เรื่องเล่าจากดงหลวง 52 เมื่ออีนางตามผู้ชายไป


โดยมองข้ามสาระของวัฒนธรรมชุมชนไปหมดสิ้น อาจจะมีเพียงการพูดถึง เท่านั้น ทั้งๆที่วัฒนธรรมชุมชนคือแรงเกาะเกี่ยวที่สำคัญของชุมชน ของสังคม หรือวัฒนธรรมชุมชนคือทุนทางสังคมที่ใครๆก็ยอมรับว่าสำคัญ กิจกรรมด้านนี้ควรอยู่ในเมนูหลักของการพัฒนาเสียด้วยซ้ำไป

สังคมเมืองสังคมชนบท : โดยปกติค่านิยมคนจะพูดว่า สังคมเมืองคือแบบอย่างของความเจริญ และสังคมชนบทคือแบบอย่างของความล้าหลัง ไม่เพียงเท่านั้น ยังจะกล่าวต่อไปอีกว่า ควรหาทางสลัดคราบสังคมชนบทให้หลุดพ้นไปแล้วเรียกร้องปองหาสังคมเมืองมาแทนที่ แต่มีน้อยคนที่มีมุมมองในทางตรงข้ามคือ สังคมชนบทเป็นสังคมพึงประสงค์และสังคมเมืองเป็นสิ่งน่ารังเกียจเพราะมีแต่ความเลวร้ายภายใต้คราบความทันสมัย  

วัฒนธรรมที่แข็งกว่าย่อมกลืนวัฒนธรรมที่อ่อนกว่า: นักวิชาการกล่าวเสมอว่า สังคมย่อมเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลง ผู้บันทึกยังเห็นการรุกรานทางวัฒนธรรมอีกด้วย มีตัวอย่าง เมื่อผู้บันทึกทำงานใหม่ในชนบทภาคเหนือ เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมเปิดที่ดีงาม บริสุทธิ์  เอื้อเฟื้อ ต้อนรับ มีเมตตา และมองคนในแง่ดีแม้คนแปลกหน้า เมื่อขับมอเตอร์ไซด์ไปตามหมู่บ้านต่างๆในเขตภูเขาจากบ้านนี้ไปบ้านโน้นเพื่อทำความรู้จักพื้นที่ คน ฯลฯ

ระหว่างทางก็จะพบชาวบ้านทำกิจกรรมในไร่นา หรือเดินไปธุระที่โน่นที่นี่ หากเราจะจอดรถซักถาม เขาเหล่านั้นก็จะตอบด้วยดีและถามไถ่เราด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส หากคุยกัน 2-3 คำ เข้าใจกันดีว่าเป็นใครมาจากไหน หลายคนก็ชักชวนไปเที่ยวบ้าน กินน้ำกินท่า เมื่อถึงเวลาอาหารก็จะชวนกินข้าวกินปลาตามประสาพื้นบ้าน หากพบกันสัก 2 ครั้งก็ชวนพักผ่อนที่บ้านได้เลย อีก 2 – 3 ปีผ่านมามีคนต่างถิ่นหน้าตาไม่คุ้นแบบผู้เขียนเข้าไปหมู่บ้านอื่นๆใกล้เคียงอีก ก็เดาว่าคนแปลกหน้าคนนั้นก็คงได้รับการปฏิบัติอย่างที่ผู้บันทึกได้รับเช่นกัน แต่แล้วอีก 1 เดือนถัดมามีข่าวลือว่า สาวในหมู่บ้านหายไป และเล่าขานกันว่าไปกับชายหนุ่มคนนั้น  และเกิดแบบเดียวกันในหมู่บ้านอื่นๆอีก อย่างน้อย ปีละ ครั้งสองครั้ง 

จากการติดตามข่าวคราวทราบว่าชายหนุ่มต่างถิ่นได้มาล่อลวงหญิงสาวไป  ผู้เขียนจะไม่สาธยายรายละเอียดต่อ แต่จะเสนอมุมมองว่า วัฒนธรรมเหนือที่ดีมากๆที่ผู้เขียนชื่นชมนั้น เป็นช่องว่างสำหรับผู้แสวงหาประโยชน์ โดยอาศัยวัฒนธรรมที่ดีงามนี้เป็นตัวนำร่องเข้าไปสู่เป้าหมายของเขา กล่าวอีกที วัฒนธรรมที่ดีกลายเป็นช่องว่างสำหรับผู้แสวงหาประโยชน์ไปหมดสิ้น  

คนต่างถิ่นได้อาศัยความมีเมตตา เอื้อเฟื้อ ต้อนรับ เจาะเข้าหาครอบครัวที่มีหญิงสาว พูดคุย ตีบทเป็นผู้ดีอย่างน่าไว้ใจ หรือ ไม่มีอะไร เป็นช่องเปิดให้เข้าหาหญิงสาวแล้วล่อหลอกให้เธอไปหางานทำดีๆ เงินทองมากๆ จะสบายในอนาคต ไม่ต้องเอาผ้ามาพันหน้าตาออกทำงานในไร่ตากแดด เช่นที่เป็นอยู่ ความบริสุทธิ์ใจจึงตกเป็นเหยื่อของผู้ประสงค์ร้ายไปในที่สุด  เมื่อเกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ซ้ำซากในท้องถิ่น เสียงร่ำลือ เสียงเล่าขานทำให้เกิดความหวาดกลัว และความระแวงสงสัยเกิดขึ้น และวัฒนธรรมอันดีงามที่ถ่ายทอดมาเป็นเวลานานแสนนานก็สิ้นสุดลง ด้วยคนที่มุ่งแสวงหาประโยชน์ดังกล่าว    

สังคมดงหลวงก็ไม่พ้นการเข้าไปแสวงหาประโยชน์ในทำนองเดียวกัน ของคนภายนอกในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพราะเขาไม่ได้ใส่หน้ากากยักษ์มารอะไร  เพราะเขาไม่ได้เป็นคนที่ดุร้ายน่ากลัวด้วยรูปร่างหน้าตาแต่อย่างใด  แต่เหมือนกับเรากับท่าน การเข้าไปเอาเปรียบชนบทมีรูปแบบแตกต่างกันมากมาย ทั้งเด่นชัด ทั้งแอบแฝง  ดังนั้นการพัฒนาชุมชนมันมีงานทำมากกว่ากิจกรรมการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การเพิ่มภูมิคุ้มกันในแง่ของการรู้เท่าทัน ก็มีส่วนสำคัญอย่างกรณีตัวอย่างที่ยกมาก ท่านคิดอย่างไรเล่าครับ   

โครงการแบบไหนที่จะเบ็ดเสร็จในเรื่องรอบด้านในการทำงานพัฒนาชุมชน โครงการที่จะทำงานแบบเบ็ดเสร็จจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่  ใครกำหนด  ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาวัฒนธรรมดีๆ ให้เป็นวัฒนธรรมที่แข็งขึ้นมาควบคู่กับกิจกรรมอื่นๆที่มักเป็นกิจกรรมหลักของโครงการพัฒนาต่างๆ โดยมองข้ามสาระของวัฒนธรรมชุมชนไปหมดสิ้น อาจจะมีเพียงการพูดถึง เท่านั้น  ทั้งๆที่วัฒนธรรมชุมชนคือแรงเกาะเกี่ยวที่สำคัญของชุมชน ของสังคม หรือวัฒนธรรมชุมชนคือทุนทางสังคมที่ใครๆก็ยอมรับว่าสำคัญ กิจกรรมด้านนี้ควรอยู่ในเมนูหลักของการพัฒนาเสียด้วยซ้ำไป ใช่ไหมครับท่าน 

