บุญรอด
นาย บุญรอด บุญรอด แสงสว่าง

ประวัติเมืองหามหอก


เมืองหามหอก
ประวัติความเป็นมา
          
เมืองหามหอกเป็นโบราณสถาน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อ  พ.ศ.2479   (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  53   ตอนที่ 24 วันที่  2  สิงหาคม  2479)   เป็นเมืองเก่าสันนิษฐานว่าสร้างสมัยทวารวดีหรือสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาเมืองได้ร้างไป จะด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ มีกำแพงเมืองเก่าๆ อยู่แห่งหนึ่งเป็นกำแพงดิน มีประตู 4 ด้าน มีคูน้ำ(ชาวบ้านเรียกว่าลำห้วย) ล้อมรอบ อยู่ห่างจากจังหวัดชัยภูมิประมาณ 14 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านไร่ ตำบลลุ่มน้ำชี อำเภอบ้านเขว้า และอยู่ห่างจากตัวอำเภอบ้านเขว้าประมาณ 9 กิโลเมตร อยู่ห่างจากหมู่บ้านไร่ 500 เมตร ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่ากำแพงนี้สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทั้งด้านกว้างและด้านยาวประมาณด้านละ 12 กิโลเมตร แต่ตามแผนที่ในปัจจุบัน กำแพงเมืองเป็นรูปวงกลมวัดโดยรอบประมาณ 4,500 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1,800 เมตร และมีคูน้ำ 2 ชั้น และคันดิน 4 ชั้น นับเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณต้นลำน้ำชี ภายในเมืองพบซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐและศิลาแลง ซากที่เหลืออยู่เป็นมูลดินและเศษอิฐสูงประมาณ  2-3  เมตร  ข้างกำแพงเมืองมีคูน้ำล้อมรอบ และโบราณวัตถุที่ค้นพบในเมืองนี้มีหลายประเภท   เช่น ขวานหินขัดของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หินบดยา ภาชนะดินเผา ใบเสมา ฐานประติมากรรมหินทราย เป็นต้น จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าเมืองหามหอกมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะตอนปลาย จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีอายุเก่าแก่ไม่ต่ำกว่า 2,500 ปีมาแล้วอย่างน้อย
           แต่ในปัจจุบันเหลือคูเมืองอยู่ทางด้านทิศใต้ ซึ่งยังมีน้ำขังอยู่ ส่วนคูเมืองด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นั้น คูเมืองตื้นเขินจนไม่มีร่องรอยของคูเมือง ราษฎร์ได้เข้าไปจับจองถือกรรมสิทธิ์ทำเป็นที่ทำนาหมด
           นอกจากคูเมืองแล้ว ยังมีเสาหินซึ่งเข้าใจว่าเป็นเสาหลักเมืองปักอยู่ด้านในของกำแพงทางทิศตะวันตก ซึ่งไม่ห่างจากกำแพงมากนัก ชาวบ้านเรียกเมืองนี้ว่า
เมืองหามหอก เข้าใจว่าในอดีตเจ้าเมืองหามหอกบางทีจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ อยู่ยงคงกระพันมาก เวลาจะไปไหนแต่ละครั้ง ให้บริวารนำหอกมาสานเป็นแคร่แล้วนั่งบนหอกหรือนั่งบนปลายหอก แล้วให้บริวารแบกหามไปคนจึงเรียกเมืองนี้ว่า เมืองหามหอก และมีความเชื่อว่าเป็นเมืองชัยภูมิเก่า 
อาณาเขต
ทิศเหนือ จรดบ้านโปร่งเกตุ ตำบลชีลอง อำเภอเมืองชัยภูมิ
ทิศใต้ จรดบ้านไร่ ตำบลลุ่มลำชี อำเภอบ้านเขว้า
ทิศตะวันออก จรดบ้านไร่ ตำบลลุ่มลำชี อำเภอบ้านเขว้า
ทิศตะวันตก จรดบ้านกุดฉนวน ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า
   
การคมนาคม
มีทางเข้าไปชมเมืองหามหอกได้  2  ทาง
1. เข้าทางบ้านกุดไข่นุ่น    หมู่ที่  11  ตำบลบ้านเขว้า  ระยะทางจากบ้านกุดไข่นุ่น ถึงเมืองหามหอกประมาณ 2 กิโลเมตร
2. เข้าทางบ้านไร่ ตำบลลุ่มลำชี ระยะทางจากบ้านไร่ถึงเมืองหามหอกประมาณ 500 เมตร 
 
เนื้อที่บริเวณเมือง
ในปัจจุบัน เมืองหามหอก มีเนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่ แต่เป็นที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ราษฎร์เข้าไปทำนา ทำสวน ในบริเวณเมืองยังมีคูคลอง หนอง และมีน้ำตลอดปี  
 
วัตถุโบราณที่ค้นพบ
1.ไห    
2.หอก 
3.หินบดยา
4.ภาชนะดินเผา
5.ใบเสมา
6.ฐานประติมากรรมหินทราย
7.เครื่องใช้ต่างๆ ส่วนมากได้แต่ของที่ชำรุด 
 

 ภาพเหตุการณ์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

 
    แผนที่เมืองหามหอก

 

 
 
วัตถุโบราณที่ขุดพบ
 
สภาพในปัจจุบัน

 

 
 
ไหโบราณที่ขุดพบ
 
หอกโบราณ
 
 

 ฐานประติมากรรมหินทราย

 
ผู้สำรวจ

ผู้ให้ข้อมูล
นายประสิทธิ์    ชีวะตานนท์   อดีตกำนันตำบลลุ่มลำชี
 ผู้สำรวจ  นายบุญรอด แสงสว่าง   นายกัมพล ทีพารัตน์ และนายฟ้าลิขิต วงษ์จันทึก    
(สำรวจ  เมื่อวันที่  17   เดือนธันวาคม พ.ศ.2547)
 

หมายเลขบันทึก: 84148เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2007 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อาจารย์ชัยภูมิน่าจะมีของอร่อย สถานที่ท่องเที่ยวน่าชมหวังว่าอาจารย์คงยินดีตอนรับ ชาว ศนจ.นพ.น่ะคับ!

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเมืองโบราณเมืองหามหอกค่ะแต่ปัจจุบันทำไมเขตพื้นที่เมืองหามหอกเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในเขตตำบลทุ่งทองได้คะสงสัยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท