มองสกว.ย้อนดู นครศรีธรรมราช (7)


นักเรียนปี2ของกศน.และปี3ของเกษตรจะต้องข้ามไปชั้นปีที่5ของพช.คือหมู่บ้านศก.พอเพียง จะก้าวกระโดดเกินไป

ข้อหารือในวงประชุมมีตัวอย่างดังนี้

1.พี่ชาญวิทย์ Best Blogของเราในฐานะที่เคยทำงานพื้นที่มาก่อนเห็นว่า นักเรียนปี2ของกศน.และปี3ของเกษตรจะต้องข้ามไปชั้นปีที่5ของพช.คือหมู่บ้านศก.พอเพียง จะก้าวกระโดดเกินไป

2.ประเด็นตัวชี้วัดจากกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้คือชุมชนอินทรีย์ตามแนวทางศก.พอเพียงมี5องค์ประกอบเดิมของท่านผู้ว่าในเรื่องชุมชนอินทรีย์และตัวชี้วัดศก.พอเพียง6*2ของพช. รวมทั้งกรอบชุมชนอยู่ดีมีสุขของจังหวัดจะหลวมรวมกันอย่างไรเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน ที่ประชุมจึงตั้งทีมทำตัวชี้วัดอย่างมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและชุมชนขึ้นมา โดยมีพี่วีณาจากสสจ.เป็นหัวหน้าทีม

3.รายละเอียดแผนงานของแต่ละทีมมีดังนี้

3.1ทีมปกครองและยมนาได้จัดทำเอกสารเสนอแผนการดำเนินงาน การจัดการความรู้สู่แผนชุมชนที่มีคุณภาพรุ่นที่3ประจำปีงบประมาณ2550จำนวน551หมู่บ้านมีทั้งหมด7หัวข้อคือกิจกรรม ระยะเวลา ตัวชี้วัด เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ สถานะและงบประมาณ

กิจกรรมแรกคือการบ่งชึ้ความรู้ 2.การสร้างและแสวงหาความรู้(รวบรวมความรู้และจัดทำเอกสาร คู่มือ อบรมวิทยากรครู ก เวทีค้นหาคุณกิจแกนนำหมู่บ้านๆละ8คน ตลาดนัดความรู้ด้านแผน ชุมชนเสริมคุณกิจ สำรวจข้อมูลครัวเรือน)3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ(ทำฐานข้อมูล-ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน ทำเนียบองค์กร ทุนทรัพยากร ทุนวัฒนธรรมภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์เอกลักษณ์ของชุมชน)4.ประมวลและกลั่นกรองความรู้(ครูกกับคุณกิจแกนนำ วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล)5.การเข้าถึงความรู้(ปชส.โดยใช้สื่อต่างๆ)6.แบ่งปันลปรร.(เวทีประชาคมหมู่บ้าน)7.การเรียนรู้(กิจกรรมชุมชนแนวปฏิบัติ คัดเลือกหมู่บ้านทำแผนชุมชนที่มีคุณภาพเพื่อสร้างชุมชน เข้มแข็งตัวอย่างจำนวน23หมู่บ้าน)

3.2ทีมกศน.จัดการความรู้ 600หมู่บ้าน

1)เวทีคุณเอื้อทุกเดือน

2)เวทีคุณอำนวยทุกเดือน เดือนก.พ. จัด2รุ่นอำเภอละ3คน 23อำเภอ (กศน. พช.และเกษตร) อบรมเรื่องเล่าและการสกัดขุมความรู้โดยทีมวิทยากรจากม.วลัยลักษณ์

3)เวทีคุณลิขิตทุกเดือน เดือนก.พ. อบรมการทำmindmapping (เดือนที่แล้วอบรมทำBlog)

4)แผนนิเทศงานของจังหวัดลงทุกอำเภอ เดือนละ4-5ครั้ง(เช้ารายงานผลจัดกิจกรรมวงเรียนรู้และช่วงบ่ายศึกษาดูงาน)

3.3ทีมเกษตรรับช่วงจากรุ่นที่1จำนวน400หมู่ลบ้าน165ตำบล

1)เตรียมการ

-แต่งตั้งคณะทำงานจังหวัดและอำเภอ

-เตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานในพื้นที่165ตำบล)

2)ดำเนินโครงการ

-สัมมนาเชิงปฏิบัติการวิทยากรกระบวนการในการถ่ายทอดเทคโนโลยี(ความรู้)100คน

-ถ่ายทอดความรู้กับกลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชนผ่านศูนย์ถ่ายทอดฯ3,200คน

-ประมวลกลั่นกรองความรู้165ตำบล

-จัดทำเอกสารชุดองค์ความรู้

3.4ทีมพช.เชื่อมโยง400+600หมู่บ้าน

เครื่องมือ/วิธีการ

-แกนนำหมู่บ้านละ8คนเป็นผู้ขับเคลื่อน

-คัดเลือกหมุ่บ้านศก.พอเพียงตัวอย่างอำเภอละ3-5หมู่บ้านและครอบครัวที่ดำรงชีวิตศก.พอเพียงตัวอย่างหมู่บ้านละ3-5ครัวเรือน

ตัวชี้วัด6*2

-ลดรายจ่าย(ครัวเรือทำสวนครัว ปลอดอบายมุข)

-เพิ่มรายได้(มีอาชีพเสริม ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม)

-ประหยัด(มีการออม ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์)

-เรียนรู้(ชุมชนมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาศก.พอเพียงในชีวิตประจำวัน)

-อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน(ชุมชนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพ ชุมชนปลูกต้นไม้ร่มรื่น

-เอื้ออารีย์ต่อกัน(ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาสและคนประสบปัญหา ชุมชนรู้รักสามัคคี)

เมื่อพิจารณารายละเอียดการดำเนินโครงการKMนครศรีธรรมราช(ยังไม่นับรวมโครงการจากงบฟังชั่น)  ก็พอจะมองเห็นแนวคิดและกิจกรรมดำเนินงานว่าจะไปถึงเป้าหมายคือชุมชนอินทรีย์หรือไม่อย่างไร?

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 77962เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่าน อ.ภีม

  • ที่ผมพูดถึงใน "วงคุณเอื้อ" วันที่ 9 ก.พ.50 นั้น
    ความหมายของผมไม่ได้หมายความว่าก้าวกระโดดกิจกรรม และไม่เป็นไปได้นะครับ
  • เนื่องจากได้ฟังว่า เอา 400+600 เป็น 1,000 แล้วหน่วยงานภาคีมารับผิดชอบ หน่วยละ 250กังวลว่า  ในพื้นที่ อำเภอ/ตำบลจะสับสนในการปฏิบัติครับ เพราะฐาน 400 และ 600 ไม่เท่ากันของความเป็นมา แต่จะนำไปสู่เป้าหมายพร้อมกัน   400ไม่น่าจะติดขัด  แต่ในส่วน 600 ถ้าตั้งเป้าคงต้องทำความเข้าใจผู้ปฏิบัติส่วนพื้นที่อย่างดี กลัวเขาสับสน ซึ่งกระบวนการก็ยังไม่ลื่นอยู่ด้วย  แต่ถ้าแบ่งชัดเจนก็คงไม่เป็นไรมั้งครับ

 

ขอบคุณพี่มากครับที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท