แนะนำเพื่อนชาว"ดิน"


การไม่ไถ ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ไม่เผา ฯลฯ เราก็จะช่วยรักษาเพื่อนชาวดินของเราให้อยู่ช่วยปรับปรุงดินให้เราได้นานๆ

          หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า "มิตรชาวนา" ซึ่งความหมายก็คือสัตว์หรือแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูธรรมชาติที่ช่วยทำลายแมลงที่เป็นศัตรูของข้าว หรือพืชต่างๆ

          เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (21 มกราคม 2550) ผมได้ทำแนวกันไฟบริเวณสวนไผ่ที่ผมปลูกไว้ประมาณ 100 กอ ในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ที่สวนของผมเอง เนื่องจากช่วงนี้อากาศกำลังแห้ง เกรงว่าหากสะเก็ดไฟจากการเผาในบริเวณลำคลองสวนหมากในช่วงหน้าแล้งจะทำให้เกิดไฟใหม้ได้   เนื่องจากบริเวณป่าไผ่จะมีใบของต้นไผ่ร่วงหล่นทับถมกันมาก  หากรักษาไว้ให้ผ่านไปจนถึงหน้าฝนได้ จะเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับพื้นดินได้เป็นอย่างมากมาย

          ขณะที่กำลังทำแนวกันไฟ  โดยคลาดเอาใบไผ่ออกก็สังเกตเห็นก้อนดินเล็กๆ นับล้านๆ ก้อนเกลื่อนบนผิวหน้าดินเต็มไปหมด ก็พอจะยิ้มออกได้ว่าเรามีเพื่อนชาวดินมาอาศัยอยู่แล้วเต็มไปหมด ซึ่งก็คือ "ใส้เดือน" ไงครับ มาช่วยย่อยสลายใบไผ่-ใบไม้  และช่วยปรับปรุงดินให้เราอีกแรงหนึ่ง นอกจากใส้เดือนแล้วก็พบเพื่อนชาวดินอีกชนิดหนึ่งที่บางท่านก็ไม่ค่อยชอบนัก เพื่อนชาวดินที่ว่านี้ก็คือ "ปลวก" ครับ เพื่อนเราเหล่านี้ก็ช่วยย่อยสลายใบไผ่และใบพืช ต้นพืชได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ดูภาพประกอบครับ

  • ใบของต้นไผ่ที่ร่วงหล่นทับถมกันหนามากในช่วงเข้าสู่หน้าแล้งนี้
  • แนวกันไฟครับ ที่ทำให้สังเกตพบเพื่อนชาวดิน
  • นี่ไงครับหลักฐานของเพื่อนชาวดินของเราที่ชื่อว่า "ใส้เดือน"
  • นี่ก็เพื่อนชาวดินของเราที่ชื่อว่า "ปลวก" ครับ

          พื้นดินที่ผมปลูกต้นไผ่นี้ เมื่อก่อนเป็นดินที่มีทรายจัดมากครับ ก็ได้อาศัยเพื่อนๆ เหล่านี้ช่วยกันสร้างความอุดมสมบูรณ์ ให้เพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ เพียงแต่เราไม่ไปทำลายระบบนิเวศฯ ของเขาเท่านั้นเองครับ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ไถ ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า  ไม่เผา ฯลฯ  เราก็จะช่วยรักษาเพื่อนชาวดินของเราให้อยู่ช่วยปรับปรุงดินให้กับเราได้นานๆ ไงครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 74539เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นความสมดุลของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาตินะครับ  ใบไผ่ยังเป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ด้วยนะครับ ..(ผมเรียนรู้มาจากมูลนิธิข้าวขวัญครับ)...

น่าภูมิใจแทนเขาเหล่านั้นนะคะ ที่ยังมีคนเห็นค่า เรียกว่า เพื่อนชาวดิน

เรียน คุณเรวัตร 

  • ขอบพระคุณ คุณเรวัตรมากครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนและนำความรู้เข้ามาแลกเปลี่ยน
  • ใบไผ่ที่หล่นในแต่ละปีมีปริมาณที่มากพอสมควร และหากปล่อยตามธรรมชาติ จะคลุมพื้นหน้าดินรักษาความชื้นได้ดี น่าจะส่งผลให้กลายเป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ในดินได้อย่างดีตามที่คุณเรวัตรได้ ลปรร.นะครับ

 

เรียน  คุณ รัตติยา เขียวแป้น

  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและอ่านบันทึก
  • เพื่อนชาวดิน น่าจะยังมีอีกมากนะครับทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จัก
  • หากพบปลวกเพื่อนชาวดินผู้ขยันขันแข็ง ที่ออกหากินเศษใบไม้ตามพื้นดิน(ที่ไม่ใช่จอมปลวก)ลองนั่งลงแล้วสังเกตอยู่ใกล้ๆ จะได้ยินเสียงการกัดใบไม้ดังพร้อมๆ กันน่าฟังมากครับ

 

สงสัยคงต้องลองฟังดูบ้างแล้วหละคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท