rucha
nuch รุจิราพร โชคพิพัฒน์พร

ฉบับที่ 1 ร่างโครงการเสนอที่ปรึกษา เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้


รวบมือและใจ....หว่านกล้ารักษาโรคไร้สัญชาติ ...สร้างสรรพสิ่งทุกชีวิตแห่งผืนดิน-น้ำ ถึงผืนคอนกรีต ยากแล้วไซร้ใยลืมซึ่งคงไว้แห่งวิถีธรรมชาติอีกครา แม้นสรรพสิ่งมิหยุดเคลื่อนไหวท่ามกลางกาลเวลา เลือกเกิดไม่ได้แล้วกลับจึงรักษาและป้องกัน
หลักการและเหตุผลทำไม ?  ต้องเป็นพื้นที่ป่าแก่งกระจาน
เมื่อ    ในหลวง   ทรงห่วงใย  ทรงมอบเหรียญชาวเขาให้กับชาวกะเหรี่ยงตั้งแต่ ปี  พ.ศ.2512    ถึงปี  พ.ศ.2522  ทรงมีกระแสพระราชดำรัสห่วงใยเรื่องป่าต้นน้ำ  ที่มีกลุ่มนายทุนทำสัมปทาน และลักลอบถางป่า  ประกอบกับนโยบายรัฐบาลจึงมี  มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ปี  2512  ถึงปัจจุบัน  มีการดำเนินการจากภาครัฐ จัดทำ หลักฐานเอกสาร ทะเบียนประวัติ  และบัตรประจำตัวประชาชน  สำหรับชาวกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจาน  ไม่ถึงร้อยละ 50  Ã เพราะเหตุใด   สาเหตุเป็นเพราะวิถีของชาวกะเหรี่ยงเข้าไม่ถึงภาครัฐ  หรือ  สาเหตุความยากลำบากที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงตัวตนของชาวกะเหรี่ยง  ที่จำต้องให้ชาวกะเหรี่ยงเดินออกจากป่าเพื่อมาพิสูจน์ตน  ทั้งที่ชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่บนผืนป่าแห่งนี้มากว่า  200  ปี  ก่อนการประกาศอุนยานและก่อนจะมีกฎหมายสัญชาติเกิดขึ้นในประเทศไทย  เพียงข้อเท็จจริงเบื้องต้นดังกล่าว  อาจจะตอบคำถามได้ไม่เสร็จสรรพ  ถ้าไม่มีกระบวนทำงานที่สอดคล้องกับวิถีของชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 


à  จากตัวเลขตามการรายงานผลจากส่วนราชการท้องถิ่นระดับจังหวัด  2 จังหวัด  ระบุคนไร้สัญชาติที่มีชื่อในระบบฐานข้อมูลที่ยังต้องรอการพิจารณาแก้ไขปัญหาความไร้สัญชาติ  เพียง  642  คน  (ปี 2549)  ,  จากระบบข้อมูลของศูนย์ศึกษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น  เข้าช่วยเหลือด้านปฏิบัติการระดับชุมชน และระดับอำเภอ  และสำรวจโดยผู้นำทางธรรมชาติ  ยังคงพบว่ามีกว่า  200  คนใน 2 ชุมชนที่ยังไร้รัฐ  อีกทั้งมีหน่วยงานตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดสมเด็จพรเทพ  เข้าสำรวจใน  3  ชุมชน  พบถึง  258  ชีวิต  ) 

สถารณ์ด้านสุขภาวะ  ปัจจุบันของคนอยู่กับป่า  บพผืนป่าแก่งกระจาน  

 
 
  • ถึงแม้วิถีชีวิตที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันจะแตกกับชาวกะเหรี่ยงด้านทิศเหนือตามกายภายนอก แม้เหลือเพียงหัวใจชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ที ยังคงซึ่งความเคารพป่า น้ำ ดิน  ที่หล่อเลี้ยงและสร้างชีวิตอยู่ได้  สาเหตุไม่ไกล  เพราะป่าแก่งกระจานห่างจากเมืองสยามเพียง  15  วัน  (300 กิโลเมตร)
  • สถานการณ์ด้านสุขภาวะจากสังคมเมืองสยาม  สู่สถานการณ์ความเป็น   คนบ้านป่า   ที่คงไว้ในความเป็นตัวตนชาวกะเหรี่ยง  ถ้าบุคคลใดยังเรียกตนเองว่า   ปาเกอญ๊อ   เมื่อมิได้บอกตนเองว่าเป็น  ปาเกอญ๊อ  จะผิดไหมถ้าจำต้องตามสถานการณ์เมืองสยาม  วันนี้รับจ้าง   เกี่ยวหญ้าวัว  ฟันร่องไร่สับปะรด  เก็บมะนาว  ฉีดยาฆ่าแมลง    ทำทุกอย่างให้ได้ฟังเพลง  มีโทรศัพท์มือถือ  (ทั้งที่ในป่าไม่มีสัญญาณ)  มีรถมอไซด์ไว้ขี่ซื้อมาม่า  ซื้อทุกอย่าง  เหมือนชาวสยามกรุงเทพที่มาเยือนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
กรณีศึกษาต้นแบบ   จอบิ[1]  ไม่มีนามสกุล   กรณีศึกษาต้นแบบบนผืนป่าแก่งกระจาน   ที่ทำให้หลายคนเชื่อมั่นอีกทางได้ว่า  ยังมีความยุติธรรมลงเหลือในสังคมปัจจุบัน  แต่กระนั้นก็จักต้องมีกระบวนการการช่วยเหลือ-และศึกษาจากหลายๆฝ่ายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 


[1] ศึกษาจาก  .. http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=60&d_id=60                       

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อขจัดสภาพปัญหาโรคไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ  
  2. เพื่อรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงทุกสภาวะปัญหารวมภึงฐานข้อมูลแต่ละบุคคล บุคคลที่ประสบโรคไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
  3. สนับสนุนศักยภาพ  ในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไร้รัฐ ไร้สัญชาติ  ระดับประชาชนเจ้าของปัญหาและระดับเจ้าหน้าที่ที่เสมือนพยาบาลคอยดูแลรักษา 
  4. เพื่อพัฒนาเครือข่ายในการแก้ไขสภาวะปัญหาร่วมกันระหว่างองค์กรชุมชนกับองค์กรชุมชนโดยใช้ระบบฐานข้อมูลและการแลกเปลี่ยนความภูมิปัญญาในการรักษาโรค
  5. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะโดยการนำเสนอเผยแพร่ภูมิปัญญาการรักษาโรคไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
กลุ่มเป้าหมาย   /   เขตพื้นที่ดำเนินการตัวแทนจากชุมชนในพื้นที่ที่ประสบโรคไรรัฐ ไร้สัญชาติ  15  คนผู้ประสบโรคไร้รัฐ  บนผืนป่าแก่งกระจาน  ประกอบไปด้วย  8  ชุมชน  6  ตำบล 2  อำเภอ  2  จังหวัด  จำนวนประมาณ  1,000  คนดังนี้ 

อำเภอแก่งกระจาน 

ชุมชนบ้านโป่งลึก   ชุมชนบ้านบางกรอยชุมชนบ้านป่าเด็งชุมชนบ้านห้วยสัตว์เล็กและห้วยสัตว์ใหญ่ชุมชนบ้านห้วยโสก 
อำเภอหัวหิน   ชุมชนบ้านป่าละอู    ชุมชนบ้านห้วยแห้ง  (โคนมพัฒนา)ชุมชนบ้านแพรกตะคร้อ 

การดำเนินโครงการ  /  แบ่งเป็น  3  ภาค  คือ 

ภาคที่  1  -   ศึกษาร่วม-   ศึกษาโรคไร้รัฐ  จากข้อมูลภาคประชาชน  ภาคราชการ  และองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ดำเนินการ  อันได้แก่  สำนักทะเบียนอำเภอแก่งกระจาน  สำนักทะเบียนอำเภอหัวหินสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยผู้นำตามธรรมชาติในแต่ละชุมชนกรรมการระดับชุมชน / ประชาคม / ตำบลส่วนป้องกันชายแดน  ตำรวจตระเวนชายแดน 142 / 145

-   รวบรวมสูตรสมุนไพรในการต้านโรคไร้รัฐจากภาควิชาการ  และองค์กรพัฒนาเอกชน  รวมถึงองค์กรภาคประชาชน  เพื่อเสริมองค์ความรู้ทั้งระดับเจ้าของปัญหาและระดับเจ้าหน้าที่ที่แก้ไขปัญหา   อันได้แก่

(1)           สูตรจากโครงการห้องเรียนกฎหมายสำหรับคนไร้รัฐไร้สัญชาติ  โดย  คุณชลฤทัย  แก้วรุ่งเรือง  และ  คุณบงกช  นภาอัมพร  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(2)           สูตรจากห้องเรียนกฎหมายด้านสถานะบุคคล   โดยสำนักกฎหมายธรรมสติ  คุณสรินยา  กิจประยูร  และ  คุณชุติ  งามอุรุเลิศ  ที่เน้นหลักกฎหมายเรื่องสถานะบุคคล  และเทคนิคในการซักถามผู้ยื่นคำร้อง  รวมถึงการตรวจสอบพยานหลักฐานในการพิสูจน์ตัวบุคคล                       

ภาคที่  2   -   การทดลองยาต้านโรคและรักษาโรค

ห้องเรียนปรุงยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคไร้สัญชาติ  แบ่งเป็น  2  ห้องเรียน  คือ  ห้องเรียนธรรมชาติ   และ   ห้องเรียนวิชาการ   (เพื่อให้ผู้เป็นโรคสามารถเลือกที่จะเข้ารักษาได้ทั้ง 2  ห้อง   สาเหตุเนื่องจากผู้ประสบโรคไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ  มี 2  ลักษณะคือ   โรคที่สามารถจับปากกาได้ (อ่านออกเขียนได้)   และ  โรคที่ไม่สามารถจับปากกาได้  (อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้) 

ชื่อห้องทดลอง

ลักษณะการรักษา
ห้องเรียนธรรมชาติ กิจกรรมพบปะเยี่ยมเยียน เสนอ-แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา   เพื่อติดตามแก้ไขโรคไร้รัฐ  ร่วมกันกับในแต่ละชุมชน  ในลักษณะการจัดสัญจรไปในทุกพื้นที่เป้าหมาย เดือนละ  1  ครั้ง แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา   เพื่อติดตามแก้ไขโรคไร้รัฐ  ร่วมกันกับเครือข่ายคนไร้รัฐ ในประเทศ ในลักษณะการเข้าร่วมประชุม / จัดวงเสวนาลงพื้นที่ ภาคกลาง / ภาคเหนือ /ภาคใต้ และลงพื้นที่แลกเปลี่ยนวิถีการจัดการโรคไร้รัฐกับกลุ่มองค์กรชุมชน  4  ครั้ง สร้างระบบข้อเท็จจริงของบุคคล ที่จัดทำโดยตัวแทนคนไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ  โดยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ(WorkShop) และจัดการเชื่อมระบบ- พัฒนาระบบข้อมูลกับเครือข่าย 
ห้องเรียนวิชาการ กิจกรรมห้องเรียนเพื่อจำแนก สถานะบุคคล และกฎหมายสำหรับคนไร้รัฐไร้สัญชาติ  โดยการนำสูตรจากสำนักงานกฎหมายธรรมสติ  เพื่อสร้างห้องทดลองยาต้านโรคไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ  ห้องทดลองเพื่อผู้ประสบโรคไร้รัฐห้องทดลองเพื่อผู้ประสบโรคไร้สัญชาติห้องปรุงยาเพื่อแก่เจ้าหน้าที่พยาบาลรักษาโรคไร้รัฐ ไร้สัญชาติ  ห้องเรียนเพื่อกำหนดสถานะบุคคล ตามข้อเท็จจริงจากห้องเรียนธรรมชาติ  จัดเวทีแลกเปลี่ยน/ กับพยาบาลเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ส่วนระดับท้องถิ่น ระดับตำบล / อำเภอ / จังหวัดประเด็นปัญหาในการทำงานด้านการกำหนดสถานภาพ  บุคคล  รวมทั้งเพื่อการติดตามและเร่งรัดให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพในรัฐระดับพื้นที่ต่อไป
 

ภาคที่  3   -  บรรจุยาสมุนไพรเพื่อเตรียมหว่านกล้า

-   เป็นการนำเสนอห้องทดลองยา  เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวคิดของผู้ประสบโรค  และเจ้าหน้าที่รักษาโรคต่อสาธารณะชน  โดยการอัดแท่งตัวยาลงแคปสูล  (ผลิตสื่อ) เพื่อเป็นตัวอย่างและติดตามผลต่อไปได้   จัดเวทีเพื่อนำเสนอ  2  ครั้ง  คือ  สรุปเนื้อหา / ติดตามประเด็นที่นำเสนอ   จัดลงสื่อ เผยแพร่  / 2 ภาษา  ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ28  เดือน   -  ตั้งแต่   29  กุมภาพันธ์   2550  - 

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

ตามธรรมชาติ

ตามกิจกรรม
1.  เพื่อการกอบกู้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 1. ผู้ประสบโรคไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ  ที่เข้าห้องทดลองยาต้านโรค  เกิดความเข้าใจในสิทธิตามกฎหมายและนโยบาย และสนับสนุนเกิดความมั่นใจในการใช้สิทธิ
2.  เพื่อรักษารอยแผลจากการถูกละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ 2.  ผู้ประสบโรคไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ  มีความเข้าใจในกระบวนการและสามารถมีส่วนร่วมในการพิสูจน์สถานะบุคคลได้โดยการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานภายในชุมชนแบบวิถีทางธรรมชาติ
3.  เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันความเป็นพลเมือง 3. ผู้ประสบโรคไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ ได้รับยาป้องกันโรคไร้รัฐ ไร้สัญชาติ  ที่สามารถต่อต้านความไร้รัฐ ไร้สัญชาติได้อย่างยั่งยืน  และเจ้าหน้าที่ภาคปฏิบัติสามารถรักษาโรค  ไร้รัฐ  ไร้สัญชาติได้อย่างมั่นใจและเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย
4.  เพื่อเสริมพลังแห่งภูมิปัญญาในการต่อสู้โรคไร้รัฐ  ไร้สัญชาติ  4. ผู้ประสบความไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความเป็นตัวตันกับเครือข่ายคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ  ในประเทศไทย 

 

แนวคิดในการดำเนินงาน  ได้มีสัญชาติ...อะไรเนี่ย  แล้วท้องอิ่มไหม  คงรอไม่ไหวถ้าท้องไม่อิ่ม  ไปก่อนนะ  ไปหยอดข้าวไร่ก่อน     เสียงจากผู้เฒ่าโป่งลึก  การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น  ตั้งแต่ปี  2543  ถึงปัจจุบัน   จักต้องฟังเสียงสะท้อนของบุคคลและชุมชนในพื้นที่ทุกครั้งก่อนที่จะก้าวข้ามเพื่อดำเนินการส่งเสริมวิถีชุมชนให้สอดคล้องกับสภาวะสถานการณ์ปัจจุบัน  

 

หมายเลขบันทึก: 73491เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากทราบความคิดเห็นจากทุกท่าน 

1. ด้านแนวคิด

2. ด้านการทำงาน

3. ด้านความสำคัญของสภาพปัญหา

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท