จรรยาบรรณของนักวิชาการ “อ้างสิทธิ์ แต่ไม่ทำหน้าที่”


เขียนเป้าหมายเสียใหญ่โต พอได้รับการอนุมัติแล้วกลับทำนิดเดียว

สิ่งที่เป็นปัญหาประการสำคัญในการวิจัยและพัฒนาที่ผมพบบ่อยมากในวงวิชาการก็คือ การเสนอโครงร่างในการทำงาน ที่มักอ้างเรื่องใหญ่โต ว่ามีปัญหาด้านต่างๆมากมายที่ ควรอนุมัติ ให้ทำ ทั้งในเชิงเป้าหมาย แผนงานและงบประมาณ

  

 แต่ในขั้นตอนการปฏิบัตินั้นอาจจะหมกเม็ด ทำนิดเดียว ไม่สมกับที่อ้างไว้ตอนแรก หรือเขียนเป้าหมายเสียใหญ่โต พอได้รับการอนุมัติแล้วกลับทำนิดเดียว ที่ไม่มีทางถึงเป้าหมาย แล้วก็ใช้ข้ออ้างเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะ

  

ที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้ทำอะไรมากนัก และเมื่อเสร็จงานต่างๆแล้ว ก็จะไม่เกิดผลอะไร อีกเช่นกัน

  ทางผู้ให้ทุนที่มีเวลาพิจารณาสั้นๆก็จะอนุมัติตามประโยคที่เขียนไว้ตอนแรกๆ ที่กลายเป็นแบบเข้าทางปืน เขียนแค่นี้ก็ได้รับอนุมัติแล้ว แล้วก็เป็นงานขึ้นหิ้ง "ไว้ขอตำแหน่ง" หรืออ้างเป็น "ผลงาน" โดยแทบไม่มีผลสัมฤทธิ์อะไรมากนัก เรียกว่าไม่คุ้มค่านั่นแหละครับ

  

จุดกำเนิดของปัญหานี้มาจากที่

 

1.    ทุกฝ่ายดูเหมือนจะมีงานมาก มีเวลาน้อย  โดยเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นผู้พิจารณา มักมีเวลาน้อย ดูเฉพาะคำนำบางประโยคก็เห็นชอบ หรือ

 

2.    ผู้พิจารณาก็เป็นน้ำบ่อเดียวกัน ย่อมไม่ผิดสีผิดกลิ่นกับการเขียนแบบนี้

 

3.    การขาดการมองภาพเชิงระบบ หรือวิเคราะห์เชิงระบบ ให้เห็นข้อดีข้อด้อยของแต่ละเรื่อง และทางเลือก ทางออกที่มีอยู่ และที่ควรจะเป็น

 

4.    การพิจารณาโครงการแบบลูบหน้าปะจมูก หรือ ผลัดกันเกาหลัง ที่สังคมทั่วไปไม่มีทางรับรู้

 

5.    การขาดกรอบความคิด และความรู้ที่พอเพียงในการทำงาน

 

6.    ระบบสังคมวิชาการอยู่แบบตัวใครตัวมัน ไม่มีใครอยากมีปัญหากับใคร ก็เลยปล่อยให้ผ่านๆไป

  

แนวทางในการแก้ไขเรื่องนี้ ก็คงต้องไปเริ่มต้นที่การจัดการความรู้แบบธรรมชาติ และบูรณาการ เข้าใจทรัพยากร สังคม และระบบต่างๆ ก่อนที่จะมามองวิชาการลึกๆ

  

ไม่งั้นเราก็จะหลงทางวนไปวนมากันอยู่อย่างนี้ และสูญเสียทรัพยากรของสังคมไปโดยเปล่าประโยชน์ และสังคมไทยก็ยังไม่ยอมรับบทบาทของผู้ตรวจสอบจากภายนอก (watchdog) ที่แปลได้เพราะที่สุดว่า ยามเฝ้าแผ่นดิน   โดยมองว่าไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่น แบบ หมูเขาจะหาม เอาคานเข้าไปสอด  ทั้งๆที่ผู้ทำหน้าที่เป็น watchdog นั้น เป็นผู้เสียสละ มีแต่เสียกับเสีย ก็ยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจ จึงทำให้ไม่ค่อยมีกล้าเข้ามาทำหน้าที่นี้ จนทำให้เกิดปัญหาในระดับ จรรยาบรรณ ขึ้นมากมาย

  เราลองกลับมาทบทวนหาวิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้กันสักหน่อยดีไหมครับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งงานวิจัย พัฒนา และการจัดการความรู้ เพื่อ พัฒนาชาติไทย ครับ
หมายเลขบันทึก: 85472เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2007 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผลประโยชน์ก้ตกที่ประชาชนอยู่ีดีไม่ว่าโครงการนั้นจะ

คุ้มค่าหรือเปล่า  แต่ถ้าอยากให้คุมค่า ที่สุด ต้องมีการติดตาม  ประเมินผล  เพื่อให้เห็นถึงประสิทธิิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง 

ควรมีการศึกษาพื้นที่อย่างแท้จริง  ซึ่งหลาย ๆ โครงการกว่า จะออกมาได้ ก้ได้ผ่านการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งสังเคราะห์  มาอย่างดีโดยนำหลักวิชาการ

บูรณาการเข้ากับชีวิตจริง 

ทำนิดเดียว แต่ขอเงินเยอะก็ประเด็นนึง

มีที่ไม่ทำ(หน้าที่) แต่(อ้างสิทธิ์) ผศ. รศ. และศ.

สังคมควรทำอย่างไร?

กติกาที่กำหนดขึ้นบางทีก็ทำลายคนดี ส่งเสริมคนเอาเปรียบสังคมนั้น มีมากเหลือเกิน โดยเฉพาะนักวิ่งไต่เส้นนั้น ก้าวหน้าเร็วกว่าคนที่ทุ่มเททำงาน สาเหตุก็มาจาก "เกณฑ์" ที่ไม่เหมาะสมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท