ชีวิตที่พอเพียง : 217. หัดคิดเชิงระบบ


        เอกสารอีเล็กทรอนิกส์ ชิ้นนี้ http://www.euro.who.int/Document/E89731.pdf ช่วยกระตุ้นให้ผมหันมามองตัวเอง ว่าผมชอบฝึกคิดเชิงระบบ (systems thinking) มาได้อย่างไร      เอกสารชิ้นข้างบนนั้น เป็นผลงานวิจัยระบบสาธารณสุขของประเทศออสเตรเลีย      เป็นการทำความเข้าใจระบบที่ซับซ้อนมาก      ผมชอบเรียนรู้จากสิ่งที่ซับซ้อน     จึงชอบฝึกคิด ฝึกมองสิ่งต่างๆ เชิงระบบ      ผมว่ามันช่วยให้เรามองกว้าง และเชื่อมโยง      แต่ผมก็คงจะมีความสามารถด้านนี้อย่างมากก็แค่นักเรียนชั้นประถมปลายเท่านั้นเอง      ยังห่างไกลจากความเป็นผู้เชี่ยวชาญเชิงระบบ   

          ครูคนแรกที่ช่วยยกระดับการคิดเชิงระบบของผมคือ ศ. นพ. ประเวศ วะสี   คนต่อมาคือ Edward de Bono ซึ่งเป็นครูผ่านหนังสือ ไม่เคยพบตัว     คนที่แนะนำให้ผมอ่านหนังสือที่เขียนโดย Edward de Bono คือ นพ. ปรีดา มาลาสิทธิ์    ครูใหญ่คนต่อมาคือ ศ. ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต   และหนังสือเล่มต่อมาที่ช่วยผมมากคือ The Fifht Discipline   และ Birth of the Chaordic Age 

         ที่จริงเขียนอย่างนี้อาจจะผิด     การหัดคิดเชิงระบบ หรือกระบวนระบบของผมคงจะค่อยๆ ก่อตัวโดยผมไม่รู้ตัว      แต่มาเอาใจใส่จริงจังและอย่างตั้งใจ ก็เมื่อได้พบคนเก่ง เห็นความสามารถ     จึงเกิดแรงบันดาลใจให้ฝึกฝนตนเองให้เป็นอย่างท่านบ้าง     แม้จะรู้ตัวว่าคงจะทำได้ไม่ถึงครึ่งหรือหนึ่งในสิบ     ก็มีความเพียรพยายายามไม่หยุดยั้ง ไม่ท้อถอย

          แรงบันดาลใจช่วยให้เราซึมซับการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ  และไม่รู้ตัว      ผมมีความเห็นว่า นี่แหละ การเรียนรู้ที่แท้จริง

วิจารณ์ พานิช
๘ ก.พ. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 77877เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดาวโหลดมาแล้วคะ

แต่กว่าหนูจะอ่านจบ และเข้าใจอย่างท่องแท้ คงอีกยาวนานมากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท