ค่อนข้างได้ภาพในวงคุณเอื้อแล้ว เพื่อจะกำหนดทิศทางหรือทำแผนปฏิบัติการ เพื่อจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อไป ส่วนบทบาทของสถาบันการศึกษา มวล. ราชภัฏ เรามองว่าอย่างไรกันบ้าง
คุณสมหมาย มวล. ราชภัฏ ฯ สถาบันการศึกษาน่าจะหารายงานการวิจัย หรือวิชาการมาเป็นตัวอย่างเช่นเรื่องนี้เขามีการวิจัยมาอย่างไรบ้าง ผลเป็นอย่างไรเล่าสู่กันฟังในด้านวิชาการ หากทำอย่างนี้ด้านวิชาการจะเป็นไปได้หรือเปล่า เราจะได้มาประมวลและปรับใช้ให้เข้ากับวิชาการบ้าง บางครั้งเราปฏิบัติไปโดยไม่ได้อิงวิชาการ ไม่ทราบว่าเข้าหลักเกณฑ์อะไรปฏิบัติไปเรื่อย ๆ บางครั้งหน่วยงานอื่นเขาไม่ยอมรับ
อ.จำนง การเอาข้อมูลวิจัยของเรามาเป็นแบ็คอัพ เราไม่ได้ตามของเขา
คุณภีม เรื่องนี้หากเราร่วมกันได้ จะไม่ใช่เฉพาะ มวล. ราชภัฏ ไสใหญ่ วิทยาลัยเกษตร เทคนิค อาชีวะ เราก็จะผูกเข้ามาด้วยกัน เนื่องจากว่างานของเขาหลายเรื่องก็จะเกี่ยวกับการสนับสนุนนักวิชาการ ชุมชนเหมือนกันเราจะพยายามเชื่อมโยงทุกองคาพยพเลย หน่วยสนับสนุนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่เพื่อชุมชน โดยการบริหารจัดการที่ชัดเจนเราจะรู้ว่าหน่วยงานนี้ทำหน้าที่อะไร เหมือนที่พี่เกรียงไกร หรือ อ.จำนง พี่สมหมาย พูดไว้ หากทำได้อย่างนั้นเราจะเป็นกองกำลังซึ่งบูรณาการกันได้จริง
(ผอ.โสภณ คงจังหวัด ผอ.ธกส. ประธานในวงประชุม เข้ามาในที่ประชุม)
คุณภีม ผมขอสรุปให้ท่าน ผอ.ฟังถึงข้อมูลในช่วงต้นที่เราหารือกัน โครงการบูรณาการการทำงานโดยมีโครงการนำร่อง 3 ตำบลโดยเริ่มตั้งแต่ ก.พ. – พ.ย. เรากำลังจะสรุปบทเรียน โครงการนี้เราออกแบบไว้คือ 1) มี 9 หน่วยงานมาร่วมกันทำงาน 2) เราใช้การจัดการความรู้เป็นตัวเคลื่อน โดยลงไปทำที่ 3 ตำบลเป้าหมาย เราแบ่งเป็น 3 วง คือ วงคุณเอื้อ วงคุณอำนวย และวงคุณกิจ การจัดการความรู้หมายถึงว่าการพัฒนาและวิจัย การพัฒนาก็หมายถึงว่าต้องมีเป้าหมายในการพัฒนา วิจัยก็หมายความว่าในกระบวนการพัฒนาซึ่งมีเป้าหมายจะต้องมีกระบวนการเรียนรู้ การฝึกบทเรียน และการถอดกระบวนการเรียนรู้ออกมานี่คือการจัดการความรู้อยู่ในกระบวนการนี้ทั้งหมด เราได้งบสนับสนุน CEO 2.8 แสนในการทำโครงการ ตอนนี้ที่ผ่านมาที่เราคุยกันเราได้สรุปบทเรียนของวงคุณเอื้อ 9 หน่วยงานที่เราทำงานกันนี้มีการร่วมมือกันแค่ไหน การมีส่วนร่วม บทเรียน อุปสรรค ข้อจำกัดอะไรบ้างก็ได้ข้อเสนอกันเยอะ
ข้อค้นพบ ปัญหา/อุปสรรค
1) ใน 9 หน่วยงานที่มาร่วมกันรู้สึกว่าเราจะไม่ได้ร่วมกันเท่าที่ควรในความหมายของการร่วมมือกัน มันเหมือนกับว่าการผูกกัน โดยหลายคนบอกว่าเราขาดความชัดเจนร่วมกันในส่วนของวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินงาน
2) การทำงานโครงการนี้ของเรายังไม่ได้ครอบคลุมงานเก่าแต่เป็นการสร้างงานใหม่ขึ้นมา ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีงานที่เป็นนโยบายหลักอยู่แล้ว อาจจะไม่ให้ใจในการทำงานนี้เท่าที่ควร เช่น เกษตรเขาก็มีแผนงานหลักอยู่แล้ว ทำให้การที่จะมีส่วนร่วมไม่เต็มที่
3) ระบบประสานงานการจัดการส่วนกลางไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร
1) หากเราจะทำต่อไปต้องเชื่อมกับงานเดิมที่แต่ละหน่วยงานมีแผนงานอยู่แล้วไปผูกกับงานเดิมได้เลยโดยใช้การจัดการความรู้บูรณาการเราไม่ต้องสร้างงานใหม่ขึ้นมา
2) เราต้องผูกกับ อบต.ให้เข้มข้นขึ้น อบต.เป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นหากเราทำโดยละทิ้ง อบต.ก็จะมีพลังต้าน
3) กำหนดบทบาทหน้าที่โครงสร้างการจัดการในการทำงานร่วมกันให้ชัดเจนว่าแต่ละหน่วยงานมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง มีโครงสร้างของการบูรณาการอย่างไร บทบาทคุณเอื้อ คุณอำนวย คุณประสาน คุณกิจ ให้ครบถ้วน
4) หน่วยงานที่มาร่วมกันเป็นหน่วยพันธมิตรซึ่งเป็นหน่วยวิชาการควรที่จะมาเสริมความรู้ให้กับทีมงานเพื่อจะให้เป็นสิ่งเติมความรู้เข้ามา
สุดท้ายในแต่ละหน่วยงานได้เอา KM มาเป็นเครื่องมือในการทำงานอยู่แล้วและบางหน่วยขอการสนับสนุนจากท่านผู้ว่าเราเลยหารือกันว่าหากเราจะเสนอเป็นโครงการบูรณาการและเราจะจัดโครงสร้าง ร่วมมือกันหมดแล้วของบสนับสนุนท่านผู้ว่าเราจะทำโครงการบูรณาการหน่วยงานโดยมีพื้นที่เป้าหมายที่ไหนบ้างในเรื่องใดบ้าง การบูรณาการนี้น่าจะดีนะ ถ้าหากเราทำได้จะเป็นการทำงานแบบบูรณาการที่สมบูรณ์แบบ และจะทำให้เราไม่รู้สึกว่างานที่ทำนี้นอกเหนือจากงานประจำของเรา โดพยเรื่องนี้เราจะมีการประชุมหารือคุณเอื้อ ระดับผู้บริหารและต้องส่องกล้องดู (ศัพท์ อ.จำนง) โดยคูรเอื้อและคุณประสานจะต้องร่วมเวทีพูดคุยกำหนดยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมาย จัดวางโครงสร้างการบริหารจัดการบูรณาการนี้ แล้วร่วมกันวางระบบงบประมาณบางส่วน
หากเราสามารถทำอย่างนี้ได้ก็จะเป็นโครงการบูรณาการที่ผนวกกับงานเดิมของแต่ละหน่วยงาน และผู้บริหารระดับสูงสุด (คุณเอื้อ) ก็จะมาร่วมคิดกันตั้งแต่ต้น นี่คือข้อสรุปที่เราได้คุยกันในช่วงที่ท่านยังติดภาระกิจครับ ผอ.โสภณ
ไม่มีความเห็น