บริหารชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางรอดของชุมชนในอนาคต

ได้เวลาที่จะต้องนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แล้ว  ก่อนที่จะไม่มีทรัพยากรและสังคมอันอุดมสมบูรณ์ให้บริหาร

อ่ะ อ๊ะ อย่าช้า เริ่มได้วันนี้ที่ตัวเรา

อย้าลืมละ บริโภคทรัพยากรเพียงพอประมาณ  ด้วยเหตุผล และเอาเหลือไว้ให้ลูกหลานบ้างน่ะพ่อน่ะ

สรฤทธ  จันสุข 0892425666

วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หมายเลขบันทึก: 83552เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ปัจจัยส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้นำ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในหมู่บ้าน และจากองค์กรภาครัฐ มีส่วนให้ชุมชนพัฒนาในทางที่ดีขึ้น เป็นประโยชน์ ชุมชนมีเจตคติที่ดียอมรับสิ่งใหม่และสร้างพลังต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 2. สังคม-วัฒนธรรม การได้รับวัฒนธรรมจากสังคมเมืองมาปฏิบัติทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง 3. สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ชุมชนส่งผลให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์ราคาสินค้าเกษตรดี ความเป็นอยู่สะดวกสบายกว่าเดิม 4. ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญในอดีตมีผลต่อการพัฒนา ความสามัคคี รักพวกพ้อง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปรียา พรหมจันทร์ (2542 : 25) ได้สรุปองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1. ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนที่เศรษฐกิจดีการพัฒนาชุมชนสามารถพัฒนาให้ดีได้ด้วย 2. ด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นบริบทที่ปรับเปลี่ยนสภาพชุมชนไปตามปัจจัย 3. ด้านการเมือง หมายรวมถึงการเมืองระดับชาติและระดับชุมชนท้องถิ่น 4. ด้านประวัติศาสตร์ โดยอาศัยประสบการณ์และวิกฤตของชุมชนเป็นฐานและบทเรียนการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ ปรียา พรหมจันทร์ ยังได้จำแนกออกเป็นองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการพัฒนาชุมชน ปัจจัยโดยตรง เช่น คน ทุน ทรัพยากร การจัดการ เป็นต้น และปัจจัยโดยอ้อม เช่น ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง เป็นต้น ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2549) ได้กล่าวถึงการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1. สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี มีโอกาสในอาชีพ และกิจกรรมที่หลากหลาย รวมไปถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ความอบอุ่น ความสุข ความเจริญก้าวหน้าที่พึงคาดหวังในอนาคตด้วย 2. ระบบการศึกษาของชาติ มีเป้าหมายในการผลิตคนเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น ให้เป็นที่พึงปรารถนาของท้องถิ่นเพียงไร 3. รัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐ ที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เป็นที่พึงปรารถนาน่าอยู่ 4. บทบาทของชุมชน มีสิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ ความรักและความดี การเรียนรู้ที่มากกว่าความรู้ และการจัดการกับปัจจัยชุมชนต่างๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท