ทักษะการสอน (ต่อ)


วิชาชีพครูจะต้องใช้ศิลปะในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ
ทักษะการสอนการนำเข้าสู่บทเรียน มีกระบวนการดังนี้
1.  นำเอาความรู้และทักษะที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ได้ โดยการทบทวนความรู้เดิม หรือทดสอบก่อนเรียน แล้วเชื่อมโยงเติมเต็มพื้นฐานความรู้เดิม หรือกำหนดจุดเน้นในการสอนในเรื่องที่ผู้เรียนยังขาดอยู่
2.  การใช้คำถามนำเข้าสู่เรื่องมีประสิทธิภาพ
3.  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการนำเข้าสู่บทเรียนและเนื้อหาสำคัญของบทเรียน
4.  ใช้กิจกรรมการสนทนาในเรื่องสนุกสนาน น่าสนใจ ชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่รอบตัวผู้เรียนและชุมชนที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเรียน
5.  สร้างบรรยากาศความอยากรู้อยากเห็นด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ใช้สื่อที่น่าสนใจ ใช้เกม ใช้กรณีตัวอย่าง ที่สัมพันธ์กับบทเรียน
6.  สร้างความสำเร็จในการเร้าความสนใจเมื่อเริ่มต้นเรียน
คุณลักษณะที่ประเมิน
1.  สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ได้
2.  การใช้คำถามนำเข้าสู่เรื่องมีประสิทธิภาพ
3.  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการนำเข้าสู่บทเรียนและเนื้อหาสำคัญของบทเรียน
4.  บทสนทนาในเรื่องสนุกสนาน น่าสนใจ
5.  สร้างบรรยากาศความอยากรู้อยากเห็นด้วยวิธีการต่าง ๆ
6.  ความสำเร็จในการเร้าความสนใจเมื่อเริ่มต้นเรียน
หมายเลขบันทึก: 73571เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2007 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  1.  ทักษะการเล่าเรื่องคืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง
  2. ทักษะการใช้กริยาท่างทางคืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง
  3. ทักษะการใช้บทบาทสมมุติคืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง
  4. ทักษะการอภิปรายคืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง
ผศ.ดร.วารีรัตน์ แก้วอุไร

1. ทักษะการเล่าเรื่องคืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง

ตอบ คือ ความสามารถที่จะแสดงประเด็น รายละเอียด สาระ อารมณ์ ความรู้สึก ในเรื่องราวใด ๆ ได้อย่างเห็นภาพชัดเจน เข้าใจและเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกทำให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวอย่างแจ่มชัด ต้องการติดตามเรื่องราวต่าง ๆ ให้รู้รายละเอียดทั้งหมด และมีความสนุกสนาน

เช่น ในระดับประถม ตัวอย่างเป็นการเล่าเรื่องกระต่ายกับเต่าซึ่งเป็นนิทานอีสบ ผู้ที่มีทักษะการเล่าเรื่องจะสามารถเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ของเรื่องให้เด็กฟังถึงเหตุการณ์ของเรื่องตั้งแต่ต้น จนจบ โดยเรียงลำดับเหตุการณ์ให้เข้าใจได้ง่ายไม่สับสน มีการใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจเหมาะกับระดับผู้ฟัง ดำเนินเรื่องได้ต่อเนื่องไม่สับสนวกวน โดยอาจสรุปจบท้ายด้วยการใช้เทคนิคในการถามให้คิด เช่น นักเรียนคิดว่า นิทานเรื่องนี้ทำให้นักเรียนได้ข้อคิดนำไปปฏิบัติอย่างไรบ้าง

2. ทักษะการใช้กริยาท่างทางคืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง

จากตัวอย่างการเล่าเรื่องข้างบน ถ้าบุคคลมีทักษะการใช้กริยาท่าทางจะมีความสามารถที่จะใช้ท่าทางน้ำเสียง และกริยาอาการต่าง ๆ ประกอบโดยมีการแสดงท่าทางประกอบ ใช้น้ำเสียงและลีลาที่น่าฟัง น่าติดตามใช้ภาษาง่าย ๆ เหมาะกับผู้ฟัง ทำให้เรื่องราวน่าสนใจ น่าติดตาม และสื่อความหมายให้ผู้ฟังได้เข้าใจชัดเจนขึ้น

3. ทักษะการใช้บทบาทสมมุติคืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง

จากตัวอย่างการเล่าเรื่องข้างบน ถ้าบุคคลมีทักษะการใช้บทบาทสมมุติจะมีความสามารถที่จะแสดงท่าทาง อากัปกริยาอาการ ในการเป็นสิ่งต่าง ๆ นั้น หรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดว่า ถ้าตนเองเป็นกระต่ายเจอเหตุการณ์ที่ลูกตาลหล่นลงมาจะต้องทำท่าทางตกใจอย่างไรจึงจะเหมือนกับกระต่ายในนิทาน ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โดยขณะที่มีการเล่าเรื่องครูอาจจะแสดงบทบาทสมมุติว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ประกอบไปด้วยหรือให้นักเรียนร่วมแสดงบทบาทสมมติประกอบไปด้วย

4. ทักษะการอภิปรายคืออะไรและมีลักษณะอย่างไรบ้าง

ทักษะการอภิปราย คือ การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อขยายขอบเขตของความรู้และความคิดต่อสิ่งนั้นให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าสาระที่ได้โดยตรงจากเหตุการณ์ใด ๆ เช่น เมื่อเล่านิทานเสร็จ ครูให้นักเรียนทุกคนร่วมกันคิดถึงสิ่งที่ได้รับฟังมาแล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลว่า

1. อะไรเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหยียบกันบาดเจ็บล้มตาย เพราะอะไร

2. ถ้าให้นักเรียนเลือกที่จะเป็นสัตว์อะไร ก็ได้ในเรื่องเล่านี้ นักเรียนต้องการเป็นสัตว์อะไร เพราะเหตุผลใด

นามสกุลเหมือนหนูเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท