สรุปความรู้เกี่ยวกับการใช้คำว่า "การรักษาราชการแทน" กับคำว่า "การรักษาการในตำแหน่ง"


สรุปความรู้เกี่ยวกับการใช้คำว่า“การรักษาราชการแทน”

กับคำว่า“การรักษาการในตำแหน่ง”

1.การรักษาราชการแทน ตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ.2546 บัญญัติไว้ว่า

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารักษาราชการแทนถ้ามีรองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหลายคนให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่งตั้งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทนถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่งตั้งข้าราชการในเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้”

(หมายเหตุอำนาจการแต่งตั้งตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบอำนาจการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ที่ 291/2547ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2547 )

ตามความในมาตรา 54แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546บัญญัติไว้ว่า

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองผู้อำนวยการสถานศึกษารักษาราชการแทนถ้ามีรองผู้อำนวยการสถานศึกษาหลายคนให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทนถ้าไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการในสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้”

2.การรักษาการในตำแหน่ง ตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ.2547บัญญัติไว้ว่า

 

ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการถ้าตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งใดว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ราชการได้ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปรักษาการในตำแหน่งนั้นได้”

จากบทบัญญัติในมาตรา 53 และ มาตรา 54แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546และมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 สรุปได้ว่า การรักษาราชการแทนและการรักษาการในตำแหน่ง คือการแต่งตั้งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในอีกตำแหน่งหนึ่งดังนี้

1.กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง หรือตำแหน่งว่าง

2.กรณีผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติราชการได้

ปัญหาว่า เมื่อใดจะใช้คำว่า “รักษาราชการแทน” หรือ “รักษาการในตำแหน่ง” เมื่อกลับไปดูบทบัญญัติมาตรา 68แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547ใช้ถ้อยคำว่า“ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ”ตามนัยดังกล่าวก็คือต้องไปพิจารณาดูก่อนว่าพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546กำหนดไว้ว่าตำแหน่งใดบ้างที่ทางกฎหมายกำหนดให้ “รักษาราชการแทน” ได้ ดังนี้

  1. ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  2. ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี
  3. ตำแหน่งปลัดกระทรวง
  4. ตำแหน่งเลขาธิการ
  5. ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก
  6. ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  7. ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา

ตำแหน่งที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546ไม่ได้กำหนดให้มีการรักษาราชการแทนในตำแหน่งไว้ กรณีนี้ต้องใช้“รักษาการในตำแหน่ง” ตามมาตรา 68แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547เป็นต้น

------------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 83505เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2018 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณคะกำลังข้องใจการใช้คำดังกล่าวอย่พอดีคะ

อ่านแล้วเข้าใจมากๆเลยครับ ขอบคุณคัรบ

ผอ สถานศึกษา ไปราชการชั่วคราว จะ ใช้คำ รักษาการในตำแหน่ง  หรือรักษาราชการในตำแหน่งดีครับ

อ่านไป อ่านมา มีค่าเท่าเดิม
ในกรณีไม่มีผู้อำนวยการโรงเรียนหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจควรลงนามอย่างไรก.รักษาการในตำแหน่งข.รักษาราชการแทนค.ปฏิบัติหน้าที่แทนง.ปฏิบัติราชการแทน

ตอบมา

อ่านไป อ่านมา มีค่าเท่าเดิม
ในกรณีไม่มีผู้อำนวยการโรงเรียนหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจควรลงนามอย่างไรก.รักษาการในตำแหน่งข.รักษาราชการแทนค.ปฏิบัติหน้าที่แทนง.ปฏิบัติราชการแทน

ตอบมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท