เล่าเรื่อง เณรวัดท่ง ตอนที่ 2 เรื่องระดมสรรพกำลัง


”เณรวัดทุ่ง” และเรื่องราวที่จะชวนคิด ชวนตระหนัก เส้นทางเดินของเรื่องราวในตอนนี้ ก็พอจะเป็นประโยชน์ต่อการรับรู้ ของผู้สนใจได้บ้าง

ตอนนี้ที่วัดกำลังเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ที่ต้องใช้ในการบวชเณร  ก็คงบอกได้ว่ามีหลายเรื่อง  อยากจะเล่าให้ฟัง ประกอบความรู้  และให้เห็น เบื้องหลังการถ่ายทำ  เพราะหลายครั้งเมื่อเราเห็นงานบวชเณร

และกำลังตื่นเต้นกับลูกๆหลานๆ ที่ต้องโกนหัวห่มขาว  ก็ไม่ทัน หรือไม่เคยคิดว่า กว่าจะมาเป็นได้อย่างที่เห็น ในงานวัดบวชเณร ( ปีนี้กำหนดการให้ ว่าที่เณรวัดทุ่ง รายงานตัววันที่ 25 มีนาคม และปลงผมวันที่ 30   บวชวันที่ 31)

         ด้านบริขาร เครื่องใช้  (เครื่องแบบเณร) จะต้องหา ชุดใหม่ เอี่ยม ให้ 1 ชุด   ชุดสำรอง 1 ชุด(3 ชิ้น) จีวร อังสะ   สบง และสายรัดเอว( งานนี้ก็ต้องไปบอกกับหลวงพ่อ หลวงพี่ ที่สนิทกัน ที่กรุงเทพ ให้ช่วยระดมมาให้หน่อย หนักใจว่าเจ้าตัวเล็ก (ระดับ ป.5  ป.6 ที่ยังตัวกระเปี๊ยก) จะห่มไม่ได้ จำเป็นต้องซื้อเพิ่มมาบ้าง

        ด้านของใช้ส่วนตัว สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ได้ไปขอระดมสังฆทาน ที่เอาถวายพระ โดยมีพระที่สนับสนุนโครงการนี้ ต่างหิ้วมาให้ และนั่งแกะ  แยก  จัด  รวม  เป็นถุงๆ ส่งมาจากกรุงเทพ และต่างจังหวัด ของเหล่านี้ทางวัดก็มีอยู่บ้าง เดี๋ยวจะหาว่า ที่คุณโยมเคยถวายกันมา เอาไปไหนหมด  นี่ถือว่า เป็นการเอามาเสริมมาสำรอง

       ด้านอาหารการกิน  น่าจะใช้คำว่า การขบฉัน  เบื้องต้นจะบอกบุญไปกับผู้ที่เห็นความสำคัญของกิจกรรมลักษณะนี้ ที่มีจิตศรัทธา ซึ่งบ้างก็ระบุตัวเลขมาแล้ว บ้างก็ยังอุตส่าห์บอกว่า หากไม่พอก็บอกได้อีก ค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ พอจะคำนวณได้ บวกกับ การถวายเป็นอาหารเช้า อาหารเพล ของโยม ที่จะเป็นการจัดเวร จัดคิวกัน และทางวัดได้ออกใบแจ้งกำหนดการ ในตอนที่ตระเวนบอกตามโรงเรียน ในนั้นจะมีหมายเลขบัญชี ทีสามารถโอนเงินเข้าไปได้  ถ้าเณรวัดทุ่งรุ่นนี้ ฉันกันมาก ก็ต้องระดมสรรพกำลังเพิ่มเติม

       ด้านสถานที่ โดยเฉพาะที่จำวัด และ ที่ๆจะตากผ้า (ตากจีวร) ซักจีวร จะต้องเตรียมพร้อมทำขึ้นใหม่ ขึงลวด ขึงเชือกเป็นแนวยาว  โยงจากเสาไป ต้นมะพร้าว กะให้พอตามจำนวนเณร  บริเวณนั้น ตอนนี้มีเชือกโยงโยงมา จนดูเหมือน ลานตากผาก ที่เคยเห็นที่โรงย้อมผ้าแห่งหนึ่ง   ส่วนเรื่องที่จำวัด (นอน) ต้องพักกันเป็นห้องรวม ทั้งสื่อ หมอน ผ้าห่ม ก็ตากแดด  ที่มีกลิ่นอับ ก็ต้องซัก ตอนนี้มีที่เขาเปิดร้านรับซัก มาบอกบุญ คิดในราคาทำบุญ ก็นับว่าเบาแรงของพระ ไปบ้าง   ส่วนที่สวดมนต์  ก็ใช่ก็เป็นประจำ ทำวัตรเช้า-เย็น  อยู่แล้วไม่ต้องปรับปรุงอะไร

โรงฉัน จะต้องหามโต๊ะมาเรียงมาจัด เป็นที่วางอาหาร  และจ้างให้เขามากลางเต็นท์  เผื่อเวลาฝนตก

       ด้านเนื้อหา กิจกรรม  ในช่วงเข้ามาใหม่ ก็จะเน้นระเบียบ การอยู่ร่วมกัน  วินัยปฎิบัติของเณร  เตรียมสมุด ปากกา เอาไว้ให้บันทึก พระจะคัดเลือกสื่อที่เป็นสารประโยชน์ ทั้งถูกใจ และถูกต้อง อีกทั้งเนื้อหาพุทธประวัติ

พิธีกรรมทางศาสนา  และติดต่อเตรียมพระวิทยากร ทั้งจากรุงเทพ สตูล สุราษฎรธานี  มีทั้งพระ และ ฆราวาส

      การระดมสรรพกำลังเพื่อการสร้างเณรวัดทุ่งที่เป็นเบื้องหลังการถ่ายทำ มาเล่าให้กันฟัง หากดูผิวเผินถือว่าเป็นการวางแผนซึ่งจะทำอะไร ก็ต้องวางแผนถึงจะดี  แต่ถ้าได้ร่วมกระบวนการ และได้ร่วมมือกันมาเป็นส่วนหนึ่งจะได้ใจ ของคนที่ร่วมงาน กล่าวจะได้มีเณรวัดทุ่ง และเรื่องราวที่จะชวนคิด  ชวนตระหนัก  เส้นทางเดินของเรื่องราวในตอนนี้ ก็พอจะเป็นประโยชน์ต่อการรับรู้ ของผู้สนใจได้บ้าง

     เรื่องราว จะ เป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามเณรวัดทุ่ง ตอนต่อไป
คำสำคัญ (Tags): #คิดไป เล่าไป
หมายเลขบันทึก: 85901เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2007 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • กราบอนุโมทนาสาธุ กิจกรรมสำคัญนี้ครับท่าน
  • ใครที่กล่าวว่าเห็นความสำคัญของทุนทางสังคมไทยนั้น  ผมคิดว่ากิจกรรมนี้ก็คือการเสริมสร้างทุนทางสังคมให้เพิ่มพูนมากขึ้น เพราะกิจกรรมการเข้าสู่ผ้ากาสาวภัตรนี้คือการเอาเด็กเข้าไปกล่อมเกลาจิตใจ วิสัยทัศน์ต่อโลก ต่อสังคม ต่อครอบครัว ต่อตนเอง ฯลฯ ที่เด็กทุกคนควรจะผ่านกระบวนการนี้ครับ
  • สิ่งที่ผมกล่าวมิจำกัดเพียงศาสนาพุทธนะครับผมหมายถึงทุกศาสนาด้วยครับ
  • ท่านกำลังฟื้นฟูสังคมเราขึ้นมาครับ
  • กราบอนุโมทนา สาธุ
  • นมัสการท่านครับ โปรดดูที่
  • http://gotoknow.org/blog/dongluang-1/86032
  • ผมขยายเรื่องกิจกรรมนี้ออกไปด้วยครับ

   ผมดูแผนงาน  ของ เณรวัดทุ่งไผ่  คิดว่าไม่นานนี้คงมีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมกระบวนการจัดงาน

         หากมีอะไรที่จะให้ทีมประชาสังคมชุมพรช่วยเหลือ   พระอาจารย์ โปรดบอกกล่าว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท