ประเทศไทยต้องนำเทคโนโลยี wimax มาใช้


Wimax ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของสังคมไทย การศึกษา สาธารณสุข และอื่นๆอีกมากมาย
ความเป็นมาของ WiMAX (Worldwide Interoperability for Microwave Access) นั้นเกิดจากการรวมตัวกันในปี 2544 ของบริษัทชั้นนำอย่าง Nokia, Agilent, Intracom, Huges Network, Fujitsu Microelectronics, Alvairon และอีกหลายบริษัท โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดมาตรฐานสากล และทำงานร่วมกันได้ ซึ่งหมายถึงผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์เครื่องรับไร้สายความเร็วสูงตามมาตรฐาน WiMAX ของยี่ห้อใดๆก็ได้ แล้วสามารถนำมาใช้ร่วมกับอุปกรณ์เครื่องส่งของบริษัทอื่นๆได้ โดยเน้นไปที่การใช้งานในระดับที่กว้างขึ้นกว่าเทคโนโลยีไวไฟฮอตสปอต ซึ่งจะทำงานในย่านคลื่นระหว่าง 2.5 ถึง 66 กิกะเฮร์ซ สามารถให้บริการบรอดแบนด์ในราคาที่คุ้มค่าสำหรับบ้านเรือน ในรัศมีห่างออกไป 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) และสามารถส่งข้อมูลได้ราว 70 เมกะบิตต่อวินาที WiMAX ได้รับการอนุมัติให้เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE)) และมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า IEEE 802.16 มีการแตกเวอร์ชั่นย่อยออกมามากมาย ซึ่งการแบ่งมาตรฐานแบบนี้ ทำให้เชื่อได้ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ IEEE 802.16 จะประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น ๆ WiMAX กำลังจะเป็นเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอนาคตเนื่องจากได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากบริษัทชั้นนำของโลกและกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเช่น Intel ที่ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะให้การสนับสนุนการใช้งาน WiMAx อย่างเต็มที่ โดยอินเทลได้เริ่มผลิตซิลิคอนเพื่อใช้ในเทคโนโลยี WiMAX ขณะเดียวกันอินเทลก็มีแผนที่จะบรรจุเทคโนโลยี WiMAX เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของชิปเซ็ตในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสำหรับปี 2006 ด้วย หมายความว่าในปี 2006 มากกว่า 80% ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลกจะซัพพอร์ต WiMAX โดยปัจจุบันผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศอังกฤษ สเปน เม็กซิโก บราซิล ฮ่องกง และอินเดียเริ่มทดลองใช้ WiMAX แล้ว การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีนี้ทำเป็นผลดีที่ทำให้ประเทศไทยนั้นสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ส่งผลดีในด้านต่างเช่น เศรษฐกิจ สังคม  มีความเท่าเทียมกันของการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทุกพื้นที่อย่างไร้ขอบเขต แต่การใช้งานของเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้มีโอกาสในการลักลอบข้อมูลของผู้อื่นได้              องค์ประกอบที่ทำให้เกิดประเด็นทางด้านกฎหมายจากเทคโนโลยีนี้ เช่นการลักลอบข้อมูล การจารกรรมข้อมูล การเข้าถึงของผู้ใช้งานได้ง่ายขึ้น  กฎหมายที่ได้ควบคุมมีส่วนหนึ่งมีการใช้งานและมีส่วนหนึ่งที่มีการใช้งานแต่เทคโนโลยีนี้สามารถให้บริการที่หลากหลาย เช่น iptv และอื่นๆอีกมาก จะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน             สำหรับการเกิดเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ในประเทศไทยจะส่งผลดีมากเนื่องจากประเทศไทยการใช้งานอินเตอร์เน็ตยังไม่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กทช  และผู้ให้บริการเทคโนโลยีนี้ เร่งเปิดการใช้งานโดยเร็วเพื่อประโยนช์ของประเทศและประชาชนโดยตรง ทั้งในด้านการศึกษา  สาธารณสุข และอื่นๆอีกมาก
หมายเลขบันทึก: 77233เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

   คนคุมกฎก็มึน ทิศทางก็ไม่ชัดเจน คนมือใหญ่หมัดใหญ่ ก็เฝ้ารอฮุกผู้อื่นไม่ได้ให้เกิดอยู่ร่ำไป สนามมวยนี้หาความยุติธรรมได้หรือ หากมองว่าเทคโนโลยีเสมือนดาบสองคม ท่านกรรมการการ อยากให้ดาบนี้อยู่ในมือใคร ช่วยตอบที

 กทช. ANS............... ?

เอ แล้วกฎหมายที่จะสามารถเข้ามาควบคุมเทคโนโลยีนี้ในปัจจุบันเป็นกฎหมายใดบ้างคะ

ตาลาย เว้นวรรคบ้างก็ดีนะคะ

ขอขอบคุณทุกท่านรวบท่านอาจารย์จะเข้าไปเพิ่มเติมรายละเอียดในเนื้อหา

 

น่าจะมีอะไรที่ชัดเจนกว่านี้นะ

ตอนนี้ กฏ หมู่ไปก่อน 5555

กทช. หลงตัวเองหรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท