เวลาเราคุยกันเรื่องบูรณาการ มักจะมีคนพยายามอธิบายว่าเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลายประการ จนกระทั่งบางคนพยายามใช้คำผวนมาอธิบายว่า “บานละนะกู” ที่สื่อว่าเป็นเรื่องที่ลำบากมากและอาจทำไม่ได้
แต่ถ้ามามองในสภาพความเป็นจริงนั้น ทุกคนมีชีวิตส่วนใหญ่แบบบูรณาการอยู่แล้ว แต่อาจมีเพียงบางมุมที่ไม่บูรณาการ
เพราะไม่มีใครที่มีระบบร่างกายแยกส่วน อยู่คนละที่ หรือเส้นเลือดแยกออกจากกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่เรื่องรถ ก็ไม่มีใครสามารถขับรถที่มีส่วนประกอบไม่ครบ หรือใช้รถที่แต่ละส่วนทำงานไม่สอดคล้องกัน
การทำงานและการดำรงชีวิตที่บูรณาการจึงเป็นเรื่องที่ปกติของทุกคน และแต่ละคนก็ต้องการชีวิตที่บูรณาการ แต่ทำไมจึงมองเป็นเรื่องยากไปได้
เท่าที่มานั่งพิจารณา ก็พบว่า เราเคยชินกับการคิดแยกส่วน จึงทำให้เวลานำสิ่งที่แยกกันในระบบคิดมารวมกันจึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นเพื่อให้ง่ายกว่าเดิม เราจึงต้องปรับวิธีคิดใหม่ ให้เริ่มจากการมองแบบองค์รวม
แม้จะมีบางจังหวะที่จำเป็นต้องมองแยกเพื่อความชัดเจนเฉพาะเรื่อง ก็ยังต้องมององค์รวมของระบบเป็นพื้นฐานทางความคิด อย่างน้อยก็มองเป็นอันดับสอง
เพื่อให้ภาพของการพัฒนาที่แท้จริงยังอยู่คงเดิม เมื่อส่วนบุคคลเริ่มมองภาพรวม ก็จะสามารถเชื่อมโยงปัญหา สาเหตุ แนวทางและวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
ที่จะนำไปสู่การผสมผสานสู่การทำงานแบบองค์รวมให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริงได้
แล้วเราก็จะได้ผลการพัฒนาที่ดีและยั่งยืนต่อไป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. แสวง รวยสูงเนิน ใน ความรู้เพื่อชีวิต
คำสำคัญ (Tags)#บูรณาการศาสตร์#ชุมชนคนสร้างโลก#เครือข่ายเพื่อการพัฒนา#มหาชีวาลัยอีสาน#kmธรรมชาติ
หมายเลขบันทึก: 75862, เขียน: 02 Feb 2007 @ 00:27 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 17:14 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 11, อ่าน: คลิก