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมชุมชน
หมายเลขบันทึก: 84914เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • ราณีกลับเห็นว่าสังคมชนบทมีหลายอย่างที่คนในเมืองไม่มีและอยากค้นหาอีกเยอะค่ะ
  • สำคัญที่สุดคนในชุมชนต้องรักชุมชน  เพราะคนในสังคมยังสามารถหล่อหลอมให้รักและหวงแหนวัฒนธรรม สร้างความรู้ สร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ชุมชนตัวเอง  ก็สามารถเป็นเกราะป้องกันอันตรายจากสังคมภายนอกได้ค่ะ
  • ขอบคุณนะค่ะที่นำเรื่องดี ๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ
  • สวัสดีครับพี่ไพศาล
  • ผมมองว่าหากมีระบบการฉีดวัคซีนที่ดีให้กับชุมชน สิ่งเลวร้ายจะค่อยๆ หายไปครับ จนในที่สุดผู้บริหารในระดับสูงจะลงมาเห็นด้วยแล้วก็จะต้องรับใช้ชุมชนที่แท้จริงครับ
  • สิ่งที่พี่ๆ และหลายๆ คนทำอยู่ตอนนี้ผมก็มองว่าเป็นการฉีดวัคซีนที่ดีให้กับชุมชน
  • ผมเองภูมิใจที่ได้เกิดเป็นลูกชาวนา ทำนาทำสวน ขุดดิน อาบน้ำในท้องนา หาปลาในชนบท สิ่งเหล่านี้หาไม่ได้จากในเมือง
  • ความต่างกันของสังคมมีมาก ผมอ่านบทความพี่แล้วนึกถึงเพลงของอัศนีย์วสันต์ ชื่อเพลงความงามที่ต่างกัน (หรือความงามที่แตกต่าง ใช่หรือเปล่าหนอ) เทียบคนสองคนเดินจากป่าเข้าเมือง กับจากเมืองขึ้นดอย
  • จริงๆ แล้วคนเราเลือกเกิดไม่ได้ว่าจะต้องเกิดตรงไหน แต่ที่สำคัญคือเกิดตรงไหนแล้วเข้าใจสังคมส่วนใหญ่หรือเปล่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยไม่เอารัดเอาเปรียบคงทำให้สังคมพัฒนาไปในทางที่ดีได้ครับ
  • ขอบคุณมากๆนะครับพี่

สวัสดีครับ

อ่านแล้วชื่นใจดี ส่วนอีนางที่ตามใครไป ก็เป็นธรรมดามั่งครับ เพราะเธอเลือกของเธอเอง? (ถ้าเธอโตแล้ว )

ที่หนักว่านั้นคือทุกวันนี้ทางเหนือจะมีรถตู้มาจับเด็กไปสิครับ  และกระชากกันซึ่งหน้าที่เด่นชัยนี้เอง

เด็กที่หนีหลุดมาได้เล่าให้ตำรวจฟังว่า เป็นฝรั่งหนึ่ง แขกสองอยู่ในรถตู้

พ่อแม่ช็อคร้องไห้กันขรม ทุกวันนี้ตำรวจยังปราบแก๊งนี้ไม่ได้

น่าหนักใจ

  • สวัสดีครับ อาจารย์ Ranee
  • ผมเห็นด้วยกับ สำคัญที่สุดคนในชุมชนต้องรักชุมชน  เพราะคนในสังคมยังสามารถหล่อหลอมให้รักและหวงแหนวัฒนธรรม สร้างความรู้ สร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ชุมชนตัวเอง  ก็สามารถเป็นเกราะป้องกันอันตรายจากสังคมภายนอกได้ค่ะ
  • สิ่งที่มักพบคือชุมชนอ่อนไหวไปตามแรงกระตุ้นของวัฒนธรรมกระแสหลัก ยกเว้นบางแห่ง (มักมีน้อย) ที่ผู้นำเก่ง และสามารถสร้างแรงกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัวมาปกป้องได้ โครงการจะต้องเพิ่มแรงกระตุ้นให้ชุมชนตื่นในเรื่องเชิงวัฒนธรรมเหล่านี้ พร้อมกับการแก้ปัญหาปากท้องครับ
  • ขอบคุณครับ

การหาประโยชน์จากความใสซื่อของชาวบ้าน เป็นความหดหู่มาก ๆ ครับ...

คนในชุมชนคงต้องเรียนรู้ในการที่จะเลือกไว้ใจหรือไม่ไว้ใจคนต่างถิ่น...

เราน่าจะมีวิธีรักษาวัฒนธรรมอันงดงามในชุมชนชนบทไว้นะครับ...

ขอบคุณครับ...

  • สวัสดีน้อง เม้ง  อ้าวเม้งไหนล่ะ... ก็เม้งเทอร์โบไง
  • ใช่เรามาจากชนบทที่คลุกคลีอยู่ในสองวัฒนธรรม เห็นอะไร อะไรมากกว่า (คิดว่านะ)  ความจริงไม่มีอะไรดีไปหมด และเสียไปหมด มีทั้งดีและเสีย ปะปนกัน แตกต่างกันมากกับน้อย
  • แต่ที่เราเห็นและชื่นชมคือลักษณะวัฒนธรรมชุมชนจะเป็นแนวทางที่คนปฏิบัติต่อกันที่มีความอิ่มเอิบใจมากกว่า เพราะมีคุณค่ามากกว่ามูลค่าที่ใครๆจำนวนมากกล่าวกัน
  • เพื่อนที่เคยใช้ชีวิตที่อเมริกายังเคยเล่าให้ฟังว่า พ่อไปเยี่ยมลูกที่บ้านลูก พ่อก็ปราดไปชงกาแฟกินเองแล้วจึงมาคุยกับลูก ตอนขากลับ เขาควักเหรียญในกระเป๋ามาหยอดกระปุก  แล้วบอกว่าพ่อหยอดเหรียญค่ากาแฟให้แล้วนะ แล้วพ่อก็จากไป  ผมไม่ทราบว่าความเป็นจริงเป็นเช่นนี้มากน้อยแค่ไหน  หรือไม่ใช่  หากใช่ มันจะเป็นสังคมความทันสมัย ที่เรากำลังก้าวไปสู่แบบนั้นหรือ
  • พี่ก็ชอบเพลงของอัศนีย์วสันต์ มีความยหมายในความไพเราะ
  • ขอบคุณน้องเม้งครับ
  • สวัสดีครับท่าน กระต่ายหูตก
  • ผมก็ได้ยินข่าวเรื่อง มีรถตู้มาจับเด็กไปสิครับ   น่ากลัว สังคมไม่น่าไว้ใจมากขึ้น มากขึ้น
  • หากชุมชน ประชาชนไม่ช่วยกัน ก็เป็นช่องว่างที่คนหาผลประโยชน์ หาช่องทางได้เสมอ
  • เมื่อทราบเรื่องแล้ว นึกถึงลูกหลานเรานะครับ สังคมยุคนั้นจะแปร ผันไปถึงไหนกัน
  • ขอบคุณมากครับ
  • Mr.Direct  ครับ
  • ใช้แล้วครับต้องหาทางสร้างสิ่งป้องกันให้ชนบท โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่ดีงาม
  • ส่วนใหญ่จะทำงานวัฒนธรรมในเชิงพิธีกรรมมากกว่าการพูดถึง การฟื้นฟู การสร้างสรรค์ วัฒนธรรมที่ดีที่พึงปฏิบัติต่อกันของชนบท
  • ขอบคุณครับ

วัฒนธรรมชุมชนมีคุณค่าและดีงามเช่นนี้ ยังมีคนมาแสวงหาผลประโยชน์จากวัฒนธรรมเหล่านี้ไปซะได้...เพราะวัฒนธรรมชุมไม่มีภูมิคุ้มกันพอ...หรือเพราะสังคมภายโหดร้าย เกินที่วัฒนธรรมชุมชนจะต้านทานได้...การสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางงานพัฒนาก็หวังเพื่อที่จะได้รู้เท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศ โลก ไม่เกินไปอาจถึงจักรวาล...รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันเหล่านั้น...แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญในงานพัฒนา...แต่คงไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์แบบ...เพราะชุมชนไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาล...ดังนั้น...ทำอย่างไรชุมชนจะเข้มแข็งและอยู่ได้อย่างยั่งยืน...ก็คงเป็นโจทย์ที่นักพัฒนาพยายามขบคิดมาตลอด...อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบเห็นช่วยเปิดมุมมองให้เรากว้างขึ้น...ขอบคุณพี่บางทรายครับ

  • สวัสดีครับคุณ ชอลิ้วเฮียง
  • จากมุมมองนี้ เห็นว่างานพัฒนาคน ชุมชน สังคม มีความละเอียดอ่อนมากกว่าเพียงทำโครงการ และกิจกรรมหลักเท่านั้น หากคนทำงานพัฒนาเพียงรับรู้รับทราบเรื่องเช่นนี้แล้วให้ผ่านเลยไป ก็ไม่ได้มีส่วนแก้ไขปัญหาที่เป็นรากแก้วของสำนึก แลวิญญาณของชุมชน เพราะวัฒนธรรมคือแรงเกระเกี่ยวทางสุงคม และนักวิชาการก็ชื่นชมว่านี่คือ "ทุนทางสังคม" เมื่อทุนทางสังคมถูกกระทำ งานะฒนาต้องมีสาวนในการทำการกู้คืนมา  แต่ที่ผ่านมาเราเล่นเพียงกิจกรรมรูปธรรมที่จับต้องได้มากกว่าการเสริมสร้างวิญญาณของชุมชนนะครับ รวมทั้งโครงการที่ผมรับผิดชอบอยู่ด้วย เพราะถูกจำกัดด้วยการออกแบบโครงการมาแล้ว และอนุญาติให้ทำงานเพียงกรอบที่ออกแบบมาเท่านั้น มากกว่านั้น ทำไม่ได้
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ เข้ามาทักทายครับ
  • พี่สบายดีนะครับ
  • รักษาสุขภาพนะครับ และสนุกในการทำงานครับ
  • ระบบคอมมันล่มไป 1 วันครึ่งน้องเม้ง
  • เมื่อเข้า G2K แล้วพอจะเข้าช่องแสดงความคิดเห็นก็เกิด debug แล้วก็หลุดออกไปเลย  พี่คิดว่าเครื่องของพี่มีปัญหา เอาไปให้ร้านเขาดูเขาบอกต้องใช้เวลามากกว่า 3 ชม. พี่เลยเอามาย้าย file ลง external hard disk เตรียมลงโปรแกรม windows ใหม่  พอมาเช้านี้ ดีแล้ว ใช้ได้แล้ว ครับ  แสดงว่าอยู่ที่เครือข่าย อย่างที่ ดร.จันทวรรณกล่าวครับ
  • พี่สบายดี กำลังออกสนามสรุปบทเรียนกับชาวบ้านอยู่ กับ ทีมงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีเรื่องดีๆจะมาเล่าให้ฟังครับ
  • ขอบคุณครับ
ผมตั้งสมมุติฐานว่า ทุนทางสังคม/วัฒนธรรมชุมชน ช่วยลดแรงกระแทกจากกระแสทุนนิยมได้...เพียงแต่กระแสทุนนิยมมีพลวัตรสูงกว่า...เปลี่ยนรูปไวยิ่งกว่าแฟชั่น...จนยากที่ทุนทางสังคม/วัฒนธรรมชุมชนจะตามได้ทัน...กระแสทุนนิยมมุ่งที่จะกอบโกยและแสวงหาผลประโยชน์เช่นนี้แล้ว...การฟื้นฟูเพื่อให้ทุนทางสังคม/วัฒนธรรมชุมชนให้คงอยู่เห็นจะไม่เพียงพอ...แต่ยังหมายถึงการสร้างให้มีความเข้มแข็งและแข็งแรงพอที่จะผงาดขึ้นได้ในยุคไร้พรมแดน

สวัสดีค่ะคุณบางทราย

มาขานชื่อค่ะ..แต่มาพร้อมกับหัวเราะเขินๆที่บันทึกที่แล้ว เบิร์ดเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน เพราะไม่ทราบว่าคุณบางทราย รู้จัก คุ้นเคยกับผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิต..โอ้ย ! แตกยับ

อ่านบันทึกนี้นึกถึงที่พี่ต้นตอบคำถามเบิร์ดเมื่อเบิร์ดถามว่า " จะทำงานชุมชนยังไงให้ยั่งยืน "..พี่ต้นตอบว่า " เข้าให้ถึงวัฒนธรรมของชุมชน แล้วให้เค้าต่อยอดในสิ่งที่เค้ามี " ( จริงๆมีอีกยาว ) .." เราเป็นเพียง Facilitator เท่านั้น ไม่ใช่ Controlor "

บันทึกนี้ทำให้เบิร์ดเข้าใจความหมายของการพัฒนาและมองเห็นภาพได้ดีขึ้นค่ะ

  • สวัสดีครับคุณ ชอลิ้วเฮียง
  • ใช่ครับ แน่นอน ตามเหตุผลที่กล่าว
  • ผมคิดว่าการเสริมความรู้เท่าทัน อำนวจการวิเคราะห์และการยึดมั่นในหลักการ ที่สำคัญคือการปรับตัวเพื่อหลักการในสถานภาพใหม่ เป็นเรื่องสำคัญ
  • อย่างไรก็ตามเราพูดกันในหลักการ หรือความคิดเห็นในทัศนะเรา ในทางเป็นจริงคงมีรายละเอียดมากมายครับ
  • แน่นอนความเข้มแข็งเป็นเรื่องสำคัญครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณ เบิร์ด
  • ผมไม่ได้คิดว่าคุณเบิร์ดหน้าแตกอะไรหรอกครับ ดีซะอีกที่เป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยชีวิตที่ผมชื่นชม
  • ผมเห็นด้วยกับคุณต้นครับ  แต่ผมคิดต่างบ้าง คือ สิ่งที่เราแสดงเหตุผลกันนั้นมัน "เป็นหลักการเสียส่วนใหญ่" การพูดถึงหลักการนั้น พูดเมื่อใดก็ถูก ถึงถูกที่สุด ทั้งนั้นแหละครับ
  • แต่ในทางปฏิบัติหลักการไม่เต็มร้อยเปอร์เซนต์หรอกครับ มันมียืดหยุ่น มันมีปัจจัย เงื่อนไข สถานการณ์ และความสามารถ รวมทั้งศิลปะการทำงาน  รวมแล้วอีกมากมายครับ
  • เหมือนกับว่าเรารู้สูตรทำต้มยำที่อร่อยที่สุด หากไปสอบในห้องสอบใครรู้สูตรก็ตอบได้ร้อยเต็มร้อย  แต่หากบอกให้ทำจริงๆ ทำต้มยำจริงๆตามสูตรที่ว่ามานั้น  คุณเบิร์ดลองคิดซิว่า 10 คนที่สอบและทำจริงๆนั้นน่ะ อาจจะออกมา 10 รสเลยก็ได้
  • ดังนั้นคนทำงานต้องมี AoP (Art of Practice) ต้องสร้างสมประสบการณ์มาเท่าชีวิตการทำงาน  บางคนเรียนรู้เร็ว บางคนช้าหรือไม่เรียนรู้เลยด้วยซ้ำไป
  • ผมเสียอีกต้องขอบคุณคุณเบิร์ดที่กรุณามาแลกเปลี่ยนและเติมข้อมูลแก่กัน
  • ขอบคุณมากครับ
  • นักพัฒนาซึ่งเป็นคนภายนอกชุมชน เดินลงไปในชุมชนโดยไม่มีหลักการหรือเครื่องมืออะไรติดหัวเลย...คงเคว้งคว้างพอสมควรครับ...ไม่รู้จะทำอะไร เริ่มจากตรงไหน
  • ชาวบ้านมีวัฒนธรรมชุมชนเป็นเครื่องมือ...นักพัฒนาก็มีหลักการพัฒนาเป็นเครื่องมือในการทำงาน...ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนเป็นสิ่งที่ต้องเข้าไปเรียนรู้และสัมผัสเอง...ไม่มีสูตรสำเร็จ..
  • เหมือนที่เรายึดแนวคิด/หลักการวัฒนธรรมชุมชน ก็ยังไม่มีสูตรสำเร็จเลยว่าทำอย่างไรบ้าง?...ทำอย่างไรจะผนวกหลักการพัฒนาเข้ากับวัฒนธรรมชุมชนได้...ก็คงต้องนำความรู้จากการปฏิบัติมาแชร์กันแหละครับ...
  • ใช่ครับคุณ  ชอลิ้วเฮียง
  • หลักการคือเครื่องมือ การปฏิบัติ ต้องใช้ศิลปะในการทำ เพื่อให้การขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ หรือการทำงาน "กลมกล่อม" มากขึ้น ขึ้นกับนักพัฒนาแต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน
  • ศิลปะการทำงานนี้ที่ภาควิชาพัฒนาชุมชนไม่มีหลักสูตรสอน แต่มีให้เรียนรู้ที่สนามจริง และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ ใช่ครับต้องมาแชร์กัน
  • ขอบคุณครับ
ดังนั้น ศาสตร์และศิลป์ก็ต้องผสมผสานกันไป...ศาสตร์ต้องอาศัยศิลป์เพื่อให้เกิดรูปธรรม...ศิลป์เองก็ต้องอาศัยศาสตร์เป็นเครื่องมือนำทาง...วาทกรรมที่ว่าด้วย ทุนทางสังคม\วัฒนธรรมชุมชน...อาจมีวาทกรรมอื่นมาแทนที่อีกก็ได้...
  • ผมเห็นด้วยครับ สองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน
  • ทุกอย่างก็ย่อมเกิดขึ้นได้ในสนามจริง เมื่อเราค้นพบสัจจะที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีมากมาย บ่อยๆ  เพียงแต่เราเห็นสัจจะนั้นหรือไม่
  • ใช่ครับวาทกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆเสมอ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท