มาถึงวันนี้ก็โดนคำถามที่จะทำแต่ไม่ได้ทำสักที เป็นคำถามที่ถามเอง เพื่อตอบเองครับ ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน 1 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มวางกรอบคิดเป็น”วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่ต่าง ๆ มีอะไรเกิดขึ้นบ้างและเดินถึงไหนแล้ว
ที่อำเภอตะโหมดใช้ชุมชนเกาะเรียนเป็นฐาน เริ่มเดินจากลุ่มเยาวชนที่ได้เคยร่วมกันทำโครงการแก้ไขปัญหาเอดส์เอง ขยายเป็นกลุ่ม อสม. ผู้นำชุมชน เทศบาลตะโหมด และแกนนำทางสังคมอื่น ๆ วันนี้ได้นำเอาโครงการอบรมนวดแผนไทยเพื่อฟื้นฟูคนพิการฯ ไปดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนความพร้อมของชุมชน ในขณะที่ระดับอำเภอไปเชื่อมต่อกับโรงพยาบาล และเครือข่ายของโรงพยาบาลโดนใช้โครงการ “เอื้ออาทรคนพิการเข้าถึงสิทธิ” เป็น “น้ำประสานทอง” ที่นี่ก่อนการเปลี่ยนแปลงสาธารณสุขอำเภอก็มีทีท่าการประสานงานที่ดี แต่ขณะนี้คงต้องปรับกระบวนท่าใหม่ในหลาย ๆ ประการ
และการยึดโยงกับกลุ่มงานเวชปฏิบัติของโรงพยาบาลตะโหมด สอ.เกาะเรียน เทศบาลตะโหมด เทศบาลแม่ขรี กลุ่มเครือข่ายเยาวชน เครือข่าย อสม.และผู้นำชุมชนเกาะเรียน และเครือข่ายหมอนวดแผนไทยตะโหมด ดูจะเป็นขุมพลังที่แข็งแรงได้
ที่นี่มีการพูดถึงเพื่อบูรณาการแผนพัฒนาสุขภาพชุมชน ยังไม่ค่อยได้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจนนัก แต่หลาย ๆ ฝ่ายเริ่มเห็นภาพความจำเป็นที่ต้องมีขึ้นแล้ว ในขณะที่โครงสร้างองค์กรของทีมไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนระดับอำเภอ ก็ยังไม่ได้มีการพูดถึง ไม่ได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นเลย ทั้งนี้ในภาพรวมระดับอำเภอ (ส่วนสาธารณสุข) ยังต้องมีการจัดการเรื่องกำลังคน (ที่เป็นกลุ่ม ๆ) ให้มีประสิทธิภาพ และทำงานเพื่อประชาชนจริง ๆ ยังเป็นเรื่องใหญ่อยู่ เน้นว่าเป็นการมองแบบ Etic ครับ
กล่าวโดยสรุป พื้นที่อำเภอตะโหมด ยังอยู่ระยะที่ 1 คือ ระยะการใช้แนวคิดในการจัดการชุมนุม (Community Organization) ตามที่บันทึกไว้ที่ 3 ขั้นตอนของไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน
หมายเหตุ:
ที่นี่ใช้การเริ่มต้นเดินเรื่องจากชุมชนก่อนแผ่มายัง ตำบล
และอำเภอ
ไม่มีความเห็น