค์การเองซึ่งเป็นส่วนที่จะต้องสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขั้น องค์การจะมีส่วนประกอบสำคัญๆ อยู่ 4 เรื่องใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

  6.1  วัฒนธรรมองค์การ ซึ่งหมายถึง ค่านิยม ความเชื่อ การปฏิบัติ พิธีกรรม และประเพณีต่างๆ ขององค์การ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมและความคิดของคนในองค์การ วัฒนธรรมองค์การมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของธุรกิจหรือต่อการงานขององค์การ เมื่อบุคลากรในองค์การมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ คือเห็นคุณค่าการเรียนรู้และมีการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้เป็นนิสัยประจำตัวแล้ว การเรียนรู้ก็จะเกิดได้ เพราะเมื่อคนมีความคิด ความเชื่อ ค่านิยมที่ดีต่อการเรียนรู้แล้ว ความคิด ความเชื่อ และค่านิยมนี้จะกำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนๆ นั้น เมื่อเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้แล้วก็จะกลายเป็นความเคยชินจนเป็นนิสัยของคนในการเรียนรู้เป็นทีม การจัดการกับตัวเอง ตลอดจนเป็นการเสริมพลังความรู้และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในองค์การ
  6.2  วิสัยทัศน์ขององค์การ ซึ่งหมายถึง ความหวัง เป้าหมาย และทิศทางในอนาคตขององค์การ เป็นภาพลักษณ์ขององค์การ ซึ่งจะต้องมีการถ่ายทอดให้ทุกคนในองค์การได้รู้ รับทราบ ยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ร่วมกัน วิสัยทัศน์นั้นจะต้องชัดเจน สื่อสารกันภายในองค์การและภายนอกองค์การด้วย ในองค์การแห่งการเรียนรู้ วิสัยทัศน์ร่วมกันจะเป็นความปรารถนาร่วมกันของทุกคนในองค์การที่จะมุ่งมั่นทำงานเพื่อพัฒนาปรับปรุงผลผลิตและบริการให้ใหม่และดีขึ้นเพื่อสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า
  6.3  ยุทธศาสตร์ หมายถึง แผนปฏิบัติการ วิธีการ กลยุทธ์ และขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์การ ในองค์การแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์ หรือ
ยุทธศาสตร์ จะต้องชัดเจนและสามารถทำให้การเรียนรู้ขององค์การบรรลุผลสูงสุด
  6.4  โครงสร้างขององค์การ ซึ่งหมายถึง ระดับและหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจ หน้าที่ความรับผิดชอบ สังเกตเห็นชัดได้จากแผนภูมิการบริหารขององค์การ ควรจะเป็นแนวราบ สายบังคับบัญชาที่จะก่อให้เกิดการสื่อสารที่สะดวก ง่าย มีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกันและกันได้สะดวก มีการร่วมมือร่วมใจกันทำงานที่ปราศจากกำแพงกั้นขวางทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ ถ้าสรุปเป็นภาพก็จะเห็นได้ชัดดังนี้

หมายเลขบันทึก: 86679เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 06:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 04:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมว่าอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้สิ่งเหล่าที่ ให้ผู้ปฏิบัติการทำได้จริง คือ Implement ครับ การใส่ปัจจัยต่างๆ เข้าไปในระบบ ไม่ว่า ทุน ทรัพยากร หรืออื่นๆ ที่จำเป็น ทำให้ตัวหนังสือที่เขียน วาดฝันเอาไว้ เป็น ความจริง รูปธรรม

จบเร็วนะครับท่านว่าที่ ดร.มานิตย์ อาษานอก

กัมปนาท

แน่นอนครับ อยู่ที่การปฎิบัติ หากระบบจะดีแค่ไหน หากขาดการนำไปใช้ได้จริง ก็คงจะเป็นแค่สิ่งที่ฝันไว้ครับ เห็นด้วยครับ

ขอบคุณครับ สำหรับกำลังใจ จะพยายามให้เร็วๆนะครับ รุ่นพี่ แจ๊ค

เห็น ด้วนกับความคิด OL ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอีกกรุณาด่วน ขอบคุณ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท