โคเพื่อชีวิต ตอนที่ 42 ทำอย่างไรเมื่อโคเป็นโรคปากและเท้าเปื่อย


         วันนี้ได้รับข่าวจากศิษย์รัก คุณทรงธรรม แห่งบ้านสว่างงิ้วงาม เกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงโค  ได้ฟังแล้วตกใจ

          อาจารย์ครับ  ผมเกือบซวยแล้วครับ ซื้อโคมาไม่ทันไร เจอดีเสียแล้ว

            ก็โคตัวที่ซื้อมาใหม่เมื่ออาทิตย์ที่แล้วออกอาการเป็นโรคปากและเท้าเปื่อย  แยกออกจากฝูงเกือบไม่ทัน

           ยังดีนะครับที่ยังไม่แสดงอาการมาก  ผมเลยจัดการได้ซะอยู่หมัด

            อ้าวจัดการได้แล้วซวยตรงไหน  รีบถามลูกศิษย์ทันที

            ลูกศิษย์บอก  ก็ซวยที่ต้องเพิ่มต้นทุนและเสียเวลาในการรักษาและป้องกัน   แต่ไม่เป็นไรครับ ได้บทเรียนใหม่ ๆ  ว่าก่อนซื้อโคมาเลี้ยงควรตอบสอบประวัติให้แน่ใจและดูอาการโคให้เป็น

          รีบถามต่อว่าจัดการอย่างไร

          โอ้ย! หลายขั้นตอนครับ

           ขั้นแรกผมหาความรู้  ค้นตำราที่เรียนมาว่าจะทำอย่างไร  ก็แยกโคออกจากฝูง และบันทึกอาการโคให้ละเอียด

           ขั้นที่สองรีบหาตัวช่วยที่ใกล้ตัวคือพ่อครับ  พ่อบอกอาการไม่รุนแรงยังพอแก้ไขได้  ผมก็งง! แก้ไขยังไง พ่อไม่ใช่สัตวแพทย์สักหน่อย  ผมคิดได้อย่างเดียวซื้อยามาฉีดหรือให้หมอฉีดยาให้ก็จบ  แต่พ่อยังยืนยันว่ารักษาได้เพราะเพิ่มเริ่มเป็นรักษาได้ก่อนที่แผลจะติดเชื้อ  ผมก็ยังสงสัย จะรักษาได้จริงหรือ  พ่อผมก็ถามกลับ  แล้วเวลาเอ็งปากเปื่อยแล้วอมเปลือกแคทำไมมันหายว่ะ  เอาหล่ะ เชื่อก็เชื่อ ไม่เสียหลาย ถ้าไม่หายก็ให้หมอรักษา 

            ขั้นที่สามผมจึงรีบไปหายาพื้นบ้าน ตามตำนานยาคนแก่ จำพวกเปลือกไม้ที่มีรสฝาด  ผมได้เปลือกต้นแค เปลือกต้นสีเสียด เปลือกต้นมะขามเทศ เปลือกต้นหม่อน เปลือกไม้แดง มาต้มรวมกัน รอให้เย็นก็นำมาล้างแผล ล้างปากให้โค 

          ยังไม่พอครับ พ่อบอกให้เอาไพลมาโขลกผสมกับมะเฟืองเกลืออีกนิดหน่อย เอาให้กรอกให้โคกิน

         ส่วนกีบเท้าโคก็ใช้น้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอกมาเช็ดล้างทำความสะอาด

          แค่ 3  เห็นผลครับ  บรรดาตุ่มทั้งหลายที่ขึ้นที่ปากโคหายวับ ไม่แตกไม่ยับเรียบเนียนเหมือนเดิม

          ขั้นที่สี่ผมทั้งโล่งและดีใจ รีบโทรมารายงานอาจารย์ทันทีครับ

          ก็ได้แต่แสดงความยินดีและย้ำให้รีบฉีดวัคซีนป้องกันทุกตัวอีกรอบ 

         ทรงธรรมบอก "ครับพรุ่งนี้ทุกตัวต้องเจอเข็มทิ่มกันทั่วหน้า"

          ก็ได้แต่ดีใจที่ลูกศิษย์คิดได้ทันและทำได้เร็ว  ด้วยการรีบหาความรู้ หาตัวช่วย และลงมือทำตามคำแนะนำ และได้กำลังใจและเห็นผลงานจากการปฏิบัติอย่างแท้จริงไม่ทิ้งความรู้ของท้องถิ่น ที่คิดว่าอนาคตเขาจะเป็นคนเลี้ยงโคที่ประสบความสำเร็จได้แน่นอน

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 75402เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ได้ความรู้และเทคนิกดีๆหลายเรื่องในบันทึกนี้ครับ
  • ลูกศิษย์อ. พันดา หล่นไม่ใกลต้นจริงๆ

 ช่องความคิดเห็น

เขาไม่ได้มีไว้ให้เขียน ยกก้น กันเองเท่านั้น

มีไว้ให้สะท้อนความคิด ว่าจะต่อเสริมเรื่องที่ผู้เขียนให้แตกกิ่งความรู้ออกไปอย่างไร

เลิกเสียทีกับการใช้พื้นที่ตรงนี้เขียนเรื่องเจ๊าะแจ๊ะ เราเป็นนักเรียน ไม่ใช่เด็กซิ่งเด็กซ่า อย่าฉุดตัวเองลงไปตรงนั้น

ถามว่าเจ๊าะแจ๊ะได้ไหม ได้ ถ้าทำเป็น เจ๊าะแจ๊ะมันก็มีระดับของมัน อย่าไปทื่อๆเพราะเราไม่ใช่ขอนไม้ สังเกตุมานนแล้ว ถ้าอยู่ใกล้อยากจะถี..ให้ตกเก้าอี้ มันส่อให้เห็นความมักง่ายที่จะช่วยกันคิด ไม่ใส่ใจในเนื้อหาที่อ่าน จึงไม่เกิดการร่วมเรียนรู้ที่แท้จริง!!!!  

ค่อยดูมีชีวิตหน่อยครับ

แต่ควรมีข้อสรุปครับ

ว่า

นิทานเรื่องนี้ สอนว่าอะไร

เขียนก็ดีหร๊อก แต่ภาพคนเขียนนี่ เปลี่ยนยากจริ๊งๆๆๆๆ

ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ข้อคิดเห็น จะฝึกปรือวิทยายุทธเพิ่ม ให้งานมีชีวิตชีวายิ่งขึ้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท