Mr.Kong
นาย กิตตินันท์ อนัมบุตร

Wireline Network ในไทยยังไม่มีวันตาย


ใครจะคาดคิดว่า สายไฟฟ้าตามบ้านเราจะสามารถใช้เล่น Internet ได้

เมื่อทิศทางของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันได้มุ่งเน้นในการเชื่อมโยงโครงข่ายในรูปแบบของ Wireless กันมากขึ้น ตัวอย่างของเทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามองซึ่งได้แก่ 3G และ Wimax เป็นเทคโนโลยีที่ลดช่องว่างของข้อจำกัดในการวางโครงข่ายประเภทสายสัญญาณ เช่นพวกสายโทรศัพท์ มีการคาดการกันไว้ว่า ถ้าเทคโนโลยี Wimax เกิดขึ้นได้เมื่อไหร่จะทำให้การใช้งาน Adsl ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีการใช้งานลดน้อยลง เพราะเทคโนโลยี Wimax เป็นเทคโนโลยีแบบ Wireless ซึ่งก็คือการใช้คลื่นความถี่สัญญาณในการส่งข้อมูล ซึ่งลดข้อจำกัดให้กับการเดินสายโทรศัพท์ไปยังถิ่นธุรกันดารลงได้

                Powerline คือสายไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ทั่วไปตามบ้าน แต่ที่พิเศษก็คือ สายไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านเรานี้สามารถใช้งาน Internet ได้ ซึ่งการส่งข้อมูลโดยผ่านทางสายหรือ Wireline ในไทยก็มีการใช้งานอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้วก็คือสายโทรศัพท์ และสายOptical fiber แต่ก็ต้องมีการลงทุนในการติดตั้งสูง การนำสายไฟฟ้าที่มีการเชื่อมต่ออยู่ตามบ้านอยู่แล้วนำมาใช้ในการส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่าย Internet ก็จะช่วยลดต้นทุนในการติดตั้งลงได้ หลักการในการส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟฟ้าคือ การเข้ารหัสข้อมูลไปตามความถี่ของสัญญาณ และส่งข้อมูลไปพร้อมกับกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะมี modem เป็นตัวกลางในการแปลงสัญญาณทั้งในฝั่งรับและฝั่งส่งข้อมูล ดังตัวอย่างในรูป

 

  

                การใช้งานระบบ Powerline เพื่อใช้งานในการเชื่อมต่อ Internet ในประเทศไทยมีทิศทางที่มีความเป็นไปได้สูงขึ้นเมื่อ ทาง กทช.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ประเภทที่3 ให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ข้อมูลข่าวจาก หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ  สำหรับการออกไลเซนส์ให้กับ ผู้ให้บริการไฟฟ้า ทั้ง 3 รายนี้ กทช. มีความเห็นว่าจะเข้ามาช่วยสร้างช่องทางและเพิ่มจำนวนให้กับกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่มีอยู่ในตลาดทั้งรายเก่าและใหม่ รวมถึงการมีโครงข่ายรองรับมากขึ้น และเป็นการสร้างทางเลือกให้ในการเข้าสู่โครงข่าย Internet ได้เพิ่มมากขึ้น

                ซึ่งหากนำเอาเทคโนโลยี Powerline มาใช้งานได้จริงจะส่งผลให้ผู้ใช้งาน Internet ในพื้นที่ห่างไกล ที่ระบบโครงข่ายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง แต่มีสายไฟฟ้าเข้าถึง สามารถเข้าถึงโครงข่าย Internet ได้ ซึ่งลดข้อจำกัดการเข้าถึงโครงข่าย และผลักดันให้ต้นทุนค่าเชื่อมต่อการใช้งาน Internet มีต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จะมีผลประโยชน์ต่อ ประชาชนผู้ห่างไกลตามชนบทที่โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเข้าไม่ถึง ซึ่งนโยบายและรูปแบบการให้บริการของ เทคโนโลยีตัวนี้คงต้องดูต่อไปว่ามีทิศทางเป็นไปอย่างไร

                แต่ถึงแม้เทคโนโลยี Powerline ยังจะไม่มีการใช้งานอยู่ในตอนนี้ แต่โครงสร้างพื้นฐาน พวกเสาส่งกระแสไฟฟ้า ก็ยังสามารถวางระบบโครงข่าย เช่นสายโทรศัพท์ สาย Optical fiber พ่วงไปกับสายไฟฟ้า เพื่อเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ ที่ไม่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานโทรศัพท์เข้าถึงลงได้ ซึ่งการเปิดโอกาสของ กทช. ในครั้ง ช่วยสร้างสีสันให้กับวงการโทรคมนาคมเป็นอย่างมาก ก็คงต้องดูต่อไปว่าแนมโน้มของเทคโนโลยีตัวนี้จะมีทิศทางเป็นอย่างไร

 

ข้อมูล  

http://www.ntc.or.th/index.php

http://en.wikipedia.org/wiki/3G

http://en.wikipedia.org/wiki/Wimax

http://en.wikipedia.org/wiki/Power_line_communication

http://www.manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000030604

หมายเลขบันทึก: 84589เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2007 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นข้อมูลที่เปิดหูเปิดตาดีครับ
  • ขอขอบคุณ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท