ความรู้เกี่ยวกับการจัดการประชุม ประเภทต่าง ๆ


การจัดการประชุม

 ลองศึกษาดูครับว่าหากเราจะจัดประชุม เราควรจะเลือกจัดแบบไหนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการประชุมสุงสุด และเหมาะสมกับงานของเรา เข้าดูรายละเอียดได้ที่ http://gotoknow.org/file/teppalit

 

หมายเลขบันทึก: 85233เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2007 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ลอง  search ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประชุมของหน่วยงานอื่นๆ มาเป็นความรู้ร่วมด้วยก็ดีนะ  ทราบว่าคุณเทพฤทธิ์ มีงานวิจัยอยู่หลายชิ้น น่าจะนำมาประกอบกันได้นะ  ทำได้แน่นอน รางวัลเดือนหน้า อาจเป็นคุณ

 

เอ คุณเทพฤทธิ์ ผมลองคลิกไปที่ว่า http://gotoknow.org/file/teppalit

ไม่เจออะไรเลยครับ ลองตรวจสอบอีกครั้งนะครับ

ผมเคยมีประสบการณ์คือ ถ้าตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาไทย ระบบมันจะไม่รู้เรื่อง ไม่รับครับ

เข้าไปอ่านในระบบไฟล์ข้อมูลของคุณเทพฤทธิ์แล้วครับ

การประชุม อาจเรียกชื่อได้ต่างๆมากมายตามลักษณะหรือวัตถุประสงค์หรือกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุม แต่ถ้าจะรวมประเภทใหญ่ๆจำแนกตามวัตถุประสงค์แล้วก็อาจแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้1.     การประชุมเพื่อการข่าวสาร (Information Conference) สมาชิกจะร่วมกันรวบรวมความรู้และประสบการณ์เพื่อนำมาปรับปรุงการคิด หรือการทำงานของแต่ละคน แม้ว่าเรื่องราวที่นำมาประชุม อาจจะเป็นการรวบรวมปัญหาเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เป้าหมายของการประชุมแบบนี้ไม่มุ่งที่การหาข้อแก้ปัญหาอันใดอันหนึ่งเท่านั้น แต่มุ่งที่การหาข่าวสารหรือข้อมูล ซึ่งเมื่อมีการกลั่นกรองแล้วก็จะกลายเป็นสารสนเทศ (Information)2.     การประชุมเพื่อแก้ปัญหา (Problem-solving Conference) ลักษณะสำคัญของการประชุมประเภทนี้มักจะเป็นการประชุมอภิปรายถกปัญหา ส่วนมากการอภิปรายต่างๆจะเป็นรูปแบบของการหาข้อแก้ปัญหาทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ร่วมประชุมจะคิดร่วมกันด้วยการรวบรวมประสบการณ์ต่างๆของทุกคนมาแก้ปัญหาร่วมกัน ด้วยการชี้ถึงประเด็นของปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุและร่วมกันพิจารณาหาแนวทางป้องกันหรือแก้ปัญหานั้นๆ 3.     การประชุมเพื่อตัดสินใจ (Decision-making Conference) ลักษณะสำคัญเป็นการร่วมกันคิด พิจารณาข้อมูลรายละเอียดของสิ่งต่างๆที่จะเลือกใช้หรือเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งด้วการให้ข้อคิดและการให้ข้อมูลพื้นฐานของข้อมูลที่จำเป็น ลักษณะของการประชุมแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดปัญหาและตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา แต่เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาเลือกสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากหลายสิ่งหรือการเลือแนวทางปฏิบัติก็ได้ ซึ่งเป็นการเลือกด้วยกระบวนการคิด มิใช่การเสี่ยงทาย 4.     การประชุมเพื่อการฝึกอบรม (Training Conference) การประชุมแบบนี้ ผู้นำการประชุมจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรม หรือเพิ่มทักษะในวิธีการกระทำบางสิ่ง หรือถ้ามีการแก้ปัญหาข้อใดก็มักจะเน้นเรื่องการเรียนรู้ วิธีการแก้ปัญหาหรือการใช้ขั้นตอนในการแก้ปัญหา การจัดประชุมเพื่อฝึกอบรมมักจะใช้ทั้งการแสวงหาข้อมูล รายละเอียด และการแก้ปัญหา การประชุมเพื่อการฝึกอบรมมีเทคนิคที่จะดำเนินการได้มากมายหลายรูปแบบ แต่กิจกรรมหลักก็คือการประชุมในลักษะใดลักษณะหนึ่ง 5      การประชุมเพื่อระดมความคิด (Brainstorming Conference) การประชุมประเภทนี้เป็นการรวมเอาวิธีการประชุมเพื่อการข่าวสารและการประชุมเพื่อแก้ปัญหา เข้ามาผสมกลมกลืนกัน วัตถุประสงค์หลักคือ การรวบรวมความคิดจากผู้ร่วมประชุมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในเวลาอันสั้นจะมีการชี้ถึงปัญหา และขอให้ทุกคนให้ข้อแนะนำในการที่จะแก้ปัญหาโดยรวดเร็วต่อไปไม่หยุดชะงัก ไม่อนุญาตให้ใครวิพากษ์วิจารณ์หรือถกปัญหาโต้แย้งในความคิดที่เสนอแนะขึ้นมา ใครจะแสดงความคิดเห็นอย่างไรก็จดเข้าไว้เพื่อตอนท้ายของการประชุมจะมีรายการความคิดต่างๆมากมาย ต่อจากนั้นจึงนำมาเลือกว่าความคิดใดดีไม่ดี แล้วเรียบเรียงเสียใหม่             การประชุมใหญ่ (Convention)

ลักษณะสำคัญ เป็นการประชุมบรรดาผู้แทน ซึ่งได้รับการเลือกจากหรือได้รับการแต่งตั้งจากกลุ่มใหญ่ หรือคณะผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง หรือมอบหมายจากหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆซึ่งรวมอยู่ในองค์การเดียวกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกัน บุคคลเหล่านี้จะมาพบปะพิจารณาสำรวจและแก้ไขปัญหาต่างๆที่กำลังเป็นอยู่ในองค์การเดียวกัน การประชุมใหญ่มักประกอบด้วยการกล่าวนำ การอภิปรายเป็นคณะ การอภิปรายสาธารณะ การอภิปรายกลุ่ม ฯลฯ

วัตถุประสงค์1.       เพื่อสำรวจปัญหา 2.       เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา 3.       เพื่อตกลงใจเกี่ยวกับแนวดำเนินการ (Course of Action) 4.       เพื่อส่งเสริมหรือกระตุ้นให้แต่ละหน่วยงานท้องถิ่นปฏิบัติการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน (Concerted Action) 5.       เพื่อส่งเสริมความร่วมมือภายในองค์การ 6.       เพื่อชำระสะสางกิจกรรม ความคิด และนโยบายขององค์การ เลือกเอาข้อดีไว้ปฏิบัติ และขจัดข้อเสียให้หมดไปข้อดี 1.     เป็นวิธีที่จัดให้สมาชิกขององค์การหรือบุคคลต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการกำหนดนโยบายขององค์การใหญ่ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง 2.     เปิดโอกาสให้สมาชิกหรือหน่วยย่อยขององค์การที่จะเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อการปฏิบัติขององค์การใหญ่โตโดยส่วนรวม 3.     เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงทัศนะของตนได้เต็มที่ และเป็นทางให้คนกลุ่มน้อยได้มีโอกาสแสดงตน 4.     เป็นทางให้เสนอเรื่องราวด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 5.     ช่วยให้การปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 6.     ช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานสาขาขององค์การในภูมิภาคได้ปฏิบัติงานอย่างแข็งขัน 7.     จัดให้กลุ่มต่าง ๆ มาร่วมกันเพื่อบรรลุถึงความเข้าใจของกลุ่ม ด้วยกระบวนการแห่งประชาธิปไตย 8.     ให้โอกาสสมาชิกที่จะท่องเที่ยวและศึกษา ข้อจำกัด 1.     ผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากหน่วยงาน อาจจะไม่มีความพอใจหรือสนใจเหมือนกัน 2.     ในระหว่างการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมมักจะมีจุดสนใจแตกต่างกันไปหลาย ๆทาง 3.     ข้อสรุปต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นโดยเผด็จการ 4.     ผู้แทนซึ่งเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก มักจะสามารถนำไปสู่การสรุปผลตามที่ต้องการ โดยกีดกันไม่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ในทางกลับกัน ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่ อาจถูกชักจูงให้มีความคิดเห็นคล้อยตามคนส่วนน้อยบางคน เพราะความสามารถในการอภิปราย มากกว่าที่จะเกิดการใช้วิจารณญาณอย่างถ่องแท้                 การประชุมสัมมนา (Seminar)

ลักษณะสำคัญ สัมมนา คือ การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งมาร่วมประชุม โดยการนำของผู้ชำนาญหรือผู้รู้ในลักษณะที่แต่ละคนหันหน้าเข้าหาหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องที่มุ่งจะพิจารณาโดยเฉพาะ (Particular Topic) โดยนำเอาประสบการณ์เดิมมาสร้างแนวปฏิบัติใหม่ จัดได้ว่าเป็นการฝึกอบรมประเภทหนึ่ง เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา เพื่อให้สามารถไปปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือเพื่อเป็นการเตรียมตัวให้ก้าวหน้า เหมาะกับตำแหน่งความรับผิดชอบสูงขึ้นไป

คำว่า สัมมนามาจากคำว่า สัง + มนะ แปลว่า ร่วมใจ (Meting of the Minds) เป็นศัพท์ที่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ทางการศึกษาของกรมวิสามัญศึกษาบัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Seminar ซึ่งแต่เดิมหมายถึง การที่นักศึกษาขั้นอุดมศึกษาเมื่อได้ฟังคำบรรยายแล้วมาทำความเข้าใจร่วมกับเพื่อนๆหรือร่วมประชุมอภปรายเกี่ยวกับวิชาการที่ได้ต่างไปค้นคว้ามา ส่วนมากเน้นหนักในด้านการวิจัย และการแก้ปัญหาที่นักศึกษามีความสนใจร่วมกัน (วิธีนี้มักใช้ในมหาวิทยาลัย เพื่อจัดให้นักศึกษาขั้นสูงกว่าระดับปริญญาตรีทำวิจัยค้นคว้าภายใต้การควบคุมของอาจารย์ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้สามารถใช้กับกลุ่มอื่นๆด้วย) แต่ศัพท์ สัมมนาที่ใช้ในภาษาไทยมีความหมายโดยทั่วๆไปถึงการที่ผู้มีความรู้หรือการศึกษาในระดับเดียวกัน หรือวิชาชีพแขนงเดียวกันมาประชุมกัน เพื่อพร้อมใจกันแก้ปัญหา หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพแขนงนั้น หรือการปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ

การสัมมนานี้มิใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นและนำมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาตามที่ใจกัน ความจริงทางตะวันออกได้ใช้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนและแสวงหาความรู้มาก่อน ปรากฏหลักฐานจากการที่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้มีการจัด สัมมันตนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทำความเข้าใจในหลักธรรมและกำหนดแนวปฏิบัติอันเป้นผลที่ได้มาจากการร่วมสัมมันตนา ซึ่งก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการสัมมนานั่นเอง

การสัมมนาตามทางปฏิบัติในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นชื่อรูปแบบของกระบวนการจัดประชุม โดยเนื้อแท้ก็เป็นการจัดให้มีการคิดร่วมกันเป็นกลุ่ม (Group thinking) ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดยืดหยุ่นได้บ้าง สุดแต่จะให้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพื่อจะได้ไม่เคร่งครัดในเรื่องรูปแบบมากเกินไป ส่วนมากจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละแขนงวิชามาบรรยายตามข้อต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ผู้จัดการสัมมนากำหนดให้สอดคล้องกับหัวข้อการสัมมนาเป็นการวางแนวความคิดไว้กว้างๆ เพื่อจะได้นำไปตั้งวงเขตของปัญหา (Location of Problem) และกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน (Criteria) ในการพิจารณาปัญหา ทั้งนี้การบรรยายย่อมเป็นประโยชน์เพิ่มพูนความรู้ในวิชาชีพของผู้ร่วมสัมมนา เพื่อช่วยการแก้ปัญหาด้วยอีกโสดหนึ่ง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมสัมมนาซักถาม และอภิปรายร่วมด้วย ในบางครั้งก็จะจัดแบ่งผู้ร่วมสัมมนาเป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่เกิน 10 คน ให้อภิปรายปัญหาที่กำหนดให้ โดยมีวิทยากรเป็นผู้คอยให้คำแนะนำเมื่อจำเป็น การประชุมกลุ่มนี้มีประโยชน์มาก เพราะสมาชิกของกลุ่มมีจำนวนพอสมควร ไม่มากไม่น้อยเกินไป ทำให้ทุกคนต่างก็รู้สึกเป็นกันเองในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน แต่ถ้ามีเวลาจำกัด จะจัดเพียงให้ผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายหัวข้อที่กำหนด แล้วเปิดการอภิปรายสาธารณะ (Open-forum Period) ก็อาจทำได้

วัตถุประสงค์

การสัมมนาต้องกระทำอย่างมีจุดหมาย วิธีการประชุมแบบนี้อาจนำไปใช้เพื่อให้บรรลุความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมากกว่านั้นในวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
1.       เพื่อความเข้าใจปัญหา 2.       เพื่อสำรวจปัญหา 3.       เพื่ออภิปรายหรือวางโครงร่างการวิจัยที่จำเป็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหา 4.       เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบกับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม 5.       เพื่อให้บรรลุข้อสรุปผลวิจัย 6.       เพื่อเสนอสาระน่ารู้ อย่างไรก็ตาม การสัมมนาเป็นการประชุมแบบหนึ่ง จึงอาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของการประชุมโดยทั่วไปด้วยดังนี้ 1.       เพื่อแก้ปัญหาอันเป็นเรื่องสำคัญ (Problem Solving) 2.       เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่กันและกันหรือให้การฝึกอบรม (Teaching or Training) 3.       เพื่อแสวงหาข้อตกลงด้วยการเจรจา (Negotiation) 4.       เพื่อตัดสินใจหรือกำหนดนโยบาย (Decision-making or Policy determination) พิจารณาจากวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า จุดมุ่งหมายใหญ่ของการสัมมนาแต่ละครั้ง ก็เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ผู้เข้าร่วมสัมมนาแต่ละท่านจึงจำเป็นที่ต้องเตรียมตัวเพื่อที่จะแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม เพื่อให้การประชุมดำเนินไปเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ดังนั้น เราจะควรพิจารณาองค์ประกอบที่จะถือได้ว่าเป็นการสัมมนา ดังนี้1.       ต้องตั้งความมุ่งหมายไว้ให้ชัดแจ้งแน่นอน 2.       ต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้วยการเปิดให้มีการอภิปรายกันอย่างเสรี 3.       ข้อเสนอแนะแก้ปัญหา ต้องได้รับจากการอภิปรายร่วมกันของกลุ่ม ข้อดี 1.     เป็นการนำผู้ที่สนใจปัญหาเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไข 2.     ได้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในปัญหาอย่างแท้จริง 3.     มีการนำอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อสัมมนาเป็นการให้แนวความคิดพื้นฐานและทัศนะต่อปัญหาอย่างกว้างขวาง 4.     เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาที่สนใจประเด็นเฉพาะได้เข้าร่วมการวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละประเด็นอย่างลึกซึ้ง 5.     ข้อเสนอแนะจากกลุ่มย่อยจะได้รับการพิจารณาเห็นชอบในที่ประชุมรวมเพื่อกลั่นกรอง เป็นข้อเสนอแนะแก้ปัญหาจากที่ประชุมสัมมนา ข้อจำกัด 1.     ผู้เข้าสัมมนาบางคนอาจไม่ได้ศึกษาหัวข้อสัมมนาอย่างจริงจังจึงไม่อาจให้ข้อคิดเห็นแก่กลุ่มอย่างเต็มที่ 2.     ผู้สัมมนาที่ลงทะเบียนเข้ากลุ่มใดแล้วไม่ได้รับความรู้และประสบการณ์จากผู้ช่วยกลุ่มอย่างเพียงพอจะรู้สึกอึดอัดและผิดหวังมาก 3.     รายงานของกลุ่มสัมมนาอาจไม่ได้รับการวิเคราะห์ในที่ประชุมรวมอย่างจริงจัง เนื่องจากเวลามีจำกัดและมีกลุ่มสัมมนาจำนวนมาก 4.     บางกลุ่มสัมมนามีจำนวนมากเกินไปเป็นเหตุให้บางคนไม่มีโอกาสอภิปรายความเห็นในกลุ่ม 5.     วิทยากรประจำกลุ่มบางคนชอบแสดงความคิดเห็นแทนกลุ่มเสียเอง ถ้าสมาชิกกลุ่มไม่ช่วยกันยับยั้งการประชุมจะเสียผล     การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)

ลักษณะสำคัญ กลุ่มคนจำนวน 12 คน หรือมากกว่านั้น มีความสนใจหรือมีปัญหาร่วมกัน (ด้วยปกติเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชีพหรือวิชาชีพ) มาพบปะกันเพื่อใช้เวลาในการปรับปรุงความสามารถความเข้าใจและความชำนิชำนาญของแต่ละคน โดยการศึกษาวิจัยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ข้อสังเกต แม้จะไม่กล่าวถึงวิธีการจัดประชุมในแบบอื่น ๆ แต่เป็นที่เข้าใจกันว่า การประชุมอบรมแบบนี้มีลักษณะยืดหยุ่นได้มาก การ ประชุมแบบนี้มี 2 ชนิด คือ ใช้เวลานานกับใช้เวลาเพียงสั้น ๆ

วัตถุประสงค์
การประชุมเชิงปฏิบัติการ สามารถนำมาใช้เมื่อต้องการที่จะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1.       เพื่อทำความเข้าใจปัญหา 2.       เพื่อสำรวจปัญหา 3.       เพื่อพยายามหาข้อแก้ไขปัญหา 4.       เพื่อศึกษาปัญหาด้วยการสอบถาม 5.       เพื่อพิจารณาด้วยการสอบถาม 6.       เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบุคคล 7.       เพื่อส่งเสริมการศึกษา รวมถึงแก้ปัญหาและค้นคิดวิธีการต่าง ๆ  ข้อดี 1.     เปิดโอกาสแก่ผู้เข้าร่วมประชุมให้ได้เตรียมตัวเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในวิชาชีพหรืออาชีพของเขา 2.     ให้โอกาสในการประเมินค่าของวิชาชีพหรืออาชีพ และทำการวิจัยที่จำเป็น 3.     เปิดโอกาสให้เสนอสิ่งสำคัญและเรื่องราวใหม่ ๆ 4.     ให้โอกาสในการเสนอปัญหาในหลายลักษณะ 5.     ให้โอกาสแก่บุคคลทุกคนที่มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ 6.     ให้โอกาสสำหรับนักศึกษา และวิจัยอย่างมีใจจดใจจ่อในขอบเขตของความสนใจทางด้านวิชาชีพหรืออาชีพ 7.     เปิดโอกาสให้ได้รับเรื่องราวที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญพิเศษ 8.     ให้มีการพัฒนาบุคลิกภาพแต่ละบุคคลโดยการอภิปรายแบบประชาธิไตยและการมีส่วนร่วมมือกันอย่างแท้จริง 9.     ปล่อยให้กลุ่มกำหนดวัตถุประสงค์ที่จะกระทำ ข้อจำกัด 1.     สิ่งอำนวยความสะดวกสบายพิเศษต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการประชุมถูกจำกัดโดยทั่ว ๆ ไป มีอยู่เฉพาะในบริเวณมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย หรือสถานที่พิเศษเท่านั้น 2.     ระยะเวลาสำหรับการสำรวจปัญหาอย่างเต็มที่โดยผู้ร่วมประชุมมีระยะเวลาอย่างดีก็ประมาณ 2 วัน ถึง 2 สัปดาห์ 3.     กลุ่มอาจจะยอมรับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคณะกรรมการอำนวยการโดยปราศจากคำถามใด ๆ ทั้งสิ้น และด้วยเหตุนี้ผลที่ได้จึงจำกัด เป็นเรื่องอันตรายมากและสามารถป้องกันได้โดยการเลือกตั้งผู้นำในการเปิดอภิปรายทั่วไปอย่างระมัดระวัง  การประชุมอภิปรายกึ่งสัมภาษณ์ (Colloquy)

ลักษณะสำคัญ Colloquy เป็นการประชุมอภิปรายแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งปรับปรุงมาจากการอภิปราย Panel โดยผู้ร่วมอภิปราย 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมาจากผู้ฟังซึ่งมีจำนวน 3-4 คน และอีกกลุ่มหนึ่งมีจำนวน 3-4 คนเช่นกัน ซึ่งเป็นวิทยากร (Resource person) หรือผู้ชำนาญเกี่
ขอบคุณครับที่ช่วยแนะนำ

อยากทราบรูปเเบบของการประชุมเพื่อตัดสินใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท