เด็กกับการเจริญสติ


วิชาความรู้ที่เล่าเรียนมาจากโรงเรียนตั้งแต่ตัวกะเปี๊ยก ไปจนจบปริญญาเอกนั้น เป็นวิชาความรู้เพื่อเอาไปทำมาหากินทั้งสิ้น แล้ววิชาทางธรรมล่ะหายไปไหน วิชาความรู้เพื่อสร้างปัญญาเพื่อรักษาใจของเราให้หายหรือคลายจากทุกข์นั้นหายไปไหน

เมื่อก่อนนั้นคนไทยศึกษาวิชาความรู้โดยการเรียนหนังสือที่วัด วัดในสมัยก่อนนั้นจะมีเกจิ อาจารย์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เหล่าเด็กชายก็คงได้บวชเรียนกันตามประเพณี เด็กหญิงคงต้องหาทางศึกษาเล่าเรียนกันเองตามโอกาสจะอำนวย แน่นอนนอกจากวิชา อาคม การอ่าน การเขียนแล้ว ย่อมจะได้เรียนธรรมะ ปฎิบัติธรรม หรือการเจริญสติตามหลักศาสนาพุทธด้วย  

<div style="text-align: center">มุมโปรดของฉันที่โรงเรียรรุ่งอรุณ</div>มุมโปรดของฉันที่โรงเรียนรุ่งอรุณ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p align="left">แต่นับจากที่เรามีการจัดตั้งระบบการศึกษาสมัยใหม่ มีโรงเรียน มีหลักสูตรการเรียนการสอน มีกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาขยายครอบคลุมทั้งเด็กชายและเด็กหญิง และเป็นการปรับปรุงยกระดับเนื้อหาที่สอนให้มีครอบคลุมมากขึ้น อีกทั้งต่อยอดไปถึงระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก </p><p>คำถามก็คือว่า วิชาความรู้ที่เล่าเรียนมาจากโรงเรียนตั้งแต่ตัวกะเปี๊ยก ไปจนจบปริญญาเอกนั้น เป็นวิชาความรู้เพื่อเอาไปทำมาหากินทั้งสิ้น แล้ววิชาทางธรรมล่ะหายไปไหน วิชาความรู้เพื่อสร้างปัญญาเพื่อรักษาใจของเราให้หายหรือคลายจากทุกข์นั้นหายไปไหน  </p><p>บางคนมีโอกาสได้เรียนรู้วิชาทางธรรมเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ นิสิตนักศึกษา ผู้สนใจ ผู้มีบุญบ้างก็ได้บวชเป็นพระภิษุก บ้างเป็นฆราวาสแต่ได้ไปปฎิบัติธรรมเจริญสติ แต่สิ่งต่างๆตรงนี้นั้น กว่าจะได้มาเจอ ได้มาปฎิบัติก็เมื่อโตมาเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควรแล้ว  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ฉันสงสัยว่า ทำไมเราจึงไม่นำเอาวิชาความรู้เกี่ยวกับการเจริญสตินั้นมาสอนกันเสียตั้งแต่เด็กเลย แทนที่จะรอจนโตหรือบางคนก็แทบจะเมื่อสายไป ชีวิตของฉันจะเป็นอย่างไร ถ้าได้รู้จักการเจริญสติตั้งแต่เด็ก สังคมเราจะเป็นอย่างไร ถ้าคนไทยเรารู้จักการเจริญสติและปฎิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

หมายเลขบันทึก: 74995เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2007 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สาธุ สาธุ สาธุ

เห็นด้วยที่สุดเลย คุณเอ๋  โดยเฉพาะประโยคปิดท้าย ที่ว่า

"ฉันสงสัยว่า ทำไมเราจึงไม่นำเอาวิชาความรู้เกี่ยวกับการเจริญสตินั้นมาสอนกันเสียตั้งแต่เด็กเลย แทนที่จะรอจนโตหรือบางคนก็แทบจะเมื่อสายไป"

และเราเคยถามตัวเองด้วยประโยคถัดไปของคุณเอ๋ด้วย คือ

"ชีวิตของฉันจะเป็นอย่างไร ถ้าได้รู้จักการเจริญสติตั้งแต่เด็ก"

ส่วนประโยคสุดท้ายจริง ๆ ของบันทึกแรกนี้ของคุณเอ๋นั้น ที่ว่า

"สังคมเราจะเป็นอย่างไร ถ้าคนไทยเรารู้จักการเจริญสติและปฎิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง"

เรากะจะไว้ถามในวิทยานิพนธ์เราเลยด้วยซ้ำ 

แต่ก็นั่นแหละ คงไม่มีใครตามไปตอบเรา  เหมือนที่มีคนตามมาตอบอย่างในบล๊อกนี้ได้หรอกเนอะ?

ว่าแล้วก็ขออนุโมทนา  กับกุศลเจตนาที่เขียนเรื่องนี้จ้า

จาก ศิษย์ร่วมสำนัก,

จ๋อม

ป.ล. แวะมาคอมเม้นท์ให้โดยเฉพาะ และก็จะเหาะกลับออกไปแล้ว  หมู่นี้ซามูไรยุ่งมากเลย ฮือ ๆ แต่จะพยายามตามอ่านน้า เขียนอีก ๆ

     เห็นด้วยค่ะๆ พยักหน้าหงึกหงักสามทีเลยค่ะ ตอนนี้หมอมีหลานอยู่สามคน พาเจ้าคนโตเข้าไปได้หนึ่งครั้ง แต่ดูยังไม่ซึมซาบเท่าไหร่เลยค่ะ อยากจะพาหลานๆเข้าให้หมดทุกคน

     หมอคิดว่า คงต้องเริ่มที่ครูก่อนไหมคะ ถ้าทางกระทรวงเห็นว่าสิ่งนี้ดี เค้าอาจจะพาคุณครูไปอบรม

 

ป.ล.  ขอแถมอีกหน่อยได้ไหม คงจะเป็นการบ่นมากกว่านะ  บังเอิญคุณเอ๋ชงเรื่องมาได้ถูกทาง 

 

คืองี้  เราผู้เป็นคนละขั้วกับ "นักวิชาการ" มากเลยนี่  เรารู้สึกอึดอัดขัดใจมาก กับการที่ต้องพยายามมาเรียนป.เอก 

 

เพราะเดิมเรามัน naive มากไง  เราคิดว่า เราอยากเรียนเพื่อจะทำวิทยานิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับวิปัสสนา  เพื่อเป็นธรรมทาน  มากกว่าวิทยาทาน  เพื่อให้คนหันมาสนใจ  และลองหัดกันดู

 

เราคิดว่า จะนำทักษะด้านโฆษณาที่เรามี  มาทำให้คนสนใจเรื่องนี้ได้มากกว่าน่ะ  เรื่องของเรื่อง

 

แต่พอมาเรียนแล้วพบว่า  ทั้งกระบวนการเรียนป.เอก  และสิ่งที่เราเรียกกันว่า  methodology ก็ดี  หรือว่า ทฤษฎี ก็ดี  บางทีเป็นสิ่งที่เราอยากจะเรียกในใจของเราเองว่าเป็น "อวิชชา" มากเลยน่ะ

 

เราอาจจะเรียกผิดก็ได้นะ  แต่ว่า  มันทำให้เราค่อนข้างเหนื่อย เวลาที่เราจะต้องไปพยายามควานหา งมเข็มในมหาสมุทร หาทฤษฎี "อวิชชา" เพื่อจะพยายามมาอธิบายเชิงสังคมว่า การเจริญสตินี้มันดีนะจ๊ะตัวเอง  อะไรทำนองนี้

 

ยิ่งเรียนยิ่งรู้สึกว่า ไร้สาระมากน่ะ ทฤษฎีพวกนั้น  ทำเอาเราได้มีตัวอย่างได้หัดกำหนดดูจิตตัวหงุดหงิดมากมาย

 

แล้วก็เลยพาลไม่อยากเขียนวิทยานิพนธ์ไปดื้อ ๆ ซะงั้น

 

เป็นวิบากของข้าพเจ้าอย่างแท้จริง

 

คนเรามันก็มีทุกข์กันคนละอย่างน่ะนะ

 

สรุปว่าแวะมาบ่น

 

และวนกลับเรื่องของคุณเอ๋อีกครั้ง  ด้วยการอยากบอกว่า

 

ในฐานะที่เคยไปเรียนมาหลายที่ หลายประเทศ

 

อยากบอกว่า  ไม่มีวิชาใด ๆ ในโลกนี้  ดีกว่าวิชาการเจริญสติ  ที่สอนในประเทศไทยอีกแล้ว

 

ใช้ได้ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ  สามารถมาอุปถัมภ์ได้ ในยามใกล้ตาย ฯลฯ

 

ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้บ่น แหะ ๆ

 

สวัสดีจ้า,

 

จ๋อม

คุณหมอพาหลานไปที่ไหนค่ะ แล้วหลานของคุณหมอคนที่ไปเขาอายุเท่าไหร่ แล้วเขามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือเปล่าหลังจากกลับมาแล้ว

ที่จริงเราคิดว่าน่าจะมีวิธีอื่นๆในการสอนเด็กให้เจริญสติ นอกเหนือไปจากการเดินจงกรม และนั่งสมาธิน่ะค่ะ เพียงแต่ตัวเองก็ยังไม่ทราบชัดเจนว่าควรจะใช้อะไรเป็นอุบาย อีกอย่างตัวเองก็ไม่ได้เป็นครูเสียด้วย แต่เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องน่าคิดจริงๆ

 

อย่างเซนเซสอนดาบเราไง ที่สอนเด็กทุกอย่างเลย  แล้วแต่ใครได้อะไรบ้าง

 

มีเดินจงกรมมั่ง อะไรมั่ง

 

เด็ก ๆ ก็สนุก นะ  เรียนแบบญี่ปุ่นนี่น่ะ

 

 

ขอเรียนจบก่อน แล้วค่อยว่ากัน แหะ ๆ

 

 

ไม่เป็นไรคุณจ๋อม

ค่อยๆทำไปทีละอย่าง เราจะคอยเอาใจช่วย เรียนจบก่อนแล้วค่อยเปิดสำนักก็ได้นิ ถนอมรักษาร่างกายหน่อยนะ จะได้มีเรี่ยวแรงทำโน่นนี่อีก

นั่นซิครับ

        อาจารย์ก็สงสัย ที่จริงขณะนี้เขาพยายามเอาวิธีเจริญสติไปใช้ในระดับโรงเรียนประถมเหมือนกัน มีการสอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิครับ เป็นแนวโรงเรียนวิถีพุทธ

       อาจารย์เคยไปช่วยสอนครั้งหนึ่งกับคณะวิทยากร มีเรื่องขำกลิ้งมาก คือวิทยากรท่านหนึ่งออกเสียงช้ามาก ช้าจนมีเด็กคนหนึ่งวิ่งออกไปจากห้อง อีกสองวินาทีเท่านั้น เด็กหายหมดทั้งห้องเลย ผลคือวิทยากรยืนงงๆเพราะไม่รู้ว่าจะต้องอย่างไรต่อไป

      สักครู่คุณครูประจำชั้นถึงนำเอาเด็กทั้งหมดกลับมาได้และบอกพวกเรา(อย่างเหนื่อยหน่าย)ว่า ต้องออกคำสั่งติดต่อกันตลอดเวลาถึงจะเอาเด็กอยู่

     จะมาสอนเด็ก เจอเด็กสอนกลับเสียแล้ว

ตั้งแต่นั้นมา อาจารย์จึงรู้ตัวว่าวิธีสอนของเราไม่เหมาะสำหรับเด็ก สู้สอนครูแล้วให้คณุไปขยายผลต่อจะดีกว่า

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะที่กรุณาแวะเข้ามาใน blog นี้

 หนูเคยพยายามสอนเด็กเดินจงกรมเหมือนกัน ปรากฏว่าเดินเซไปก็เซมา พอวันหลังชวนเดินอีกก็ไม่สนใจ พอชวนนั่งสมาธิเจ้าหนู (ในรูป) ก็นั่งได้ซัก ๒ นาทีมั้ง ถามเขาว่าในขณะที่นั่งดูลมหายใจหรือเปล่า และในใจคิดอะไรหรือเปล่า เขาตอบว่า คิดว่าเมื่อไหร่จะครบ(ซะที) ก็เลยมาคิดว่าสงสัยต้องหาอุบายการเจริญสติวิธีอื่นๆมาใช้ จริงๆน่าจะเป็นการกำหนดอิริยาบถย่อยในกิจกรรมบางอย่างที่ต้องทำช้าๆและซ้ำๆที่เด็กๆน่าจะทำได้ง่ายกว่า หนูพยายามหาวิธีให้เขาสังเกตกายและใจอยู่ค่ะ เวลาเขาทำอะไรได้ดี จะถามเขาเสมอว่าขณะนั้นๆจิตใจเขาเป็นอย่างไร ให้เขาอธิบายให้ฟัง  

เวลาจะสอนเด็ก แล้วเจอเด็กสอนนี่ หนูเจอบ่อยๆเลยค่ะ อึ้งไปเลยเหมือนกัน

กันยามาส

      ถามหลานว่าเอาไปทำต่อไหม เดินจงกรมกะนั่งสมาธิหนะค่ะ แฮะๆเค้าตอบว่าเปล่าค่ะ

สาธุ

ถ้าสามารถฝึกเด็กให้เจริญสติได้อย่างเข้าใจ จะเป็นพระคุณยิ่ง จะฝึกพร้อมลูกสาวอายุสิบขวบด้วยค่ะ

อนุโมทนาทุกท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท