Som_O WAY
นางสาว วิภาวรรณ ศรีสุเพชรกุล

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาภาคีเครือขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพ"


ซอฟต์แวร์ตัวใหม่...แปลงเสียงบรรยาย เป็นตัวหนังสือได้ทันที...

หายหน้าไปนาน  เพราะว่าเตรียมงาน  และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำแผนปฏบิติการพัฒนาภาคีเครือขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพ"

งานสำนักจัดการความรู้  กรมควบคุมโรค  รับหน้าที่ร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่จัดการประชุมครั้งนี้  เพื่อให้ สำนักงานป้องกันควบคุมป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 ได้มีโอกาสได้นำเสนอแผนฯ (โครงการตามหัวข้อการประชุม)  ของแต่ละเขต  และได้รับเกียรติอย่างสูง จากผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข  และสาธารณสุขนิเทศก์   และผู้บริหารกรมควบคุมโรค ได้สละเวลามาเป็นผู้วิพากษ์ และ ให้คำแนะนำ  ในการปรับปรุงแผนงาน  งานนี้สำนัก KM ถอดเทปคำบรรยายทุกช่วง ลงเว็บไซต์  ใครสนใจสามารถดาวน์โหลด PowerPointบรรยาย   คำบรรยาย   ภาพวีดีโอ  ในแต่ละช่วง ได้ที่http://www.kmddc.go.th/kmcms/View/categoryview.jsp?categoryID=CAT0000068

แต่สำหรับบันทึกนี้ ขอนำเสนอบทความโดยสรุป ในช่วง Tacit Sharing จากพี่ถึงน้อง เรื่อง “ปัจจัยและเงื่อนไขสู่ความสำเร็จในการพัฒนาภาคีเครือข่าย และนโยบายภาคพื้นที่” โดย นพ.สุจริต   ศรีประพันธ์  อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข 

Tacit Sharing จากพี่ถึงน้อง
เรื่อง “ปัจจัยและเงื่อนไขสู่ความสำเร็จในการพัฒนาภาคีเครือข่าย และนโยบายภาคพื้นที่******************************************************************** โดย นายแพทย์สุจริต ศรีประพันธ์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันนี้ปัจจัยกำหนดหลักๆ ที่ใช้กำหนดความเป็นไปในเรื่องของสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต ปัจจุบันเป็นช่วงเชื่อมต่อระหว่างอดีตกับอนาคต และปัจจุบันก็เปลี่ยนไปเป็นอดีตอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นถ้ายึดถือเรื่องปัจจุบันก็จะใช้ไม่ได้ ฉะนั้นต้องมองที่อนาคต การมองอนาคต (Vision) มี 3 ลักษณะ คือ             1. นึกเอา หวังเอาว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้พวกนี้ ต้องพึ่งไสยศาสตร์ หมอดู             2. ดูจากประสบการณ์ เหมือนกับมีหลักเอาไว้ ก็จะแม่นยำ ไม่พลาด             3. การฉายภาพอนาคตจากสถานการณ์ปัจจุบัน
ยกตัวอย่างเช่น เราจะสามารถบอกได้ว่าหมู่บ้านไหนเจริญกว่าหมู่บ้านไหน เราก็ต้องกำหนด KPI ซึ่งประกอบด้วยคนและสิ่งแวดล้อม จากครอบครัวเป็นชุมชน จากหลายชุมชนเป็นตำบล อำเภอ จังหวัด เขต ภาค จากนั้นก็ใช้ข้อมูลในการจัดแถว ซึ่งนิยมใช้ช่วงเวลา ถ้าใช้ช่วง5 ปี เป็นตัวจัดแถว ก็ให้กำหนด KPI ก่อนว่าระดับความเจริญ การพัฒนา และความรู้ในด้านต่างๆ เหล่านี้ นำมาเป็นปัจจัย จัดแถวดูว่าอันไหนที่ใกล้ความคาดหวัง หรือใกล้เคียงกับที่เราไปดูประเทศที่เขาเจริญแล้ว เช่น ประเทศที่เจริญแล้วอันดับ 1 ,2 และ 3 ในโลก อยู่แถวสแกนดินีเวียร์ ที่ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก แล้วนำค่ามาเฉลี่ย จะสามารถ Classify จากแถวได้ว่าหมู่บ้านนี้ล้าหลัง หมู่บ้านที่อยู่แถวที่หนึ่งนำหน้าที่สุด รองลงมาคือแถวที่สอง แต่ละแถวห่างกันห้าปี ดังนั้น ถ้าหมู่บ้านใดอยู่แถวไกลแสดงว่าหมู่บ้านนั้นล้าหลังมาก ในตำบลก็เช่นกัน เราสามารถบอกได้เช่นกันว่าในตำบลนั้นเปรียบเทียบกับตำบลอื่น มีหมู่บ้านที่เจริญแล้ว (ที่อยู่แถวหน้า)ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ แถวที่สองกี่เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ามีห้าแถว (คิดแถวละห้าปี) ก็คือ ยี่สิบห้าปี แสดงว่าอีกยี่สิบห้าปีหมู่บ้านที่อยู่แถวล่างสุดจึงจะขยับขึ้นมาเท่ากับแถวหน้าในปัจจุบันได้ เพราะฉะนั้นถ้ามองในภาพรวมเราก็สามารถที่จะดูได้ว่าแนวโน้มเป็นอย่างไร แต่ลักษณะที่กล่าวนี้เป็นลักษณะในสถานการณ์ปกติ ซึ่งในสถานการณ์จริงของปัจจุบันมีตัวแปรต่างๆ เพิ่มเข้ามา
ตัวแปรมีหลักๆ 3 ตัวแปร ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลง (Change) การเปลี่ยนแปลง มีอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ว่าระดับการเปลี่ยนแปลงจะเร็วหรือช้า ถ้าช้าเราจะไม่ค่อยรู้สึก และคิดว่าไม่เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงมีระดับกลาง (Modulate) กับ ระดับเร็วสุด 2. ความสลับซับซ้อน (Complexity) เช่นโรคในปันจุบัน สิ่งที่ตรงไปตรงมาไม่ค่อยมี เพราะมันเกี่ยวข้องกับระบบภายในร่างกายเราด้วย เขาเรียกว่า Internal environment ตัวที่ปัจจัยกำหนด determinant เกี่ยวข้องกันกับอายุ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยง (Risk)ไม่เท่ากัน 3. ความหลากหลาย (Diversity) คือคนเรามี Multi Factorial แม้แต่คนอายุต่างกัน ก็เป็นความหลากหลาย (Diversity) อันหนึ่ง ตั้งแต่อยู่ในท้องจนถึงสูงอายุ ความเสี่ยง (Risk) ก็จะต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรู้ และอาชีพ เรียกว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน เมื่อทบทวนดูในเรื่องการเปลี่ยนแปลง (Change) ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ องค์ความรู้ของเราคือการรู้เท่าทันธรรมชาติ เรารู้เรื่องธรรมชาติมากขึ้น เมื่อก่อนเราไม่รู้สาเหตุของมะเร็ง ตอนนี้เรารู้แล้วว่าสาเหตุของมะเร็งคือแบคทีเรีย และไวรัส อย่างนี้เป็นต้น ทุกอย่างมีความหลากหลายทั้งเป้าหมายและผู้ร่วมงาน ทำให้เราต้องจัดรูปแบบองค์กรใหม่ การจัดแบบเครือข่ายเป็นการจัดรูปแบบองค์กรแบบ Matrix Organization คือมุ่งหวังความสำเร็จ แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญว่ามาจากหน่วยงานไหน


 

 ปัจจัยที่ทำให้การจัดรูปแบบองค์กรแบบเครือข่ายสำเร็จ                         1. คุณธรรม (Good Governance) ถ้าไม่มีคุณธรรม จะไม่สามารถหล่อหลอมให้ทีมงานไปในทิศทางเดียวกันได้ Good Governance ต้องอิงหลักกฎหมาย (Integrity) Integrity แปลได้สองอย่าง แปลว่าทัดเทียมกันก็ได้ แปลว่ายึดหลักกฎหมาย ข้อระเบียบ ข้อบังคับ สำหรับคนที่อยู่รวมกันหลายๆ คน ต้องมีกติกา                         2. ต้องมีจุดร่วม จุดมุ่งหมายที่สาคัญ ว่าเราจะต้องการมาร่วมเป็นทีมงานเพื่อทำอะไร ทำอะไรต้องโฟกัสให้ชัดเจน เช่น ทีม SRRT มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมโรค มีความสำคัญมาก ถ้าเป็นหน่วยทหารเขาเรียกว่าหน่วยลาดตระเวนรบ ออกไปหาข่าว เป็นกองกำลังเคลื่อนที่ เราต้องพัฒนาให้เป็นอย่างนั้น ให้SRRT พัฒนาขึ้นอย่างนี้เพราะบทบาทของกรมควบคุมโรคปัจจุบันนี้ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ แต่เป็นภาระของหน่วยปฏิบัติในท้องที่ เช่น หน่วยงานสังกัดของ อปท. หรือหน่วยงานในสังกัดของจังหวัด หน่วยงานสาธารณสุข และนอกหน่วยงานสาธารณสุข  การสร้างทีมงานให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 1. ต้องรู้จริงในเรื่องที่จะทำ 2. จะทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดอะไรบ้าง 3. หัวหน้าทีม  เนื่องจากการสร้างภาคีเครือขายเป็น Matrix Organization หัวหน้าทีมจึงต้องมีความรู้ เป็นที่ยอมรับ
ลักษณะของหัวหน้าที่ดี มีคุณสมบัติ 5 ประการด้วยกัน
            1. มีปัญญา (Wisdom) รู้เรื่องที่จะทำ และส่วนที่เกี่ยวข้อง             2. มีความจริงใจ (Sincerely) ใครถูกก็ว่าถูก ใครผิดก็ว่าผิด             3. ความสัมพันธ์ที่ดี (Human Relationship) สร้างให้ทีมเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน             4. กล้าตัดสินใจ (Decision marking) กล้าตัดสินใจในภาวะวิกฤต อย่างรวดเร็ว             5. มีวินัย เข้มงวดกับตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ลูกทีม  การประเมิน(Evaluation) การประเมิน(Evaluation) เมื่อทำไปแล้วต้องประเมิน การประเมินที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ประเมินผลสำเร็จ ต้องประเมินข้อ Mistake ต้องวิเคราะห์ว่า Mistake นั้นมันเกิดในขั้นตอนไหน และแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดผิดซ้ำ
ลักษณะความสำเร็จที่สำคัญของทีมงาน แบบ Network คือ
การปูนบำเหน็จ รางวัล ถ้าเป็นข้าราชการ จะเป็นเรื่องการเลื่อนขั้น โบนัส ฉะนั้นถ้าหัวหน้าทีมอยากให้เขามีส่วนร่วม ก็ให้เสนอพิจารณาความดีความชอบ ก็จะเป็นกุญแจของความสำเร็จ และถ้าเป็น NGO จะต้องเชิดชูเกียรติยศให้แก่เขา สรุป การที่จะทำให้ทีมงานสำเร็จ ประกอบด้วย ต้องรู้เรื่องที่จะทำ รู้ว่าจะทำอะไรบ้าง มีกิจกรรมอะไรบ้าง และต้องมีหัวหน้าที่ดี คือ มีปัญญา มีความจริงใจ มีความสัมพันธ์ที่ดี กล้าตัดสินใจ และ มีวินัย ถ้าเป็นหน่วยปฏิบัติต้องมีหน่วยเหนือขึ้นมาสนับสนุน แล้วก็มีสายการบังคับบัญชา สายการติดต่อประสานงานที่ชัดเจน ฉะนั้นในภาวะที่เร่งด่วน สำคัญที่สุดต้องมีส่วนกลาง กับส่วนสนาม และที่จำเป็นและสำคัญมาก คือ การให้ข่าว ต้องมีกติกาว่าใครบ้างควรจะเป็นคนให้ข่าว ให้แค่ไหน ให้แต่ข้อมูล ข้อเท็จจริง ฉะนั้นความสำเร็จของการทำงานทีมงานให้สำเร็จ ต้องมีความจริงใจ และเข้าใจอย่างแท้จริงต่องานที่จะทำ และรู้ที่จะบริหารคนในทีมงาน บริหารคนยากสุด สุดยอดของการบริหารคือ การทำให้ทุกคนมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีทิศทางเดียวกัน

***ถ้าสนใจรายละเอียดในช่วงอื่นๆ  อย่าลืมเข้าไปชม www.kmddc.go.th***

      ลงทะเบียนรับเอกสาร

บรรยากาศห้องประชุม

หมายเลขบันทึก: 75746เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีรูปภาพเพิ่มเติมให้ดูในภาค 2 ค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท