จิตวิทยาคืออะไร


จิตวิทยา คือ อะไร

จิตวิทยา  คือ  อะไรนะ...

หลายคนเวลาพูดถึงกล่าวถึงเรื่อง "จิตวิทยา" ความสนใจของคนส่วนใหญ่คงอยู่ที่  " จิตวิทยา  คือ  ผู้หยั่งรู้จิตใจคนนะซิ"  (ยกเว้นตัวเอง)  ว่าเข้าไปนั่น 

 เอ!  ทำไมใครๆ  ถึงคิดอย่างนั้นนะ  เพราะว่าการตีความจากความหมายของคำหรือเปล่านะอาจเป็นอย่างนั้นก็ได้  เพราะจิตวิทยา  น่าจะมาจาก จิต+วิทยา  คือวิชาที่ว่าด้วยเรื่องของจิตใจ  ถ้าเป็นก่อนศตวรรษนี้หละก็ขอเถอะคะ  บางเรื่องบางอย่างถ้าแปลตามตัวตรงตัวเกินไปก็คงไม่ได้ความหมายที่แท้จริงแน่ๆ  เลยแต่จริงๆ  แล้วความหมายของจิตวิทยา  ตามที่ได้ศึกษามาและสรุปเอาเองตามประสาคนขี้เกียจจำทฤษฎีนะ  คิดว่า  ...

"จิตวิทยา  คือ  การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์"  

แล้วสงสัยไหมคะ "พฤติกรรมมนุษย์" คืออะไรมีคนกล่าวไว้อีกเหมือนกัน  (แต่ไม่รู้ว่าใครจำไม่ได้แล้ว)

พฤติกรรมของมนุษย์แบ่งออกเป็นสองแบบ  คือ  พฤติกรรมที่สังเกตได้ และสังเกตไม่ได้

หากเราจะศึกษาว่าที่สังเกตได้และไม่ได้เป็นอย่างไร ก็มีรายละเอียดต่อไปที่แน่ๆ คือ สังเกตได้  คือ มองเห็นด้วยตาและประสาทสัมผัสทั้งห้า  รวมทั้งการใช้เครื่องมือวัดเพื่อศึกษาพฤติกรรมเหล่านั้น  เช่น  การเดิน  การกิน  อุณหภูมิในร่างกาย  การเต้นของหัวใจ  เป็นต้น  ส่วนพฤติกรรมที่สังเกตไม่ได้  คือ  พฤติกรรมที่ไม่สามารถวัดได้  จะรู้เพียงแค่คนที่กระทำพฤติกรรมนั้นๆ  เอง หรืออาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้  เช่น  ความคิด  ความรู้สึก  เป็นต้น ...คราวหน้ามีอะไรมาฝาก  ติดตามอีกทีนะคะ...

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิทยา
หมายเลขบันทึก: 85640เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เพิ่งรู้ครับว่าอุณหภูมิร่างกาย การเต้นของหัวใจ ที่เป็นการทำงานทางสรีระ ถูกรวมเข้าไปอยู่ในหมวดพฤติกรรมกับเขาด้วย ยกตัวอย่างแบบนี้ไม่ค่อยโอเคเลย ผมว่าการแบ่งประเภทพฤติกรรมของคุณมันแปลกๆ นะครับ และจิตวิทยาก็ไม่ได้มีความหมายจำกัดแค่การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์อย่างที่คุณว่าด้วย คงเป็นเพราะขี้เกียจจำทฤษฎีมั้งครับเลยออกมาแบบนี้ หึหึ จำไว้บ้างก็ดีครับ

- ต้องขอบคุณ คุณหมาดำ ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำแนะนำในบันทึกเรื่องนี้คะ

- ขออนุญาต ออกตัว...ว่าเรื่องจิตวิทยานี้ ตั้งใจจะเขียนหลายๆ บันทึกต่อเนื่อง...แต่ด้วย ปัจจัย หลายๆ อย่าง งานในบันทึกเลยได้แค่เท่าที่เห้น

- จริงๆ การให้ความหมายของนักจิตวิทยา มีการให้ความหมายไว้อย่างหลากหลาย ตามที่คุณได้เสนอแนะมา แต่การนำเสนอของผู้เขียน อาจเป็นการสรุปความเอาเองจริงๆ และอาจไม่ครอบคลุม ศาสตร์ของ คำว่า "จิตวิทยา" ทั้งหมด ซึ่งต้องขออภัย ไว้ ณ โอกาสนี้ คะ

- จาก http://th.wikipedia.org/ ได้ให้ความหมายของ จิตวิทยา (psychology) ไว้ว่าคือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม...

- จิตวิทยา "เป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้"

- การแบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ นักจิตวิทยาส่วนใหญ่นิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พฤติกรรมภายนอกที่สังเกตได้ ทั้งพฤติกรรมที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่า หรือการใช้เครื่องมือวัด ตามที่ยกตัวอย่างไปแล้ว และพฤติกรรมภายใน คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถวัดได้ ซึ่งก็น่าจะมีควมหมายใกล้เคียงกันคะ

*** เทคนิคการเขียนที่ไม่อ้างแหล่งที่มา อาจจะใช้ไม่ได้ในเชิงวิชาการ แต่งานเขียนนี้ ตั้งใจเขียนในลักษณะความคิดเห็นเชิงสรุปความด้วยตนเอง...ต้องขออภัยที่ไม่มีอ้างอิงคะ

- ขอบคุณอีกครั้ง ที่คุณหมาดำ เข้ามาเสนอแนะ ผู้เขียนจึงมีโอกาสรื้อฟื้นข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจนขึ้นอีกครั้งคะ..

*_*

^_^ เหนือฟ้า ย่อมมีฟ้า... ธรรมดาของมนุษย์..!ที่มักคิดว่าตัวเองเข้าใจในทุกสรรพสิ่ง...^_^ ยังๆไงก็อย่าลืม "ความดี" ที่เราต้องระลึก+เชื่อมั่น+และปฎิบัติ แล้วเราจะเข้าใจเองง. ผมว่านะ ^_^

  • เห็นด้วยกับข้อความที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันคะ
  • ชีวิตก็เป็นอย่างนี้แหละ...
  • จะยึดมั่น-ถือมั่นคงไม่ได้
  • *_*
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท