การเข้าป่า ลงทุ่ง


เล่าความหลัง

    วันนี้ขอเขียนถึงเรื่องจำเป็นในชีวิต ถ้าคนไม่ถ่ายเลย จะเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องสำคัญอยู่นะครับ

     ในสมัยก่อนการสาธารณะสุขยังไม่เจริญ หมู่บ้านต่างๆ ก็อยู่กันไม่กี่ครอบครัว เวลาจะขับถ่ายก็จะมีป่าละเมาะใกล้หมู่บ้านนั่นแหละ ตอนเช้ามืด กับตอนเย็นค่ำ ซึ่งจะมองไม่เห็นหน้ากัน ซึ่งบางครั้งก็ไปเหยียบของกัน บางครั้งก็ไปจ๊ะเอ๋กัน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า พวกสูไปขี่พ่อกันบ้อ ( พวกเธอไปเจอกันตอนไปทำธุระเหรอ ) ความหมายคือ หนุ่มสาวแต่งงานกันแต่ดูแล้วเหมือนไม่ได้คบหากันมาก่อน ไม่ได้ดูหน้าตาอะไรเลย  สงสัยจะไปจ๊ะเอ๋เอาตอนมืดๆ   

     ต่อมาก็จะมีอุปกรณ์ประกอบ เช่น เสียม  กิ่งไม้ เอาไว้ขุดหลุมฝังกลบ และเอาไว้ไล่หมู ไล่หมา  บางที จะมีสัตว์พวกนี้ตามไปรบกวนด้วย   ที่ลงทุ่ง จะมีอีกอย่างหนึ่งคือใบตาล เอาไว้บังหน้าเหมือนตาลปัตย์พระ  วันหนึ่งผมเห็นสาวสวยนางหนึ่งลากใบตาลมาแต่เช้า จากทุ่ง ผมก็โง่ เพราะไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน ก็ถามว่าไปไหนมาแต่เช้า  หล่อนก็ทำหน้าอายๆ ผมมารู้ทีหลังว่าไปธุระ

      เมื่อปี  2518  ผมได้ออกไปเผยแพร่ประชาธิปไตย ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ผมขอเข้าส้วม ดูยังไงก็เป็นส้วมทั้งภายนอกภายใน แต่เจ้าของบ้านบอกว่าเข้าไม่ได้   ทำไว้หลอกเวลามีเจ้านายมาตรวจหมู่บ้าน

คำสำคัญ (Tags): #มานุษยวิทยา
หมายเลขบันทึก: 85561เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท