ความสนใจในการศึกษาการจัดการความรู้เรื่องวัว


       หลายท่านถามว่า เป็นครูอยู่ดี ๆ ทำไมมาเรียนเรื่องวัว เรื่องการเกษตร  ทำไมไม่เรียนเรื่องการศึกษา

      ก็ขอตอบตามความความรู้ความเข้าใจที่ตัวเองมีว่า

      การศึกษามีอยู่ในทุกสาขาอาชีพ  คนเป็นครูควรมีความรู้ในหลาย ๆ อาชีพ จะได้นำมาสอนหรือแนะนำลูกศิษย์ลูกหาได้หลากหลาย

     โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับอาชีพการเกษตรที่อยู่คู่กับสังคมไทยเรามายาวนาน ที่สมควรเรียนรู้ให้เข้าใจเพื่อจะได้สอนลูกศิษย์ให้เข้าใจได้ถูกต้องและถูกทิศทาง ว่าสังคมไทยคือสังคมเกษตรที่จะละเลยหรือมองข้ามไปไม่ได้

     ยิ่งในยุคปัจจุบันที่นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงกำลังมาแรง  พยายามจะแซงทางโค้งอันตรายที่หลายคนกำลังพยายามทำฝันให้เป็นจริง  และให้เศรษฐกิจพอเพียงปักธงชัยลงในชุมชนทุกชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

     แต่เศรษฐกิจพอเพียงในความคิดของหลายท่านก็ยังมองเป็นการประกอบอาชีพทางการเกษตรกร และเป็นการเกษตรกรที่เกี่ยวกับปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ (สัตว์เล็ก เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา เป็ด ไก่)  จนเกือบจะลืมวัว ควายที่น่าสงสารไปเสียเกือบหมดเพราะภาพในอดีตทุกคนจะมองเห็น วัว ควาย เป็นสัตว์พาหนะ มากกว่าเป็นอาหาร  วัวควายที่เลี้ยงในปัจจุบันจึงมีน้อย จนแทบจะเลี้ยงโชว์เป็นพิพิธภัณฑ์

     คุณค่าของวัวที่มีต่อสังคมไทยไม่ใช่แค่เป็นอาหาร เป็นสัตว์พาหนะ เป็นสิ่งบันเทิง แต่วัวคือตัวเชื่อมประสานการเกษตรให้เกิดความพอเพียงแก่เกษตกรได้ด้วยการให้ปุ๋ยตามธรรมชาติแก่พืชพรรณนาๆชนิดโดยไม่ทำร้ายมนุษย์และทำร้ายสิ่งแวดล้อมเหมือนปุ๋ยเคมีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

     คงจำกันได้ว่า หลักจากที่สังคมไทยได้เปิดประเทศเพื่อทำการค้ากับต่างชาติ โดยเฉพาะชาติตะวันตกตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมาและถึงขั้นทำสัญญาผูกมัดอาชีพการเกษตรให้ดิ้นไม่หลุดในสมัยรัชกาลที่ 4  แล้ว  สังคมไทยถูกมัดมือให้ชกกับเศรษฐกิจทุนนิยม ที่มุ่งผลิตสินค้าเกษตรเชิ่งเดี่ยวไปตอบสนองความต้องการของสังคมโลกที่หลากหลายและไม่รู้จักพอ และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ถ่ายเทมาสู่สังคมไทยมากขึ้นจนทำให้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำแต่มีคุณค่ามหาศาลอย่างวัวได้ลดคุณค่าลงไปเหลือไว้แค่เป็นอาหาร

      ที่ร้ายไปกว่านั้นเทคโนโลยีและความเจริญต่าง ๆ  ได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากร ทำร้ายสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่ออาชีพการเกษตร อาชีพเลี้ยงวัวอย่างมากมายมหาศาล  จนทำให้ให้คนที่มีอาชีพเลี้ยงโคลดจำนวนลงไปเรื่อย และคนที่ยังสู้อดทนเลี้ยงทุกวันนี้ก้ยังหวั่นใจ เพราะเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งธรรมชาติก็เอาแน่นอนไม่ได้  ซ้ำร้ายระบบการตลาดยังมาซ้ำเติม ทำให้คนเลี้ยงวัวทั้งหลายยังหาความมั่นคงในอาชีพไม่ได้

      ด้วยวิถีของชีวิตที่คลุกคลีกับการเลี้ยงโคมานาน จึงต้องค้นหาว่าทำไมคนเลี้ยงวัวยังยากจน ทำไมอาชีพนี้ไม่พัฒนาจนถึงขั้นทำให้เษตรกรประสบความสำเร็จสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับของตนเอง

   

หมายเลขบันทึก: 79966เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีจังเลยค่ะ  บางครั้งหลายคนก้มีความมุ่งมันที่จะทำ

อะไรซักอย่างเพื่อสังคม เพื่อผู้อื่น

แต่.....ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่คอยบีบบังคับอยู่

        ถ้ามีคนที่สามารถทำเพื่อส่วนรวมด้วยความจริงใจได้เยอะก้คงจะดีไม่น้อยค่ะ

สู้สู้นะคะ

ทำไมอาชีพนี้ไม่พัฒนาจนถึงขั้นทำให้เษตรกรประสบความสำเร็จสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับของตนเอง

นี่คือประเด็นที่ต้องเขียน ให้เห็น "สมุทัย" ก่อนที่จะไปสู่ "นิโรธ" และ "มรรค"

 แจงรายละเอียดจนถึงประเด็นที่เราจะต้องนำมาจัดการความรู้กัน นั่นแหละครับ

ช่วยขยายความต่อด้วยครับ

ขอบคุณค่ะน้องลัดดา (หมูน้อย)  ที่น่ารัก

           พี่เชื่อว่าความมุ่งมั่น คือพลังที่ช่วยให้เราทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น  อาจจะสำเร็จหรือไม่ก็ได้เพราะแต่ละคนต่างก็มีปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน   แต่ถ้าหากเรามีความุ่งมั่นและทำเต็มกำลังแล้ว  ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรก็ยอมรับได้ จริงมั้ยค่ะ

           ขอบคุณสำหรับกำลังใจอีกครั้งค่ะ

           ขอตอบแทนกำลังให้น้องหมูน้อยน่ารักและสวยวันสวยคืนค่ะ

อาจารย์แสวงที่เคารพ

         ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ช่วยชี้ทาง เพราะจริงแล้วต้องหาคำตอบในเบื้องต้นให้ได้ว่าอาชีพการเลี้ยงวัวที่ผ่านมาประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวเพราะอะไร  คงไม่มองเฉพาะส่วนที่ประสบความสำเร็จค่ะ

        ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท