โคเพื่อชีวิต ตอนที่ 47 ประสิทธิภาพฝูง


ประสิทธิภาพฝูง ก็คือ เมื่อเลี้ยงแล้ว โคให้ลูกให้ผลผลิตได้มากที่สุด ลงทุนน้อยที่สุดและขายแล้วไม่ขาดทุน นั่นคือประสิทธิภาพฝูง

      จากที่ได้ไปร่วมประชุมเรื่องหมู ๆ ที่ไม่หมู ในวันที่ 16  กุมภาพันธ์ 2550  ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมาร่วมกับครูบาสุทธินันท์ ดร.วนิดา   กำเนิดเพชร์  และอ.วิศาล   แล้ว

       ทำให้ได้คำถามร่วมกันว่า

      ปศุสัตว์จะแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้านได้จริงหรือ

      เลี้ยงโคให้รอดได้อย่างไร

      ดร. วนิดา ฟันธงว่า การแก้ปัญหาความยากจนในเรื่องของปศุสัตว์ต้องแก้ที่พันธุกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน

      นั่นคือ  จะใช้พันธุกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

      ซึ่งพันธุกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่นั้นมีอยู่แล้ว เพียงแต่ชาวบ้านไม่เห็นคุณค่า  อาจเพราะได้รับการส่งเสริมอย่างผิด หรือมีมุมมองผิด ๆ  เช่น เรื่องการเลี้ยงวัวงามทั้งหลาย

      พันธุกรรมที่ว่าเหมาะสมก็คือ พันธุกรรมเดิมของไทย เช่น พันธุ์โคพื้นเมือง ที่มีคู่กับสังคมไทยมานาน  ซึ่งพันธุกรรมโคพื้นเมืองนี้ได้พัฒนามาจนเหมาะสมกับลักษณะภูมิสังคมไทยเรียบร้อยแล้ว

       เนื่องจากในช่วงนี้ราคาโคตกลงไปเยอะมาก  ชาวบ้านที่เลี้ยงโคงามและโคลูกผสมต่งก็ขาดทุนไปตามๆ กัน เนื่องจากซื้อมาแพง ค่าเลี้ยงดูสูง ให้ลูกก็ช้า ขายก็ถูก  ซึ่งนี่คือปัญหาของพันธุกรรมอีกเช่นกัน

      โคพื้นเมืองกลับไม่มีปัญหา ถึงแม้จะเป็นฤดูแล้ง อาหารขาดแคลนก็ยังอยู่ได้ ขายคล่อง ถึงแม้จะราคาจะไม่สูงมาก  เพราะสอดคล้องกับต้นทุนและวัฒนธรรมการบริโภคของชุมชน  อีกทั้งโคพื้นเมืองยังให้ลูกตามปกติปีละหนึ่งตัว

      แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเลี้ยงเฉพาะโคพื้นเมืองอย่างเดียว เพราะถ้าเกษตรกรมีความพร้อมในเรื่องทรัพยากร อาหารและสภาพแวดล้อมแล้วก็สามารถที่จะเลี้ยงโคพันธุ์อื่นที่เหมาะสมกับตัวเองได้

      ขึ้นอยู่กับว่าจะเลี้ยงอย่างไรให้รอด

      รอดทั้งโคและคนเลี้ยง

      ดร.วนิดา เน้นว่า  การเลี้ยงโคให้รอดต้องเน้นที่ประสิทธิภาพของฝูง 

      ประสิทธิภาพฝูง ก็คือ เมื่อเลี้ยงแล้ว โคให้ลูกให้ผลผลิตได้มากที่สุด ลงทุนน้อยที่สุดและขายแล้วไม่ขาดทุน  นั่นคือประสิทธิภาพฝูง

     ประสิทธิภาพฝูงที่ว่าจะต้องมาจากการจัดการฟาร์มของเกษตรกรให้เหมาะสมกับบริบทของตัวเองโดยใช้พันธุกรรมเป็นปัจจัยหลัก  บวกกับปัจจัยทางทรัพยากรทั้งในเรื่องสภาพแวดล้อมและอาหารควบคู่กันไป

     โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือ

    

    

    

หมายเลขบันทึก: 79483เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เย้เย้ หมูตัวนี้มาก่อนเลย อิอิ รอดจากตรุษจีนแล้ว เอ๊ย..รอดจากไข้แล้วค่ะ
สรุปแล้วทางรอดของชาวบ้านจะลงที่ตรงไหนเอ่ย  ลงที่วัวหูยาว หรือลงที่วัวพื้นเมือง(พันธุ์ไท ขี้แก่น)   หรือวัวพันธุ์ขี้มากครับอาจารย์พันดา...สงสัยจังเลย

อยากฟังเรื่องชุดความรู้ และการจัดการความรู้ในระดับสถานีทดลอง ที่ผมเชื่อว่ามีมากมาย และการดูงานหนึ่งวันแล้วได้ สามบรรทัดผมว่าน้อยไป ที่จริงอย่างน้อยได้สัก ๕ เรื่องจึงจะถือว่าเท่าทุน

แบบนี้ขาดทุน (ความรู้)แน่นอนครับ

สวัสดีค่ะ  อาจารย์หนิง

        ดีใจด้วยค่ะที่หายไข้  แบบนี้ก็มีโอกาสได้เจอกันเร็วขึ้นใช่มั้ยค่ะ

        ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ  พี่พงษ์

       ยังสรุปไม่ได้ค่ะว่าทางรอดของชาวบ้านจะลงที่ตรงไหนเอ่ย  ลงที่วัวหูยาว หรือลงที่วัวพื้นเมือง(พันธุ์ไท ขี้แก่น)   หรือวัวพันธุ์ขี้มาก

       เพราะต้องดูที่ทุนของผู้เลี้ยงว่ามากน้อยแตกต่างกันอย่างไร ทั้งทุนความรู้ ทุนความรักความเอาใจใส่และการจัดการเลี้ยงดูของแต่ละคนค่ะพี่พงษ์

      เพราะบางท่านเลี้ยงขาดทุนก็ยังถือว่าคุ้ม คุ้มที่มีความสุข สุขที่ได้เลี้ยงเหมือนปู่ดาไง พี่พงษ์

      ขอบคุณค่ะ

อาจารย์แสวง  ที่เคารพ

      ความรู้ในสถานีทดลองมีเยอะมากค่ะอาจารย์  แต่ยังแจงไม่หมดเพราะเป็นเรื่องหมูๆ  ที่ต้องโยงมาหาโคให้เจอ

      จะเอาความรู้มาแจงที่ละเรื่องเป็นวัน ๆ ไปค่ะอาจารย์

       ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท