วิพากษ์โลกานุวัตรกับการค้าเสรี ตอนที่ 1


การค้าเสรี โลกานุวัตร
 

คุยกันพาเพลิน

 

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ หลังจากที่ Sunday weekly ได้ห่างหายจาก

การเขียนบทความประมาณ 1 เดือน ก็คงต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ณ ที่นี้ด้วย

เนื่องด้วยติดภารกิจต่าง ๆ มากมายซึ่งภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจที่นำมาสู่

การประเทืองทางปัญญาของผู้เขียนเอง เดี่ยวจะนำเรื่องราวที่ผู้เขียนได้

ไปศึกษามาเล่าส่ากันฟังอีกครั้ง


             ในครั้งบทความที่นำเสนอให้แก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน เป็นเรื่องราวที่วิพากษ์

            ต่อกันมา จะเป็น 3 บทที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวของ โลกานุวัตร กับการ

            อุบัติขึ้น ของ การค้าเสรี

 

บทที่ 1 โลกาภิวัตร ( Globalization )
 

   การกล่าวถึงเรื่องโลกาภิวัตร ( Globalization ) คงเป็นการยากยิ่งที่

จะบอกถึงความเป็นโลกานุวัตรอย่างแน่แท้ถึงแก่นแกน เพราะโลกาภิวัตร

คือเรื่องที่กว้าง และ ใหญ่ ความใหญ่ของโลกาภิวัตร มิได้ใหญ่ด้วยสายตา

มองหากแต่เป็นนามธรรมที่ใหญ่ และ ทรงอิทธิพลเป็นอย่างมาก การเปลี่ยน

แปลงของสรรพสิ่งบนพื้นโลกใบนี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวเนื่องกับการเป็น

โลกานุวัตรจนในบางครั้งเราแทบจะแยกแยะไม่ออกว่าอะไรเป็นโลกาภิวัตร

และอะไรไม่เป็นโลกาภิวัตร

 

          สิ่งที่จะวิเคราะห์ในรายงานนี้คงเป็นเรื่องการมองโลกาภิวัตรในแง่มุม

ที่โลกาภิวัตรทำให้เกิดการข้ามรัฐ( Bypassing state ) จนนำไปสู่การอุบัติขึ้น

ของ FTA และ  การปะทะกันทางความคิดของชาตินิยม ( Nationalism ) ใน

โลกสมัยใหม่ ( Modern ) กับกระแสโลกาภิวัตร ( Globalization ) จนท้ายที่

สุดการปะทะดังกล่าวนำสังคมโลก ( World Social ) ไปสู่ภาคประชาสังคม

 

อย่างไรก็ตามการที่เราจะเข้าใจในเรื่องของ โลกาภิวัตร อย่างลุ่มลึกแล้ว

เราควรที่จะเข้าในในรากฐานของการก่อกำเนิดขึ้นของ โลกาภิวัตรก่อน

( Globalization ) เพราะหากเราขาดความเข้าใจในฐานรากการก่อกำเนิดเราก็

มิอาจเข้าใจในโลกาภิวัตรอย่างแท้จริง

               

โลกของเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงตอลดเวลาจากยุคหิน เมื่อ 4 ล้าน

ปีก่อนมาสู่ยุคเกษตรกรรม และ ก้าวเข้ามาสู่ยุคอุตสาหกรรมและสมัยใหม่

( Modern )การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ทำให้โลกพลิกจากหน้ามือกลายเป็น

หลังมือ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราต้องครุ่นคิดถึงเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงดัง

กล่าวคือ เราจะต้องตอบให้ด้ว่า ทำไมโลกาภิวัตรจึงเกิดขึ้นดังที่กล่าว

ข้างต้นแล้วว่า การเกิดขึ้นของโลกาภิวัตรมิได้เกิดขึ้นมาอย่างลอย ๆ หาก

แต่การเกิดโลกาภิวัตรยังสัมพันธ์ถึงเรื่องแนวคิดของโลกสมัยใหม่ ( Modern )

ในช่วง ค.ศ. 15 -20 ที่ส่งผ่านมาสู่โลกาภิวัตร

 

ในที่นี้อยากกล่าวย้อนไปถึงโลกยุคสมัยใหม่ ( Modern Age ) เพื่อที่

จะเป็นฐานทางความคิดที่จะนำเราไปสู่ฐานทางความคิดใหม่อย่างโลกานุวัตร 

โลกยุคสมัยใหม่อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 15 ศตวรรษที่ 20 ยุคสมัยใหม่เป็นยุค

ที่ทำให้โลกก้าวไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม

( Industrial revolution )  การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในยุคสมัยใหม่เป็นตัวเร่ง

อย่างแท้จริง เพราะอุตสาหกรรมได้ทำให้สิ่งต่าง ๆ ให้ปรากฏเกิดขึ้นอย่าง

หลากหลาย เราพบว่ามีเครื่องจักร มีรถยนต์ มีโรงงานอุตสาหกรรม นี่คือการ

ปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกสมัยใหม่

 

     ยังคงมีคำถามในยุคสมัยใหม่ว่า ยังมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆมากมาย

และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมิได้ส่งผลกระทบต่อโลกในมิติใดมิติหนึ่งเพียง

อย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกในระบบต่าง ๆ มากมายไม่ว่า

จะเป็นเรื่องของศาสนาศิลปวัฒนธรรม , ระบบการเมืองเศรษฐกิจ,สำนึกคิด

ของคนในยุคสมัยของความเป็นสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงอันบันดาลมีเหล่า

นี้ได้ทำให้โลกเกิด โลกทัศน์ทางความคิดสมัยใหม่ ภายใต้ศตวรรษที่ 15 คือ

ลกทัศน์ของความเป็นสมัยใหม่ 1

 

  มีการกล่าวถึงลักษณะสังคมสมัยใหม่ ( Modern Age ) นี้ ประเด็นที่

หนึ่งคือ ยุคสมัยใหม่เป็นยุคที่ชาติตะวันตกหลุดตัวเองออกมาจากกรอบของ

ยุคศาสนา ประเด็นที่สอง เกิดการปฏิวัติหรือปฏิรูป 4 ประการคือ การเปลี่ยน

แปลงความคิดเป็นมนุษย์นิยมในยุค Renaissance  การปฏิรูปศาสนาในยุโรป

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ จนนำไปสู่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม และ

การปฏิรูปทางปรัชญา ประการที่สามโลกสมัยใหม่เป็นครั้งที่  2 ของการเชื่อม

โลกและประการสุดท้ายยุโรปได้สร้างรูปแบบองค์กรการเมืองการปกครองขึ้น

มาใหม่คือ ระบบรัฐ ชาติ และ ประชาธิปไตยที่แพร่หลายไปทั่วโลก 2

           

อีกประการหนึ่งที่ต้องคิดคือ มุมมองทางด้านการเมือง มุมมองนี้

สะท้อนภาพให้เราเห็นภาพที่สืบเนื่องต่อกันมาระหว่างสมัยใหม่ ( Modern )

กับโลกาภิวัตร( Globalization )อย่างแนบแน่น และ ยังคงเป็นการตอกย้ำถึง

เรื่องราวที่ว่า โลกาภิวัตรคือการก้าวเดินของโลก ที่อิ่มเอิบกับการเจริญเติบโต

ทางความคิดด้านการเมืองแล้ว ความแนบแน่นที่เกิดคือความต่อเนื่องของการ

สร้างรัฐและการพัฒนาไปสู่การข้ามรัฐ การสร้างรัฐ นั้นถือว่าเกิดขึ้นในยุค

สมัยใหม่ คำว่ารัฐเริ่มปรากฏขึ้นในยุคสมัยใหม่ ภายหลังจากการหลุดพ้นจาการ

ครอบงำทางศาสนาในทวีปยุโรป มาสู่การปฏิวัติศาสนาจนในที่สุดเกิด นักคิด

คนสำคัญของโลกอย่าง John Lock ที่ได้เสนอแนวคิดเรื่องเสรีนิยม ( Liber

alism ) คือ แนวคิดอำนาจคานกันอยู่ระหว่างสังคม กับ รัฐ ข้อตกลงกับรัฐ

เรียกว่า “Trust” ความวางใจซึ่งกันและกัน เพิกถอนได้ ถ้าเราไม่พอใจเรา

เพิกถอนไม่ให้เป็นรัฐบาลได้ไม่ให้องค์อธิปัตย์อีกต่อไป เราไม่ได้มอบอำนาจ

ทั้งหมด เรามอบอำนาจบางอย่าง 3 หรือจะเป็น Hobbes เสนอแนวคิดเรื่อง

อำนาจนิยม ( Totalitarian )  ได้กล่าวว่าการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเป็นรัฐเป็น

สิ่งที่ดี เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงมาทำ “Social Contract”  สัญญาประชาคมเพื่อ

มอบอำนาจทั้งหมดของตนให้กับรัฐหรือผู้ปกครองยกเว้นสิ่งเดียวคือสิทธิใน

ชีวิตของตนเองซึ่งศักดิ์สิทธิ์ใครจะละเมิดไม่ได้ 4  แนวคิดของสองนักคิดนี้

ได้ทำให้โลกสมัยใหม่ เกิดคำว่ารัฐขึ้น และ แนวคิดเหล่านี้ได้สร้างองค์

ประกอบของความเป็นรัฐขึ้นมาว่ารัฐจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น

ต้องมีอาณาเขต ประชาการ รัฐบาล อำนาจอธิปไตยเป็นต้นแต่ด้วยความ อิ่ม

เอิบทางการเมืองในยุคโลกาภิวัตร( Globalization )ได้ท้าทายต่อองค์ประกอบ

และ ปรัชญาแนวคิดของนักคิดทั้งสองเป็นอย่างมาก จนในท้ายที่สุดแล้ว

แนวคิดการข้ามรัฐ ( Bypassing state ) จึงเกิดขึ้น และส่งผลต่อบริบทต่าง ๆ

ของโลกโลกาภิวัตรเป็นอย่างมาก

               

โลกสมัยใหม่ยังคงสร้างระบบเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ ( New

EconomicSystem ) ขึ้นมา ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่เป็นระบบเศรษฐกิจที่นำ

เงินมาเป็นสื่อกลางนำตลาดมาเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และการเปลี่ยน

แปลงทางด้านระบบเศรษฐกิจภายใต้โลกทัศน์สมัยใหม่ได้มีความสัมพันธ์ที่

แนบแน่นจนแยกไม่ออก 5   

 

คงพอที่จะทราบถึงเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิด

ขึ้นในโลกสมัยใหม่ว่าเกิดอะไรขึ้น การเกิดขึ้นในสิ่งต่าง ๆ นั้นมิได้มีผลแค่

ในยุคสมัยนั้นเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังผลมาถึงมาสู่เรื่องราวของการ

เปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ในโลกยุคโลกาภิวัตร การเปลี่ยนแปลงของโลกยุค

ลกาภิวัตรนั้นมิได้เกิดขึ้นมาอย่างลอย ๆ แต่เกิดมาจากรากฐานของแนวคิด

โลกสมัยใหม่ ( Modern ) การเชื่อมร้อยต่อจากยุคสมัยใหม่มาสู่ยุค

โลกาภิวัตร เสมือนหนึ่งว่าปรากฏต่าง ๆ ที่จะปรากฏขึ้นในโลกยุค

ลกานุวัตรคือความอิ่มเอิบของโลกสมัยใหม่ หรือเป็นการแตกปลายทาง

ความคิดที่สูงสุดของยุคสมัยใหม่แล้ว

 

            ในบริบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องของโลกาภิวัตรว่ามีอะไรบ้างเมื่อเราได้

ลองมานั่งคิดนั่งศึกษาดูเราจะพบว่าโลกเรานั้นเล็กมาก ความเล็กของโลก

นั้นมิได้เกิดจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น แต่เล็กลงด้วยเงื่อนไขความ

รวดเร็วของข้อมูลข่าวสาร เราจะพบได้ว่าเมื่อไม่ถึง 100 ปีที่ผ่านมา คนเรา

บินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ใช้ความ 100 ไมล์ต่อชั่วโมง ในระยะ

เวลา 60 ปีที่ผ่านมา มีความเร็วยิ่งกว่าการเปลี่ยนแปลงในอดีต  เพราะนับ

ตั้งแต่มีเครื่องบินเจ๊ต บิน 500 ไมล์ต่อชั่วโมง เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เรามีซูเปอร์

โซนิคความเร็ว 1,500ไมล์ต่อชั่วโมง และ หลังจากนั้นเราก็มียานอวกาศที่

บังคับด้วยมนุษย์ ความเร็ว 17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง และปัจจุบัน Hellos และ

การสำรวจอวกาศ ใช้ความเร็ว 150,000 ไมล์ต่อชั่วโมง 8 โลกในยุค

ลกาภิวัตรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจริง ๆ

 

             ความรวดเร็วของโลกโลกาภิวัตรทางด้านเทคโนโลยีได้สร้าง

มุมมองใหม่ของสิ่งต่าง ๆอย่างมากหลาย มีประเด็นและข้อคิดที่ น่าตรึก

ตรองอยู่สักประมาณ 2 3ประเด็น คือ ถ้าหากมองในด้านเศรษฐกิจ และ

จะพบได้ว่า โลกโลกาภิวัตร พยายามที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิม ซึ่ง

เป็นเศรษฐกิจที่ยึดติดอยู่กับศูนย์กลางอำนาจทางการเมือง   มาเป็น

เศรษฐกิจแบบกระจายตัวมากขึ้น  ศูนย์กลางทางการเงินเริ่มที่จะกระจาย

ตัวมิได้ผูกติดอยู่กับเงินสกุลใดสกุลหนึ่งเท่านั้น  ส่วนเรื่องทางการเมือง

การเมืองในยุคโลกาภิวัตรการเมืองได้ถูกเปลี่ยนแกนทางการเมืองไปแล้ว

การเมืองจะมิได้มีอำนาจมาเหมือนแต่ก่อน การเมืองจะมิใช่รูปแบบของ

การรวมอำนาจ แต่เป็นการเมืองแบบกระจายอำนาจ กรเมือง จะมิใช่

การเมืองของนักการเมืองแต่จะเป็นการเมืองของทุกคนในรัฐ และ เป็น

การเมืองเพื่อชีวิต โดยจะสังเกตเห็นได้จากการที่ประชาชนในแต่ละรัฐ

จะออกมาเรียกร้องเพื่อ  สิทธิความเป็นอยู่ของตนเองมากขึ้น โดยผ่าน

ตัวกลางทางการเมืองที่ไม่ใช่นักการเมือง อาจจะเป็นเวทีหรือพื้นที่ทาง

การเมืองใดพื้นที่หนึ่ง ที่สำคัญความเป็นท้องถิ่นนิยม ( Localism )

กำลังจะมีอนุภาพมากขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่

เกิดขึ้นภายในโลกาภิวัตร

               

 
 

 

วันนี้คงเขียนเพียงแค่นี้ก่อน แล้วพบกันใหม่

หมายเลขบันทึก: 85601เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท