นิทาน(คติเตือนใจ)


นิทาน
นิทาน…นกแขกเต้ากับชาวนา

          ทุกๆ คนมีความสุข เมื่อแสวงหาทรัพย์มาได้ หลาย ๆ คน มีความสุขกับการครอบครองหวงแหนทรัพย์นั้นไว้ ในขณะที่อีกหลาย ๆ คนก็มีความสุขกับการใช้จ่ายทรัพย์นั้น แท้จริงแล้ว เราจะแสวงหาความสุขจากทรัพย์สิน ได้ด้วยวิธีการใด ทำอย่างไร? เราจึงจะได้รับความอิ่มกายอิ่มใจ จากทรัพย์ของเราให้ได้มากที่สุด
             มีนกแขกเต้าฝูงหนึ่งประมาณ 500 ตัว อาศัยอยู่ในป่างิ้วบนยอดเขาแห่งหนึ่ง เมื่อถึงเวลาหากิน ฝูงนกแขกเต้าต่างพากันบินไปกินข้าวสาลีในนาของชาวมคธ
             เมื่อกินข้าวสาลีอิ่มแล้ว ต่างก็บินกลับรังด้วยปากเปล่าๆ ทั้งนั้น ส่วนพญานกแขกเต้าที่เป็นหัวหน้า เมื่อกินอิ่มแล้ว ยังต้องคาบข้าวสาลีอีก 3 รวงกลับไปด้วย ชาวนาเห็นก็แปลกใจ จึงพยายามดักจับพญานกแขกเ ต้าให้ได้ ด้วยการสังเกตที่ยืนของพญานกนั้น แล้ววางบ่วงดักไว้วันหนึ่งพญานกถูกจับได้ ชาวนาจึงถามพญานกว่า
    " นกเอ๋ย ท้องของท่านคงจะใหญ่กว่าท้องของนกอื่น เพราะเมื่อท่านกินอิ่มแล้ว ยังต้องคาบรวงข้าว กลับไป อีกวันละ 3 รวง เป็นเพราะท่านมียุ้งฉาง หรือเป็นเพราะเรามีเวรต่อกันมาก่อน? "
พญานกตอบว่า
    "ข้าพเจ้าไม่ได้มียุ้งฉาง และเรา ก็ไม่มีเวรต่อกัน แต่ที่คาบไป 3 รวงนั้น
                 รวงหนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า รวงหนึ่งเอาไปให้เขา และอีกรวงหนึ่งเอาไปฝังไว้ "
ชาวนาได้ฟังก็เกิดความสงสัย จึงถามว่า
    "ท่านเอารวงข้าวไปใช้หนี้ใคร เอาไปให้ใคร ? และเอาไปฝังไว้ที่ไหน?! "

             พญานกแขกเต้าจึงตอบว่า
    " รวงที่หนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า คือเอาไปเลี้ยงดูพ่อแม่ เพราะท่านแก่แล้ว และเป็นผู้มีพระคุณอย่างมาก ทั้งให้กำเนิดและเลี้ยงดูข้าพเจ้า จนเติบใหญ่ นับว่าข้าพเจ้าเป็นหนี้ท่าน จึงสมควรเอาไปใช้หนี้ "

            
    "รวงที่สองเอาไปให้เขา คือ เอาไปให้ลูกน้อยทั้งหลายที่ยังเล็กอยู่ ไม่สามารถหากินเองได้ เมื่อข้าพเจ้าเลี้ยงเขาในตอนนี้ ต่อไปยามข้าพเจ้าแก่เฒ่า เขาก็จะเลี้ยงตอบแทน จั ดเป็นการให้เขา "

            
    " รวงที่สามเอาไปฝังไว้ คือ เอาไปทำบุญด้วยการให้ทานกับนกที่แก่ชรา นกที่พิการหรือเจ็บป่วยไม่สามารถหากินได้ เท่ากับเอาไปฝังไว้ เพราะบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การทำบุญเป็นการฝังขุมทรัพย์ไว้ "
ชาวนาฟังแล้วเกิดความเลื่อมใสว่า นกนี้เป็นนกกตัญญต่อพ่อแม่ เป็นนกมีความเมตตาต่อลูกน้อย และเป็นนกใจบุญ มีปัญญา รอบคอบ มองการณ์ไกล
             พญานกได้อธิบายต่อไปว่า
    "ข้าวสาลีที่ข้าพเจ้ ากินเข้าไปนั้น ก็เปรียบเหมือนเอาทิ้งลงไปในเหว ที่ไม่รู้จักเต็ม เพราะ ข้าพเจ้าต้องมากินทุกวัน วันนี้กินแล้ว พรุ่งนี้ก็ต้องมา กินอีก กินเท่าไหร่ ก็ไม่รู้จักเต็ม จะไม่กินก็ไม่ได้ เพราะถ้าท้องหิวก็เป็นทุกข์ "
ชาวนาฟังแล้วจึงกล่าวว่า
    "พญานกผู้มีปัญญา ทีแรกข้าพเจ้าคิดว่า ท่านเป็นนกที่โลภมาก เพราะนกตัวอื่นเข าหากินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็ไม่คาบอะไรไป ส่วนท่านบินมาหากินแล้วก็ยังคาบรวงข้าวกลับไปอีก แต่พอฟังท่านแล้ว จึงรู้ว่าท่านไม่ได้คาบไปเพราะความโลภแต่คาบไปเพราะความดี คือเอาไปเลี้ยงพ่อแม่ เอาไปเลี ้ยงลูกน้อย และเอาไปทำบุญ ท่านทำดีจริงๆ"

             ชาวนามีจิตเลื่อมใสในคุณธรรมของพญานกมาก จึงแก้เครื่องผูกออกจากเท้าพญานก ปล่อยให้เป็นอิสระ แล้วมอบนาข้าวสาลีให้ พญานกรับนาข้าวสาลีไว้เพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งกะคะเนแล้วว่าเพียงพอแก่บริวาร จากนั้นจึงให้โอวาท แก่ชาวนาว่า
    "ขอให้ท่านเป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นสั่งสมกุศลด้วยการทำทานและเลี้ยงดูพ่อแม่ผู้แก่เฒ่าด้วยเถิด "
ชาวนาได้คติจากข้อปฏิบัติของพญานกจึงตั้งใจทำบุญกุศลตั้ง แต่นั้นมาจนตลอดชีวิต
           นกแขกเต้า ผู้มีปัญญา รู้ว่าควรบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างไร จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตนเ อง ต่อครอบครัว และต่อสังคม นับเป็นการใช้ทรัพย์อย่างชาญฉลาด ที่ยิ่งใช้ก็ยิ่งมีความสุขความเจริญ สุขทั้งกาย สุขทั้งใจ สุขทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
            
  
 เราทุกคนเมื่อรู้จักเก็บ รู้จักหาทรัพย์แล้ว ก็ควรจะรู้จักหาความสุขจากการใช้ทรัพย์อย่างถูกต้องด้วย เพราะการแสวงหา? หรือครอบครองทรัพย์สินที่มี ไม่อาจสร้างความสุขใจ ไม่อาจทำให้เกิดบุญกุศลได้ เทียบเท่ากับการใช้ทรัพย์นั้นให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริงต่อชีวิต

ที่มา www.budpage.com

คำสำคัญ (Tags): #นิทาน
หมายเลขบันทึก: 83575เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • พอทีเถอะนะ  แบบไปลอกเขามาลงนะ 
  • เอางานแท้ ๆของเราเองดีกว่าจ๊ะ
  • ครูจะรออ่านนะ

เห็นด้วย กับนิทานดีๆ แบบนี้ครับ ทั้งสนุก และเป็นคติสอนและเตือนใจอีกด้วย

ย้าย "บล็อก"  ไปสมัครที่ www.learners.in.th  ครับ  จะได้มีเพื่อนมากขึ้น 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท