ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีลักษณะนโยบายการศึกษาอย่างไร?


ได้มีโอกาสฟังบรรยายจาก ท่านผู้อำนวยการ สมศ. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ในวันที่ 8 มีนาคม 50 ในงานประชุมสัมมนาเรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา(อ่านบันทึกก่อนหน้านี้)

          ซึ่งมีข้อมูลอยู่ 3 ส่วนที่น่าสนใจและน่าคิดสำหรับนักการศึกษา และชาวอุดมศึกษาทุกคนควรทราบ เพื่อเปรียบเทียบกับสภาพการศึกษาของไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

  • คุณลักษณะของนโยบายการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • สภาพปัญหาคุณภาพอุดมไทย
  • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเร่งด่วนสำหรับสถาบันอุดมศึกษา

โดยในบันทึกนี้ผมจะขอเสนอในหัวข้อแรก คือ คุณลักษณะของนโยบายการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นผลสรุปจากงานวิจัยของ Michael E. Porter : The Competitive Advantage of the Nations (Community) สรุปเป็น 7 ข้อที่น่าคิดโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารประเทศ ดังนี้

  1. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสูงอันเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษาทุกระดับการกำหนดมาตรฐานการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐ มีการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนโดย ไม่ลดมาตรฐาน
  2. ประเทศที่พัฒนาแล้วถือว่าวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีคุณค่าสูงยิ่ง สังคมยกย่องคนเก่งคนดี ใฝ่ฝันที่จะก้าวสู่วิชาชีพครู
  3. ผู้เรียนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาและการอบรมโดยได้รับประสบการณ์ภาคปฏิบัติ มีความเชื่อมโยงทฤษฎีและการปฏิบัติ
  4. มีสถาบันอุดมศึกษาหลากหลายรูปแบบ นอกเหนือจากมหาวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยี วิทยาลัยชุมชน ทุกรูปแบบของสถาบันอุดมศึกษา มีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของสังคม
  5. มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับผู้ใช้บัณฑิต
  6. บริษัทต่างๆ ลงทุนในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ โดยผ่านสมาคมวิชาการ/วิชาชีพ โดยถือว่าคุณภาพของทรัพยากรบุคคลเป็นกุญแจทองของความสำเร็จ
  7. มีนโยบายสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีความชำนาญพิเศษ ให้แลกเปลี่ยนระหว่างบริษัทหรือระหว่างรัฐกับเอกชน

ที่มา : เอกสารประกอบคำบรรยายของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (link)

สำหรับผมแล้วมีประเด็นที่โดนใจมากที่สุด คือ ประเด็นที่ 2 เนื่องจากผมในฐานะที่เรียนสายครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ (ครู) คือ

  • อย่างที่ท่านอาจารย์สมหวังว่า เราทำผิดตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อนแล้ว ที่ว่า ผู้ที่จะมาเป็น ครูหรือ แม่พิมพ์ของชาติจบแค่ ปกส.สูง ก็เพียงพอ เพราะในขณะนั้นมีการวิจัยแล้วว่า ผู้ที่จบ ป.ตรี กับผู้ที่จบ ปกส.สูง สอนไม่แตกต่างกัน ทำให้การส่งเสริมผู้ที่จะมาเป็นครูจากภาครัฐไม่มีมากนัก ส่งผลต่อตัวป้อนการศึกษาอุดมศึกษา คือ ผู้เรียนเป็นทอดๆ
  • ตอนผมเรียนมหาลัยสายครู เมื่อประมาณ 10 ปีก่อนถือว่า เป็นสายที่ได้รับความนิยม และยกย่องพอสมควร แต่ในปัจจุบัน หลายสาขาของสายศึกษาศาสตร์ที่ผมเรียน เริ่มจะหายสาบสูญไป ปรับรูปแบบ เช่น ป.บัณฑิต บ้าง ซึ่งน่าน้อยใจที่ผมไม่มีรุ่นน้องแล้ว อาจเป็นเพราะอัตราที่บรรจุครูในปัจจุบันแทบไม่มีเลย
  • ในทางตรงข้ามของการศึกษาไทยเท่าที่ผมรับรู้มา คือ ตั้งแต่ที่ มี วิทยาลัยวิชาการการศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งหลักผลิตครูไทยมาตั้งแต่อดีต ได้ปรับเปลี่ยนฐานะขึ้นเป็น มศว. เพื่อให้มีสาขาที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ลดความสำคัญทางศึกษาศาสตร์ลง และรวมทั้งวิทยาลัยครู ปรับเปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏ จนปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานที่จะผลิตครูโดยตรงแล้ว

จะเห็นได้ว่าภาครัฐเพิ่งมาเริ่มเห็นความสำคัญในข้อนี้ อาจดูได้จากการให้ค่าประจำตำแหน่งวิทยฐานะให้กับครู ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สายเกินไปหรือไม่ ผมไม่ทราบ?

นั้นคือความคิดเห็นส่วนตัวของผม ซึ่งอย่างไรผมเชื่อว่าทุกอย่างมาจากนโยบายทั้งนั้น เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ทำให้เราไม่รู้ตัวนัก

KPN
หมายเลขบันทึก: 83426เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เรียนท่าน Jack เป็นประโยชน์มากครับ ได้ download เอกสารไปศึกษาแล้วครับ
เปิดดูข้อมูลใน link แล้ว เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ ได้เห็นข้อมูลดัชนี้ชี้วัดบางประการในภาพรวม แล้วก็เป็นจริงอย่างที่คุณ Jack ว่า ว่าสังคมไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับวิชาชีพครูเท่าใดนัก เด็กๆ ที่เข้าอุดมศึกษา อย่างไรก็ต้องผ่านมือของคุณครูมาทั้งนั้น ดิฉันเองก็อยากเห็นรัฐบาลและสังคมไทย ให้ความสำคัญกับครูมากขึ้น แต่การเปลี่ยนทัศนคติของคนหรือผู้ปกครองปัจจุบันก็เป็นอะไรที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ในทันที คนทั่วไปยังมองหาเฉพาะวิชาชีพที่คิดว่าทำแล้วร่ำรวย หรือมีกินมีใช้ไม่ลำบาก ดังนั้นการที่จะหาคนที่จิตวิญญาณอยากสอน หรือรักการสอน หรือหาเด็กที่เห็นตัวอย่างครูดีๆ แล้วอยากจะเป็นครูบ้างโดยที่ไม่คิดถึงรายได้ในอนาคตคงยาก รัฐบาลและพวกเราทุกคนคงต้องช่วยกับปรับเปลี่ยนทัศนคติเหล่านี้
  • ขอบคุณท่านอาจารย์จิตเจริญที่เคารพนะครับ
  • และขอบคุณท่านอาจารย์กมลวัลย์ ที่เข้ามาเยี่ยมเป็นครั้งแรกนะครับ ผมก็รอเห็นภาพอย่างที่อาจารย์ว่ามา ว่ารัฐบาลจะมีบทบาทอย่างไรบ้างกับการศึกษา

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าอุดมศึกษาไทยคงได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพมาตรฐานยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างเท่าทันการณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท