จริน~Natachoei (หน้าตาเฉย)
นส. จรินทรัตน์ จริน~Natachoei (หน้าตาเฉย) แซ่น่า

จากจุดเริ่มของการเล่าเรื่องนำสู่การจัดการความรู้


ฝึกตนเองให้มีวินัยแห่งการเรียนรู้
จากจุดเริ่มของการเล่าเรื่อง นำสู่การจัดการความรู้             การเล่าเรื่องเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ ที่จะให้ผู้ฟังได้ตั้งใจฟัง จับประเด็นความคิด  แล้วสร้างแบบจำลองความคิดของตนเองขึ้นมา (Mental Models) ทำความชัดเจนต่อสมมุติฐานที่ตนเองวางไว้ และมุ่งมั่นไปหาความรู้เพิ่มเติม มองเห็นว่าสามารถนำความคิดไปประยุกต์ใช้หรือดัดแปลงให้เกิดขึ้นได้จริง ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ และเหมาะสมกับบริบทขององค์กรที่ตนอยู่ หลังจากนั้นจัดความคิด /  แนวความคิด /  แบบจำลองความคิด ให้เป็นระบบ ( Systems thinking ) มีเป้าหมาย เราต้องการทำอะไรให้ชัดเจน ทำไปเพื่ออะไร ทำไปแล้วอะไรจะเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้จริงตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ มากน้อยเพียงไร ด้วยทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน และมีอยู่ในองค์กรแล้วหรือยัง  ต้องการอะไรที่มาสนับสนุนหรือการเชื่อมโยงกับงานใด เพื่อให้มันเกิดขึ้นได้ตจริง  สามารถวัดได้อย่างไรว่า มันเกิดขึ้นแล้ว  มี % ของการบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงไร และเหมาะกับบริบทขององค์กร ตรงกับภารกิจ /  วิสัยทัศน์ขององค์กรหรือไม่   เมื่อได้คำตอบไว้อย่างเป็นระบบ แล้วนำความคิดนั้นไปขาย ( Shared Vision )ให้กับผู้นำ และคนภายในองค์กร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความคิดที่มีอยู่ ให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น  เห็นด้วยในความคิดร่วมกัน  แล้วร่วมกันเป่าประกาศ  สร้างกระแสให้คนภายในองค์กรทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วม ( Team Learning )ให้มากที่สุด   ( มีจิตอาสา ) นำผู้ที่มีจิตอาสามาทำความเข้าใจ ในเป้าหมายและวัตถุประสงค์   และร่วมกันศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม   ร่วมกันหากิจกรรม     ตัวชี้วัดของการกระทำ และผู้รับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ๆ  ระยะเวลาที่จะลงมือทำ   งบประมาณที่ต้องใช้ นำกิจกรรมนั้น ๆ  มาจัดลำดับให้เหมาะสม  โดยมองจาก งาน  คน  และองค์กร เช่น กิจกรรมงานนี้ต้องพัฒนาคนให้มีทักษะในการจะทำงานนั้น ๆ ก่อน  จัดงานให้เหมาะกับคน เมื่อคนมีทักษะแล้ว นำสู่กระบวนงานอย่างมีขั้นมีตอน เป็นต้น นำกิจกรรมที่จัดเรียงแล้วมาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติงาน ด้วยการนำ IT เข้ามาช่วยในการจัดเก็บ และสื่อให้ทุกคนทราบ  แล้วร่วมลงมือปฏิบัติตามแผน  ขณะปฏิบัติมีการนัดหมายพูดคุยกัน เล่าสู่กันฟังเป็นระยะ ๆ  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน และจับประเด็นความคิด  เพื่อนำมาปรับปรุงงานให้ดีขึ้น   เห็นโอกาสแห่งความสำเร็จตามเป้าหมายได้เร็วขึ้น  ด้วยวิธีการดึงความรู้ที่ฝังลึกของแต่ละคนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานและคุณภาพงานให้มากที่สุด   ทุกขณะที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้องมีการจดบันทึกสิ่งที่ทำไปแล้ว  เปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่   ใช้ IT  มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน   มีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระยะ ๆ เพื่อดูแนวโน้มการปรับเปลี่ยนในการทำงานและการขับเคลื่อนงาน  ร่วมกันสร้างพลังขับเคลื่อนซึ่งกันและกัน ( Personal mastery )  ให้บรรลุตามเป้าหมาย     หากมีอุปสรรคเกิดขึ้น สามารถปรับแนวคิดพลิกอุปสรรคให้เกิดเป็นโอกาสได้ทัน โดยจัดแผนสำรองรองรับ  และสามารถทำให้เกิดการยืดหยุ่น  เชื่อมโยง เอื้อให้แก่กันและกันได้     นำผลการวิเคราะห์มาสังเคราะห์  และประมวลให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับองค์กร  มีการพิสูจน์สมมุติฐานที่ตั้งไว้ แล้วว่า    บรรลุตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์และภารกิจ วิสัยทัศน์ขององค์กร                นำองค์ความรู้ใหม่นั้นเผยแพร่ให้คนในองค์กรได้เรียนรู้ร่วมกันอีกครั้ง ด้วยวิธีการเล่าเรื่อง /  การติดบอดร์ /  Netword หรือ Intranet   เพื่อปลุกกระแสให้คนกล้าเข้ามาเรียนรู้  และยอมนำความรู้ที่ตนมีอยู่ ออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น  สามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิดของตนใหม่ มาเป็นบุคคลเรียนรู้    รู้จักวิธีการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ดั่ง  หลักสำคัญ 5 ประการของการเป็นบุคคลเรียนรู้ ( Peter Senqe ) ที่ดิฉันพยายามทำความเข้าใจที่ได้อ่านจากการลงบทความในหนังสือคลีนิกแพทย์ ที่อจ. วิจารณ์ พานิชได้เขียนไว้ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ ปี2546 คือ1.    Mental Models แบจำลองความคิด2.    Systems thinking การคิดเชิงระบบ3.    Building Shared Vision สร้างวิสัยทัศน์ร่วม4.    Team Learning เรียนเป็นทีม

5.    Personal Mastery ความเชี่ยวชาญในการสร้างพลังแห่งตน

สิ่งเหล่านี้ คือการฝึกตนเองให้มีวินัยแห่งการเรียนรู้

นอกจากเผยแพร่ในองค์กรแล้ว นำองค์ความรู้นั้นออกสู่นอกองค์กร เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เกิดเป็นเกลียวความรู้เพิ่มเติม ทำให้ความรู้นั้นไม่สูญหายไปไหน มีการต่อยอดความคิดจากรุ่นสู่รุ่นไปเรื่อย  ๆ ดั่งคำที่เค้าว่า                 การจะจัดการความรู้ได้  ต้องรู้ที่จะจัดการ                มีความคิด แต่ไม่นำลงสู่การปฏิบัติ ก็เหมือนไม่ได้คิด                  รู้จักวิธีการเรียนรู้ สามารถทำให้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต                ศึกษา  /  เรียนรู้ ธรรมชาติของคน งาน และองค์กร เพื่อรู้บริบทของตนเอง                   จะเรียนรู้จากผู้อื่น ต้องมีใจแบ่งปัน เป็นผู้รู้จักให้เสียก่อน                    ยิ่งให้ยิ่งได้รับ    รู้ที่จะปรับให้เหมาะกับตนเอง                 คนเราจะเข้าใจกันมากขึ้น  ต้องตั้งใจฟังกันให้ดี ๆ รู้จักถามอย่างสร้างสรรค์ และเข้าเชื่อมสัมพันธ์อย่างจริงใจ                    คนเรามีปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากการฟัง และการสื่อไม่ตรงกัน   
คำสำคัญ (Tags): #พยาบาลวิชาชีพ
หมายเลขบันทึก: 83666เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ค่ะ "เริ่มต้นฝึกวินัย ร่วมกันใส่ใจเรียนรู้" กันดีกว่านะคะ

ขอขอบคุณ คุณหมอนนท์มากค่ะ

          ที่เขียนตอบมาให้กำลังใจ ช่วงนี้ไม่รู้เป็นไง บ้านเมืองยะลาเงียบเหงา เลยทำให้ตนภายในองค์กร พลอยเงียบเหงาไปด้วย  ไม่รู้จะทำอย่างไรดี  จนท.ทำงานเสร็จก็รีบ ๆ กลับบ้านกัน เพราะเค้าให้ระวังกันแทบทุกวัน จึงไม่ค่อยมีใครสนุกกับการทำงานเท่าไรนัก  เลยทำให้ทุกอย่างดูเงียบ ๆ ไป บอกไม่ถูกเหมือนกัน ไว้มีโอกาสจะเขียนมาใหม่น่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • กำลังรอคุณแอ๊ะ และคณะ มา ลปรร. ใน G2K กันได้แล้วนะคะ
  • จะได้ ลปรร. ข้ามศูนย์ฯ และกองฯ สำนักฯ ด้วยละค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท