มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หลักสูตรการจัดการทรัพยากรฐานชุมชน ในระดับปริญญาโท ได้มาพักแรมที่มหาชีวาลัยอีสาน เพื่อขอคำชี้แนะในการจัดทำหลักสูตร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวิธีคิด และกระบวนการทำงานของมหาชีวาลัยอีสาน
ครูบากล่าวต้อนรับและเกริ่นนำในนามของมหาชีวาลัย พอสรุปได้ว่า โจทย์ชีวิตเปลี่ยน ระบบทางสังคมเปลี่ยน จารีตประเพณีวัฒนธรรมก็เปลี่ยน และกระแสสังคมเป็นตัวที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เราเคยได้ยินเรื่องการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสอยู่บ่อย ๆ และนำมาใช้ได้ผลด้วยกันทั้งนั้น เช่น ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก เขาก็ได้โอกาสในการนับหนึ่งใหม่ จัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาสังคมในรูปแบบใหม่ได้ทันที ประเทศเขาจึงพัฒนาได้เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ติด ๆ ขัด ๆ เรื่องนั้นเรื่องนี้ ความเจริญรุ่งเรืองจึงส่งผลให้กับการพัฒนาทันทีเช่นเดียวกัน นับเป็นการใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างดีเลิศของประเทศญี่ปุ่น
ไทยก็มีโอกาสในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้หลายครั้งเช่นกัน และล่าสุด คือช่วงฟองสบู่แตก ล้มละลายทั่วประเทศ และมีโอกาสมีรัฐบาลเสียงเดียว แต่กลับไม่ได้ทำสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติตรงนั้นให้เป็นโอกาส และไม่ได้แก้ปัญหาอะไร มีแต่ซ้ำเติมและโหมกระหน่ำปัญหาเข้ามาเพิ่มขึ้น
ถ้าพูดถึงมิติทางสังคมยังเอาแน่ไม่ได้ ในขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีคำตอบให้ตนเอง เรามหาชีวาลัยก็มองปัญหาตรงนี้เช่นเดียวกันว่าเราจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้ประเทศไทยเราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ แต่เราก็คงไปทำทั้งประเทศไม่ได้ จึงมองในส่วนที่เป็นบริบทของชุมชน และพื้นที่ของตนเอง ว่าจะพัฒนาอย่างไร ให้คนในชุมชนมีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่เต้นตามกระแสบริโภคนิยมที่เป็นอยู่ มหาชีวาลัยอีสานจึงมองการทำงานที่เป็นเชิงรุกได้อย่างดี และประสบผลสำเร็จได้มากที่สุด นั่นคือ การทำงานแบบอิงระบบ
ยุทธศาสตร์การทำงานแบบอิงระบบทำให้การทำงานในมหาชีวาลัยทำงานได้ดีและคล่องตัวกว่า ด้วยหลักการสร้างพันธมิตรทางวิชาการ ร่วมกับการทำงานวิจัยในชุมชน ด้วยตัวตนของพันธมิตรเป็นข้าราชการ แต่รูปแบบการทำงานเป็นเอกชน (แบบส่วนตัว) การลงทำงานในพื้นที่ร่วมกับชุมชนเป็นการมาแบบส่วนตัว เพราะมาในระบบราชการไม่ได้ ลดขั้นตอนการประสานงานลงไปได้มาก และไม่เสียเวลาในการรออนุมัติให้นำความรู้ลงมาสู่ภาคปฏิบัติของชุมชน และมีกลไกสำคัญที่เป็นตัวเชื่อมโยงความรู้นั่นคือ IT เพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านระบบ IT ที่ถือว่าเป็นสนามเพาะปลูกความรู้ที่ดีอีกรูปแบบหนึ่ง
การเปิดสอนหลักสูตรบูรณาการศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นอีกมิติหนึ่งที่จะนำความรู้มาพัฒนาชนบท และพัฒนาแบบบูรณาการ ซึ่งโจทย์เหล่านี้นักศึกษาต้องนำไปเป็นโจทย์วิจัยว่าจะพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการได้อย่างไร
ในขณะนี้สิ่งที่มหาชีวาลัยทำคือสร้างตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีแต่คนพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแต่หาคนปฏิบัติไม่ได้ ใครทำคนนั้นก็ออกแบบเองต้องตอบคำถามของตนเองให้ได้ แต่สิ่งเหล่านี้จำเป็นที่คนออกแบบการทำงานต้องใช้ความรู้ ทุกวันนี้ชุมชนล่มสลายเพราะไม่มีชุดความรู้ที่เหมาะสมกับชุมชนและชาวบ้านที่พึ่งตนเองไม่ได้
มหาชีวาลัยกำลังค้นหาชุดความรู้ที่เหมาะกับชุมชนโดยใช้ KM ในการทำและสร้างชุดความรู้ ด้วยการนำเอาวิชาการไปใส่ในอาชีพ จะได้สร้างมืออาชีพ แต่คำตอบของชุดความรู้ต้องมาจากงานวิจัย
ครูบากล่าวต้อนรับและเกริ่นนำในนามของมหาชีวาลัย พอสรุปได้ว่า โจทย์ชีวิตเปลี่ยน ระบบทางสังคมเปลี่ยน จารีตประเพณีวัฒนธรรมก็เปลี่ยน และกระแสสังคมเป็นตัวที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เราเคยได้ยินเรื่องการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสอยู่บ่อย ๆ และนำมาใช้ได้ผลด้วยกันทั้งนั้น เช่น ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก เขาก็ได้โอกาสในการนับหนึ่งใหม่ จัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาสังคมในรูปแบบใหม่ได้ทันที ประเทศเขาจึงพัฒนาได้เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ติด ๆ ขัด ๆ เรื่องนั้นเรื่องนี้ ความเจริญรุ่งเรืองจึงส่งผลให้กับการพัฒนาทันทีเช่นเดียวกัน นับเป็นการใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างดีเลิศของประเทศญี่ปุ่น
ไทยก็มีโอกาสในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้หลายครั้งเช่นกัน และล่าสุด คือช่วงฟองสบู่แตก ล้มละลายทั่วประเทศ และมีโอกาสมีรัฐบาลเสียงเดียว แต่กลับไม่ได้ทำสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติตรงนั้นให้เป็นโอกาส และไม่ได้แก้ปัญหาอะไร มีแต่ซ้ำเติมและโหมกระหน่ำปัญหาเข้ามาเพิ่มขึ้น
ถ้าพูดถึงมิติทางสังคมยังเอาแน่ไม่ได้ ในขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีคำตอบให้ตนเอง เรามหาชีวาลัยก็มองปัญหาตรงนี้เช่นเดียวกันว่าเราจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้ประเทศไทยเราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ แต่เราก็คงไปทำทั้งประเทศไม่ได้ จึงมองในส่วนที่เป็นบริบทของชุมชน และพื้นที่ของตนเอง ว่าจะพัฒนาอย่างไร ให้คนในชุมชนมีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่เต้นตามกระแสบริโภคนิยมที่เป็นอยู่ มหาชีวาลัยอีสานจึงมองการทำงานที่เป็นเชิงรุกได้อย่างดี และประสบผลสำเร็จได้มากที่สุด นั่นคือ การทำงานแบบอิงระบบ
ยุทธศาสตร์การทำงานแบบอิงระบบทำให้การทำงานในมหาชีวาลัยทำงานได้ดีและคล่องตัวกว่า ด้วยหลักการสร้างพันธมิตรทางวิชาการ ร่วมกับการทำงานวิจัยในชุมชน ด้วยตัวตนของพันธมิตรเป็นข้าราชการ แต่รูปแบบการทำงานเป็นเอกชน (แบบส่วนตัว) การลงทำงานในพื้นที่ร่วมกับชุมชนเป็นการมาแบบส่วนตัว เพราะมาในระบบราชการไม่ได้ ลดขั้นตอนการประสานงานลงไปได้มาก และไม่เสียเวลาในการรออนุมัติให้นำความรู้ลงมาสู่ภาคปฏิบัติของชุมชน และมีกลไกสำคัญที่เป็นตัวเชื่อมโยงความรู้นั่นคือ IT เพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านระบบ IT ที่ถือว่าเป็นสนามเพาะปลูกความรู้ที่ดีอีกรูปแบบหนึ่ง
การเปิดสอนหลักสูตรบูรณาการศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นอีกมิติหนึ่งที่จะนำความรู้มาพัฒนาชนบท และพัฒนาแบบบูรณาการ ซึ่งโจทย์เหล่านี้นักศึกษาต้องนำไปเป็นโจทย์วิจัยว่าจะพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการได้อย่างไร
ในขณะนี้สิ่งที่มหาชีวาลัยทำคือสร้างตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีแต่คนพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแต่หาคนปฏิบัติไม่ได้ ใครทำคนนั้นก็ออกแบบเองต้องตอบคำถามของตนเองให้ได้ แต่สิ่งเหล่านี้จำเป็นที่คนออกแบบการทำงานต้องใช้ความรู้ ทุกวันนี้ชุมชนล่มสลายเพราะไม่มีชุดความรู้ที่เหมาะสมกับชุมชนและชาวบ้านที่พึ่งตนเองไม่ได้
มหาชีวาลัยกำลังค้นหาชุดความรู้ที่เหมาะกับชุมชนโดยใช้ KM ในการทำและสร้างชุดความรู้ ด้วยการนำเอาวิชาการไปใส่ในอาชีพ จะได้สร้างมืออาชีพ แต่คำตอบของชุดความรู้ต้องมาจากงานวิจัย
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย samniang ใน การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน
คำสำคัญ (Tags)#การจัดการความรู้#การพึ่งตนเอง#พัฒนบูรณาการศาสตร์#มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี#มหาชีวาลัยอีสาน
หมายเลขบันทึก: 77718, เขียน: 11 Feb 2007 @ 00:23 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 17:21 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 1, อ่าน: คลิก