KS กับอาจารย์เทคนิคการแพทย์


KS
20-2-50      คุณศิริรัตน์ได้เชิญอาจารย์เทคนิคการแพทย์มาตรวจห้องปฏิบัติการเพื่อให้ผ่านการประเมิน      คุณศิริรัตน์ได้เล่าถึงการที่ต้องเจาะเลือดทดสอบHIV อย่างน้อย2-3ครั้งถ้าผลเป็นบวก     ขณะนี้ยังมีปัญหาบางโรงพยาบาลที่รีบบอกผลเลือดHIVให้ผู้ป่วยในขณะที่ผลยังไม่แน่นอน       เกิดการฟ้องร้องโรงพยาบาลและแพทย์ที่บอกผล   ดิฉันและคุณศิริรัตน์ได้เล่าให้อาจารย์ฟังถึงเมื่อครั้งที่เราตรวจเลือดใหม่ๆ         รพ.ต่างจังหวัดส่งคนไข้มาให้ทำหมันเพราะผลHIV+ หลังคลอด         เราก็รีบทำให้ในขณะที่ผลการเจาะใหม่ยังไม่ได้ผล    เมื่อเราตรวจอีกครั้งผลเป็นลบทำให้คนไข้ขาดโอกาสที่จะมีลูกอีก      คนไข้ที่เล่ามาได้บวชชีและเคยมาเยี่ยมเยียนคุณศิริรัตน์      ดิฉันฟังแล้วไม่ค่อยสบายใจ       หลังจากนั้นเราเริ่มมีมาตรฐานในการที่จะ confirmผลที่ใช้วิธีที่เสียเงินน้อยและผลแน่นอนที่สุด       หมอใหม่ๆอาจจะไม่ทราบอาจจะแจ้งผลเร็วไป       พวกเราคิดว่าควรตั้งมาตรฐานที่ Lab ก่อนรายงานผลเพื่อลดปัญหาผลบวกปลอมค่ะ             ถือโอกาสเล่าเรื่องเก่าเมื่อ20ปีที่ผ่านมาค่ะ
คำสำคัญ (Tags): #ks
หมายเลขบันทึก: 80464เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ราย บวก ตรวจ 3 test ด้วยหลักการที่ต่างกัน จึงตอบแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาได้ว่า สงสัยว่าติดเชื้อ แพทย์ต้องซักต่อว่าเคยตรวจที่อื่นมาก่อันหรือไม่ ถ้าเคยต้องซักถามผลการตรวจ ครั้งก่อน ถ้าสอดคล้องกัน จึงจะสรุปว่า "ติด เชื้อ เอชไอวี " ถ้าเป็นครั้งแรกจะ ยังไม่แจ้งผลกับ ผู้ป่วย จนกว่าจะได้รับการเจาะเลือดอีกครั้ง ในตัวอย่างเลอดที่2 จะตรวจด้วย 1 วิธี (เป็น วิธีใดก็ได้ใน 3วิธีที่เคยตรวจในเลือดครั้งแรกมาแล้ว) การเจาะเลือดครั้งที่ 2 เป็นการยืนยันบุคคล ส่วนครั้งแรก เป็นการตรวจความถูกต้องของผลการตรวจ ว่าไม่มีผลบวกปลอม จากน้ำยาที่ใช้ ถ้าไม่มีการเจาะซ้ำครั้งที่ 2 โดยผู้ให้บริการ ผู้รับบริการก็จะไปตรวจซ้ำเอง ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองน้ำยา เพราะที่ห้อง LABใหม่ที่ไปตรวจก็จะตรวจอีก 3วิธี ดังนั้นขั้นตอนที่จะแจ้งผู้ป่วยว่า "ติด เชื้อ เอชไอวี "ได้ต้องมีผลจากการเจาะเลือด 2 ครั้ง สิ่งนี้จำเป็นมากสำหรับทุกชีวิต เพราะต้องตัดสินใจในการวางแผนทีสำคัญในอนาคต และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องรีบด่วน ต้องทำด้วยความรอบคอบ หากผลไม่สอดคล้องต้องหาสาเหตุ หากเกิดข้อผิดพลาดในระบบ ต้อง หาสาเหตุ และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ การได้คุยกันในระบบการทำงานสำคัญ มากทำให้เราได้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดีขึ้น และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ศิริรัตน์ ลิกานนท์สกุล เทคนิคการแพทย์ สถาบันบำราศ
ขอบคุณรัตน์ที่เพิ่มเติมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท