Kittiphong_t
นาวาเอก กิตติพงศ์ ทิพย์เสถียร

ตัวแบบ 5 ส ในการสกัดความรู้ไปพัฒนางาน


5 ส. สกัดความรู้

         หลายองค์กรมีการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้มาเป็นเวลานานพอสมควร อย่างไรก็ดีขั้นตอนหนึ่งที่นับว่าท้าทายและเป็นส่วนที่ช่วยให้การจัดการความรู้เกิดความสัมฤทธิ์ผล คือ การสกัดความรู้ที่ฝังอยู่ในคนมาใช้พัฒนางาน ซึ่งในครั้งนี้ ผมขอเสนอตัวแบบ ๕ ส. ในการสกัดความรู้ไปใช้พัฒนางาน

        การดึงหรือสกัดความรู้ที่ฝังอยู่ในคนควรจะเน้นการจูงใจให้เกิดความสมัครใจจะถ่ายทอดความรู้ มากกว่าการบังคับโดยกฎ ระเบียบ  อันจะทำให้ได้ความรู้ที่หลายหลาย และมีคุณค่าต่อการนำไปใช้ในการพัฒนางาน  ทั้งนี้หน่วยงานจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสภาพพื้นฐานของตัวเองและปรับสภาพเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดความรู้เสียก่อน  จึงจะเริ่มมีกิจกรรมการสกัดความรู้ที่ขึ้นกับคุณลักษณะของแต่ละบุคคลว่า จะสามารถเล่าเรื่องได้เอง หรือต้องมีคนคอยถามให้พูด  อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดทุกคนจะสามารถจัดทำบันทึกการเรียนรู้ได้เอง  ความรู้ที่สกัดได้จะต้องถูกกลั่นกรองและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนางาน และสร้างสรรค์นวัตกรรม  จนเกิดแรงบันดาลใจให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 

        และด้วยแนวคิดข้างต้น ทำให้สามารถสังเคราะห์ตัวแบบ ตัวแบบ ๕ ส. ในการดึงเอาความรู้ที่ฝังอยู่ภายในคน (Tacit Knowledge) เพื่อนำออกมาใช้ในการพัฒนางาน ดังนี้

สำรวจหน่วยงาน 

สร้างสรรค์บรรยากาศ 

สกัดความรู้ 

สู่การพัฒนางาน 

สานต่อนวัตกรรม

  แนวทางการสร้างโมเดลจะเริ่มที่การวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ปัญหาก่อน 
ปัญหา แนวทางแก้ปัญหา
. คนไม่รู้ว่าตัวเองรู้ . ทำให้เขารู้ว่าตัวเองรู้
. ถ่ายทอดความรู้ไม่เป็น    ๒.๑  เล่าได้เขียนไม่ได้    ๒.๒  เล่าไม่ได้ เขียนไม่ได้ แต่ทำให้ดูได้ . ส่งเสริมให้สามารถถ่ายทอดความรู้    ๒.๑  ให้เขาเล่าแล้วหาคนบันทึก    ๒.๒ ให้เขาทำให้ดู  แล้วบันทึกด้วย  วีดิทัศน์ หรือกระดาษ  รวมทั้งพยายามถามกระตุ้นให้เกิดการเล่าเรื่อง
. ไม่มั่นใจว่าคนอื่นอยากฟังการถ่ายทอดความรู้หรือไม่ . สร้างแรงจูงใจ เพื่อจัดตั้งกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน (Community of Interest : CoI)
. ไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ในเรื่องที่ตัวเองรู้ .๑ สร้างแรงจูงใจโดยให้คำชมเชย และรางวัล .๒ กำหนดเป็นนโยบายของหน่วยงาน
. ไม่มีเวลาถ่ายทอดความรู้ . ปรับระบบงานให้สามารถจัดสรรเวลามาทำกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ได้ เช่น การลดขั้นตอนการทำงาน และการกระจายอำนาจ
. ไม่มีสถานที่ถ่ายทอดความรู้ . จัดเวที (Platform) รูปแบบต่าง เพื่อเอื้ออำนวยในการถ่ายทอดความรู้ เช่น เว็บไซต์  วารสาร  แผ่นพับ นิทรรรศการ
          จากนั้นมาสังเคราะห์หากิจกรรมในการดึงเอาความรู้ที่ฝังอยู่ภายในคน (Tacit Knowledge) เพื่อนำออกมาใช้ในการพัฒนางาน ได้ดังนี้          
กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ
. สำรวจ แสวงหาความรู้ที่ต้องการ นำมาบันทึก จัดเก็บ และทำให้พร้อมใช้ . มีองค์ความรู้ต่างๆ เพียงพอที่จะสนับสนุนการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ
. สำรวจว่าเป้าหมายในการทำงานของหน่วยงานคืออะไร และต้องการองค์ความรู้อะไรมาสนับสนุนบ้าง . ทราบองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนางาน
. สำรวจว่าใครรู้อะไร ด้วยการสังเกต (จากคุณภาพงาน)  สัมภาษณ์  และสาธยาย(ให้เขาลองบอกเอง) . บุคลากรรู้ว่าตัวเองรู้อะไร  และมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดให้คนอื่นรู้
. จัดหมวดหมู่ความรู้ที่บุคลากรมี โดยใช้ความสอดคล้องกับการพัฒนางาน เป็นเกณฑ์ .ลำดับความสำคัญในการดึงความรู้

. สร้างบรรยากาศการถ่ายทอดความรู้   

๕.๑ สร้างค่านิยมการใฝ่เรียนรู้ในองค์กร   

๕.๒ กำหนดเป็นนโยบายของหน่วยงาน ให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ให้ความร่วมมือด้วย

  ๕.๓ จัดสรรเวลา โอกาส และสถานที่ ให้บุคลากรสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

    ๕.๔ จัดตั้งกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน (Community of Interest : CoI)    

๕.๕สร้างแรงจูงใจโดยให้คำชมเชย และรางวัล

. บุคลากรมีแรงจูงใจที่จะก่อให้เกิดวัฒนธรรมการถ่ายทอดความรู้

. การดึงความรู้แบบง่าย    

 ๖.๑  ท่านเล่าให้เราบันทึก (สำหรับผู้ที่เล่าเรื่องได้)     

๖.๒  ท่านทำ เราถาม ตามด้วยบันทึก (สำหรับผู้ที่เล่าเรื่องไม่เป็น)

. บุคลากรสามารถถ่ายทอดความรู้ ในขั้นต้น  โดยอาศัยการเร้าจากผู้อื่น
. การให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้เอง จาก Tacit Knowledge  ให้เป็น Explicit Knowledge เริ่มตั้งแต่แบบง่ายโดยใช้รูปแบบของแฟ้มสะสมงาน  จนถึงการบันทึกในระบบฐานข้อมูลผ่านเว็บบอร์ด . บุคลากรสามารถถ่ายทอดความรู้ด้วยตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งหน่วยงาน
. ตั้งคณะกรรมการเพื่อกลั่นกรององค์ความรู้ทั้งหมด จัดหมวดหมู่ให้สะดวกต่อการเข้าถึงและนำไปใช้ในการพัฒนางาน . หน่วยมีฐานข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนางาน
. ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร เข้าใช้บริการฐานข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน และร่วมแสดงความคิดเห็น/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ . มีการนำความรู้ที่ดึงออกมาจากตัวคนได้ไปใช้พัฒนางาน และส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดความรู้มากยิ่งขึ้นบุคลากร
๑๐. จัดเวทีประกวดนวัตกรรมในการสร้างชิ้นงานใหม่ มีการชมเชย/ให้รางวัล ๑๐. สามารถดำรงให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เพื่อนำมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

                การนำตัวแบบ ๕ ส.ไปใช้       

๑. ขั้นการสำรวจหน่วยงาน  เป็นการปรับพื้นฐานและเตรียมความพร้อมของหน่วยงานและบุคลากร ก่อนที่จะมีการถ่ายทอดความรู้หรือสกัดความรู้  โดยมีการสำรวจสิ่งต่าง ๆ ดังนี้          

    ๑.๑   สิ่งที่จะต้องรู้ก่อนทำ  คือความรู้พื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสกัดความรู้ เช่น เทคนิคการเล่าเรื่อง  เทคนิคการดึงความรู้จากคนอื่น เป็นต้น

     ๑.๒  สิ่งที่หน่วยงานเราจะต้องรู้เพื่อพัฒนางานได้

      ๑.๓  สิ่งที่บุคลากรของเรามีความรู้อยู่  เป็นการสำรวจแค่ให้รู้ในระดับหัวข้อเรื่อง โดยการสังเกตคุณภาพงานที่เขาทำ  สัมภาษณ์  และให้เขาสาธยายว่าเขารู้อะไรบ้าง

      ๑.๔  สิ่งใดที่เป็นความจำเป็นของหน่วยงานที่จะต้องสกัดความรู้ ก่อน-หลัง  เพื่อสามารถทำแผนในการสกัดความรู้ได้  ในขั้นนี้อาจพิจารณาความยาก-ง่ายในการสกัดความรู้เรื่องนั้น ๆ ประกอบด้วย

 

        ๒. ขั้นการสร้างสรรค์บรรยากาศ  เป็นการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้  เช่น การสร้างค่านิยมการใฝ่เรียนรู้ในองค์กร   การกำหนดเป็นนโยบายของหน่วยงานให้มีการถ่ายทอดความรู้  การจัดสรรเวลา โอกาส และสถานที่ ให้บุคลากรสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  การ จัดตั้งกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน (Community of Interest : CoI) เพื่อเกิดแรงขับในการหาคนมาถ่ายทอดความรู้  และสร้างแรงจูงใจโดยให้คำชมเชย และรางวัล เป็นต้น     

      ๓. ขั้นการสกัดความรู้ เมื่อพื้นฐานและบรรยากาศพร้อม จะสามารถดำเนินการสกัดความรู้ในขั้นต้น จะพิจารณาผู้ที่จะมาถ่ายทอดความรู้ว่าเล่าเรื่องได้เอง หรือต้องการให้มีคนคอยถาม นอกจากนี้ยังจะต้องมีการพัฒนาให้บุคลากรสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองต่อไป

        ๔. ขั้นสู่การพัฒนางาน  เป็นการนำความรู้ที่สกัดได้มากลั่นกรอง และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อสะดวกต่อการเข้าถึง โดยจะต้องส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ในการพัฒนางาน ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ที่นำความรู้ไปใช้ กับผู้ที่เป็นคนถ่ายทอดความรู้เดิม

        ๕. ขั้นการสานต่อนวัตกรรม  เป็นการกระตุ้นให้มีการคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อพัฒนางาน  มีการจัดประกวด และให้รางวัล เพื่อให้การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนแปรสภาพจากแรงจูงใจในการถ่ายทอดความรู้ เป็นแรงบันดาลใจ ให้มีความยั่งยืนถาวรต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #km_sdu
หมายเลขบันทึก: 83984เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2007 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท