กระบวนการสร้างสรรค์ความรู้ (Knowledge Creation)


ตามหลักการของ Nonaka และ Takeuchi มีการเปลี่ยนแปลงทางความรู้ 4 อย่าง หรือที่เรียกว่า SECI model ได้แก่ Socialization Externalization Combination และ Internalization

                         การสร้างความรู้ส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในองค์กรซึ่งมีรูปแบบการจัดการความรู้ กระบวนการสร้างสรรค์ความรู้ชนิดนี้ จะต้องทำต่อเนื่องและทำในหลายระดับในองค์กร   ในหลายกรณี การสร้างสรรค์ความรู้จะเกิดขึ้นจากหนทางที่ไม่ได้คาดหวังไว้หรือไม่ได้วางแผนการไว้  ตามหลักการของ Nonaka และ Takeuchi มีการเปลี่ยนแปลงทางความรู้ 4 อย่าง หรือที่เรียกว่า SECI model ได้แก่ Socialization Externalization Combination และ Internalization ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของ Tacit knowledge และ Explicit knowledge ที่สลับไปมาได้ จนองค์กรเกิดความรู้ใหม่ๆไม่หยุดนิ่ง เป็นวงจรหมุนเวียนได้ตลอดเวลา

          1)      Socializationเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันจาก Tacit Knowledge สู่ Tacit Knowledge โดยแลกเปลี่ยนผ่านประสบการณ์ตรงของผู้สื่อสารระหว่างกัน ธรรมชาติและการมีผลกระทบซึ่งกันและกันตามแบบฉบับทางสังคม   ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจซึ่งกันและกันผ่านการแบ่งปันในเรื่องของรูปแบบ การรวมพลังในการคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดใหม่ๆ  และจะยังคงอยู่มีอยู่ในใจของผู้ที่มีส่วนร่วมเท่านั้น   อย่างไรก็ตามสังคมจะก่อให้เกิดผลอย่างมากกับความรู้เชิงสร้างสรรค์และการแบ่งปันกัน 

            2)      Externalizationเป็นกระบวนการเปลี่ยน Tacit Knowledge ไปสู่ Explicit Knowledge กระบวนการนี้มีความสำคัญเพราะเป็นส่วนที่ Tacit Knowledge ถูกทำให้ชัดเจนขึ้น เป็นการดึงความรู้จากภายในตัวคนถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการเปรียบเทียบหรือใช้ตัวอย่าง ความรู้ภายนอกอย่างหนึ่งอาจจะจับต้องได้หรือไม่มีตัวตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถแบ่งปันกันได้ง่ายดายกับสิ่งอื่นและสร้างความได้เปรียบผ่านไปทางองค์กรได้   ทฤษฎีที่ดีของการบริหารจำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อจะนำมาตัดสินใจในอนาคตเกี่ยวกับเรื่องเอกสารและการติดตามข่าวสาร  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสร้างข่าวสารเมื่อจะนำความรู้โดยนัยไปสู่ความรู้แบบเปิดเผย

           3)      Combination  เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนและรวบรวมความรู้ที่ไม่ต่อเนื่องกันจาก Explicit Know–ledge ทำให้เป็นระบบ สามารถสร้าง Explicit Knowledge ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ตัวอย่างได้แก่ การสร้างรูปแบบจากการทบทวนรายงาน, แนวโน้มการวิเคราะห์, การสรุปรวบรวม หรือฐานข้อมูลในการสร้างขึ้นมาใหม่    

  

           4)      Internalization เป็นกระบวนการของการเปลี่ยน Explicit Knowledge ให้เป็น Tacit Knowledge อีกครั้งหนึ่ง คือเป็นการนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติจริง และจะรวมตัวกันกลับเป็นความรู้โดยนัยและจะฝังตัวในบุคคลนั้น ๆ อีกครั้ง ซึ่งจะกลายเป็นทักษะหรือความสามารถอันมีค่ายิ่งต่อบุคคลหรือองค์กร หรือเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ   การเปลี่ยนแปลงภายในหรือการแบ่งปัน หรือประสบการณ์ส่วนบุคคลและความรู้ที่เป็นรูปแบบเฉพาะบุคคล  การจัดการภายในอย่างหนึ่งก็คือ ความรู้ใหม่ๆที่ถูกนำไปใช้โดยพนักงานผู้ที่ทำให้ความรู้นั้นขยายวงกว้างขึ้น ผู้ที่สร้างกรอบขึ้นมาภายในพื้นความรู้ที่เขามี            ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนการ Socialization และกระบวนการExternalization เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้างสรรค์ (creativity) ขณะที่กระบวนการ Combination และ Internalization เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความมีประสิทธิภาพ (efficiency) แต่ความสามารถในการสร้างสรรค์และความมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องมีการสังเคราะห์ความรู้ทั้งสองแบบ โดยอาศัยกลุ่มคนที่เรียกว่าผู้ให้ความรู้” (worker) ภายใต้ SECI model สามารถจัดแบ่งผู้ให้ความรู้ (worker) ได้เป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ

           1. ตัวแทน (agent) หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ socialization

          2. ผู้สัญจร (nomad) หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ externalization

          3. นักวิเคราะห์ (analysts) หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ combination

          4. ผู้ดูแล (keeper) หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ internalization  

          จากความสัมพันธ์ SECI Model จะทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจและวางแผนด้านการจัดการความรู้ของบุคลากรในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 73999เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อยากจะขอถามคุณสำเนียง ประยุทธเต ว่า5 forces model คืออะไรคะ ช่วยอธิบายด้วยค่ะ
  • มาให้กำลังใจพี่ครับผม
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท