การประชุมกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น


ความเข้าใจที่จะทำให้สาระกับความสัมพันธ์มีความสมดุลกันคือการเรียนรู้ให้ตนเองไม่มีปัญหา (จริงจัง)จนเกินไป

เมื่อวาน(12มี.ค.50)มีการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นที่กระทรวงพม.    มีรัฐมนตรีพม.ป็นประธาน
ตอนขึ้นเครื่องที่สนามบินนครศรีธรรมราช ผมเจอกับคุณณรงค์ คงมาก    น้าประยงค์ รณรงค์และน้าแก้ว สังข์ชู ได้พูดคุยกันเรื่องงานพัฒนาชุมชน/จังหวัดที่กำลังดำเนินการกันอยู่ มีประเด็นน่าสนใจหลายเรื่อง แล้วจะทยอยเล่าสู่กันฟังทีหลังนะครับ วันนี้ขอเล่าการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพก่อน

การประชุมเริ่มเวลา13.30น. มีวาระการประชุม 5 เรื่องคือวาระที่1             เรื่อประธานแจ้งที่ประชุมทราบ1.1  ความเป็นมาการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น1.2  การแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนฯวาระที่2             เรื่องเพื่อทราบ2.1ผลการสัมมนาสวัสดิการชุมชนคนไม่ทอดทิ้งกัน2.2การขับเคลื่อนงานสวัสดิการสังคมของกระทรวงพม.ภายใต้กองทุนสวัสดิการสังคม2.3สถานะการณ์สวัสดิการชุมชนท้องถิ่นภาคต่างๆ2.4กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นวาระที่3             เรื่องเพื่อพิจารณา3.1แผนปฏิบัติการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศใน3ปี(2550-2552)3.2การตั้งคณะกรรมการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นระดับต่างๆ3.3การประสานหนุนเสริมเชื่อมโยงสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นกับพัฒนาสังคมและภาคีที่เกี่ยวข้องวาระที่4             กำหนดการประชุมครั้งต่อไปวาระที่5             เรื่องอื่นๆ(ถ้ามี)เนื่องจากทีมคณะรัฐมนตรีต้องไปประชุมเรื่องด่วนสำคัญอีกที่หนึ่งซึ่งมีน้าประยงค์และน้าแก้วร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย(น้าแก้ว สังข์ชูเป็นกรรมการชุดนี้ด้วยแต่น้าประยงค์ไม่ได้เป็น)รัฐมนตรีจึงแจ้งล่วงหน้าว่าจะขอตัวออกไปก่อนในเวลา14.30น. แต่เอาเข้าจริงก็ล่วงเลยเวลาที่แจ้งไว้เล็กน้อยคือเกือบบ่ายสามโมงจึงทยอยเคลื่อนออกจากที่ประชุมทั้งที่ปรึกษา(พี่เอนก นะคะบุตร)และเลขาคือผอ.พอช. ที่ประชุมจึงให้อาจารย์สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ในฐานะรองประธานทำหน้าที่ต่อ โดยมีรมช.พม.คือพี่หมอพลเดช ปิ่นประทีปร่วมประชุมด้วยการประชุมช่วงแรกนอกจากเรื่องแจ้งเพื่อทราบอย่างเร็วแล้วก็เป็นเรื่องเพื่อพิจารณาในหัวข้อที่3.1และ3.2 เนื่องจากมีเวลาจำกัด ประธานจึงขอให้พิจารณาโดยหลักการว่าเห็นชอบหรือไม่ สำหรับรายละเอียดค่อยอภิปรายกันภายหลัง    ในช่วงที่กรรมการอยู่กันครบผมจึงไม่ได้เสนอความคิดเห็นใดๆ เพราะทราบถึงข้อจำกัดในการประชุมอย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาอภิปรายผมก็เสนอความคิดเห็นในประเด็นเรื่องพิจารณาซึ่งทีมเลขาได้ตั้งเรื่องขึ้นเพื่อเสนอที่ประชุม ดังนี้3.1แผนปฏิบัติการสวัสดิการทั่วประเทศ3ปีมีหัวข้อดังนี้1)วัตถุประสงค์2)ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน3)เป้าหมายการดำเนินงานเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ4)แนวทางดำเนินการปี2550และ2551-25525)รูปแบบการพัฒนา-ระดับตำบล-ระดับจังหวัด6)เงื่อนไขความสำเร็จ-งบประมาณ480ล้านบาท-การสมทบจากอปท.-งบประมาณจากชุมชน-การปรับปรุงกฏ ระเบียบข้อบัญญัติ7)ผลที่คาดว่าจะได้รับ3.2การแต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นในระดับต่างๆข้อเสนอโครงสร้างคณะทำงานสวัสดิการชุมชนระดับจังหวัดโดยสรุปจากผังโครงสร้างคือ(ก)คณะทำงานสวัสดิการชุมชนระดับจังหวัดจากตัวแทนชุมชน อปท. ตัวแทนหน่วยงานรัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิ มีชุมชน พมจ./พอช.เป็นกองเลขาร่วม มีบทบาท-กำหนดทิศทางแนวทางการเคลื่อน -เชื่อมโยง/ประสานหน่วยงาน-หนุนเสริมระบบสวัสดิการตำบล(ข)คณะทำงานสวัสดิการชุมชนระดับตำบล (มาจากกลุ่มต่างๆ)มีบทบาท            -ขับเคลื่อนสวัสดิการตำบล            -ประสานความร่วมมือ            -เชื่อมโยงและบูรณาการกองทุนระหว่างทุนชุมชน ทุนท้องถิ่นและทุนส่วนกลาง(ค)ระหว่างคณะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นกับคณะทำงานระดับจังหวัด  จะมีเวทีสภาสวัสดิการชุมชนซึ่งมาจากตัวแทนจังหวัดละ3-5คน ซึ่งผมเข้าใจว่าจะเป็นผู้สรรหาคณะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการฯชุดที่ผมเป็นกรรมการอยู่ในโอกาสต่อไปข้อเสนอสำคัญของกองเลขาในวาระนี้คือให้พอช.ดำเนินการจัดเวทีร่วมกับขบวนสวัสดิการชุมชนแต่ละจังหวัดเพื่อระดมแนวทางการทำงานการขับเคลื่อนและวางแผนการทำงาน นำเสนอกลไกและคณะทำงานร่วมกัน โดยที่จังหวัดใดพร้อมก็จะเสนอให้คณะกรรมการสนับสนุนแต่งตั้งต่อไป3.3การประสานหนุนเสริมเชื่อมโยงสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นกับพัฒนาสังคมและภาคีที่เกี่ยวข้อง  กองเลขามีข้อเสนอ2ข้อคือ1)ให้พมจ.ร่วมเป็นเลขานุการของจังหวัด2)ให้อปท.ร่วมสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการ มีการประกาศออกข้อบัญญัติระบุชัดเจน      ให้การรับรองสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นโดยให้ภาคประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการ
ผมเองได้เสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมโดยอ้างถึงหลักการเหตุผลและวัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการไว้ ขณะที่หลายๆคนสนุกกับการอภิปรายซึ่งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ทั้งนั้นและคงจะคุยกันได้นาน แต่ผมค่อนข้างเครียด จึงไม่พูดพล่ามทำเพลง ดึงเข้าประเด็นโดยพิจารณาเรื่องที่กองเลขาเสนอโดยตรง เพราะรู้สึกว่าตัวเองเดินทางมาไกล ใช้เงินงบประมาณของราชการค่อนข้างสูง จะมาคุยกันโดยไม่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในฐานะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการสักเท่าใดคงไม่ดีแน่ ผมจับหลักการประชุมดังนี้1)ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์หรือภารกิจของงานให้ชัดเจน2)ทำความเข้าใจบทบาทหรืออำนาจหน้าที่ของเรา3)ทำความเข้าใจวาระการประชุมอย่างละเอียด/รวดเร็วโดยการอ่าน (เพราะเพิ่งได้รับเอกสาร)4)ฟังอย่างตั้งใจเพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจจากที่อ่าน 5)ให้ความสนใจ/ตั้งใจเป็นพิเศษกับเรื่องเพื่อพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่ทำให้ต้องเชิญคณะกรรมการมาประชุมร่วมกันซึ่งทำได้ยากและต้องลงทุนสูง 6)จับประเด็นให้ชัดว่ากองเลขาตั้งเรื่องอะไรและเสนอให้พิจารณาอย่างไร?7)ใช้ประสบการณ์ที่มี พิจารณาว่าด้วยอำนาจหน้าที่ที่มี ถ้าจะทำให้เรื่องที่เสนอบรรลุผลโดย   เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์หรือภารกิจของงาน ควรจะให้ข้อเสนอแนะอย่างไร? แล้วให้ข้อคิดเห็นไปตามความรู้ความเข้าใจหรือประสบการณ์ที่มีอยู่

8)รับฟังความคิดเห็นของท่านอื่นๆเพื่อนำมาเป็นข้อมูลป้อนกลับให้ข้อคิดเห็นของตนเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

 

ผมใช้กระบวนการนี้ในการประชุม และรู้สึกว่าตัวเองมักจะรู้สึกตึงเครียดในที่ประชุมบ่อยๆ

 

อาจารย์อุทัย ดุลยเกษมบอกว่าคนไทยเราประชุมไม่เป็นในทุกระดับ

เท่าที่ผมเจอมาผมค่อนข้างเห็นด้วยผมเคยอ่านพบว่า คนที่คิดเร็วจะเป็นปัญหาในการประชุมเพราะตัวเองเข้าใจแล้วแต่คนอื่นๆยังไม่เข้าใจ ทำให้รู้สึกว่าการพูดคุยน่าเบื่ออาจารย์อุทัยบอกว่า ผมเป็นพวกสาระนิยมคือ ทุกเรื่องราวต้องมีสาระ(matter)แต่ต้องเข้าใจว่ามีคนจำนวนมากที่เป็นความสัมพันธ์นิยม(relation)ด้วยความเข้าใจที่จะทำให้สาระกับความสัมพันธ์มีความสมดุลกันคือการเรียนรู้ให้ตนเองไม่มีปัญหา(จริงจัง)จนเกินไป

ตอนเลิกประชุม ผมรู้สึกผิดที่เรียนประธานครูรินทร์ให้ควบคุมประเด็นสักหน่อย จึงเข้าไปกราบขอโทษท่าน แต่ท่านยิ้มแย้มโอบไหล่ผมด้วยความเอ็นดูให้กำลังใจว่า อาจารย์ภีม(ที่จริงผมไม่ได้เป็นอาจารย์)ทำหน้าที่ได้ดีแล้ว ที่เขาเชิญอาจารย์มาร่วมเป็นคณะกรรมการก็เพื่อให้อาจารย์ใช้ความเป็นวิชาการประคับประคองการประชุมให้มีสาระตามวัตถุประสงค์ ทำให้ผมค่อยสบายใจขึ้นบ้าง

นี่แหละพลังของความสัมพันธ์ที่ต้องมีอยู่แม้ว่าจะมีสาระมากเพียงใดก็ตามเราก็อาจจะหกล้มหัวทิ่มได้

ความสัมพันธ์ของครู มิใช่สาระของการเป็นประธานในที่ประชุม

หมายเลขบันทึก: 83788เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาทิ้งรอยก่อนจะมาอ่านอีกรอบค่ะ  (ตาลาย  อิอิ )

ตอนจบของเรื่อง  ...กินใจครับ

       ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะเข้ามาตามอ่านผลการประชุมคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งอ่านแล้วเหมือนได้นั่งอยู่ในบรรยากาศการประชุมด้วย พี่ภีมเล่าได้ละเอียดเห็นภาพเลย และเห็นด้วยกับครูสุรินทร์ค่ะพี่ภีมทำหน้าที่ได้ดีแล้ว ขอเอาใจช่วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท