การพัฒนาบุคลากรภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ


การเรียนรู้ไม่จำเป็นจะต้องเกิดที่ห้องเรียนเท่านั้น ถ้าต้องการที่จะแสวงหาความรู้ แม้แต่ถุงกระดาษที่เขาพับห่อของ ก็ให้ความรู้ได้

สัปดาห์นี้ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT กับเพื่อร่วมงาน โดยเริ่มจากโจทย์ว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 นี้ งานสานสเทศ ของ ศนอ. ไม่ได้รับการจัดสรรค งบประมาณเลย แม้แต่บาทเดียว (ค่อนข้างจะตรงข้ามกับนโยบายที่บอกว่างานนี้มีความสำคัญอย่างมาก) แต่สิ่งที่ต้องการคือ ทำอย่างไรให้บุคลากรในระดับจังหวัดหรือบุคลากร กศน. มีความรู้ความสามารถในการใช้งาน ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพงานการศึกษานอกโรงเรียน สิ่งแรกที่คิดคือ เรามีต้นทุนอะไรบ้าง ในปัจจุบัน พบว่าเรามีเครื่องไม้เครื่องมือที่มีคุณภาพดีมาก เรามีบุคลากร ที่มีความสามารถ เรามีเครือข่าย ที่ดี เรามีสื่อการเรียนรู้อยู่จำนวนหนึ่ง ไม่มีเฉพาะเงิน ถ้าอย่างนั้น ก็ต้องคิดว่า เราจะเอาทุนที่เรามีนี้ มาดำเนินการให้เกิดผลได้อย่างไรบ้าง

     ประการแรก มีห้องเรียนคอมพิวเตอร์ จะใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง เพราะไม่มีงบประมาณในการจัดการอบรม การที่จะให้บุคลากรเดินทางมาอบรมต้องใช้งบประมาณ คงเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ถ้าจำเป็นจะต้องเดินทางมาอบรมก็ต้องใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัดของตนเองมาอบรม ระยะเวลาอบรมต้องไม่ยาว จำนวนผู้เข้าอบรมต้องไม่มาก ดังนั้น จำเป็นต้องมีกิจกรรมในห้องอบรมให้น้อยที่สุด แต่ให้เรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน หรือหน่วยงานตนเองให้มากที่สุด การอบรมให้ห้องอบรม จะใช้เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น โดยจัดเฉพาะเนื้อหาที่จำเป็น

     ประการที่ 2 มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบ Server ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้าใช้เครือข่ายของแต่ละจังหวัดให้เป็นประโยชน์ การอบรมก็ใช้รูปแบบทางไกล ผ่านเครือข่าย Internet ซึ่ง เรามีเครื่องที่มีศักยภาพ ที่จะเผยแพร่สื่อ ทั้งเอกสาร สื่อ Multimedia สื่อ Video ผ่าน Internet ได้ ดังนั้น เนื้อหาบางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องมาอบรมในห้องอบรม เรียนทางไกล จากสื่อผ่านระบบ Internet ได้

     ประการที่ 3 เรามีบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะเรื่องจำนวนมาก ถ้าให้บุคลากรเหล่านั้น นำเอาความรู้ มาเผยแพร่ในเครือข่าย Internet แค่คนละ 1 เรื่อง ทุกจังหวัดในภาคอีสาน ก็จะได้เนื้อหามากมาย ให้พวกเราได้เรียนรู้ ประกอบกับเครือข่าย Internet ของ กศน. ทุกจังหวัดในภาคอีสาน เชื่อมโยงกันได้ และในระดับอำเภอ ก็สามารถใช้เครือข่าย Internet ของจังหวัดได้ ก็ทำให้การเรียนรู้ สามารถกระจายได้กว้างขวางขึ้น

     ประการที่ 4 เรามีสื่อเพื่อการเรียนรู้มากมาย สื่อบางอย่างก็มีให้เรียนรู้ ในเครือข่าย Internet แล้ว สื่อบางอย่างก็อยู่ในรูปแบบอื่นๆ และพร้อมที่จะปรับให้เผยแพร่ใน Internet ได้ ดังนั้น ถ้ามีการรวบรวมสื่อเหล่านั้นเข้ามาเป็นหมวดหมู่ ทั้งที่เราผลิตเอง และผู้อื่นผลิต เท่านี้ก็มีแหล่งให้เรียนรู้มากมาย

     ประการสุดท้าย บุคลากรที่จะได้รับการพัฒนา ถ้ามีความตั้งใจ พร้อม และต้องการจะเรียนรู้ ไม่ว่า จะเรียนรู้โดยการไปอบรมในห้องเรียน หรือเรียนรู้ด้วยวิธีการอื่นๆ ก็สามารถที่จะแสวงหาวคามรู้ให้กับตัวเองได้ตลอดเวลา ขอให้เนื้อหาเรื่องนั้นตรงกับความต้องการ ความจำเป็น

     คิดแล้วก็ลงมือทำทันที ปัดฝุ่น website e-Training (http://202.143.141.237/etraining/) กันอีกครั้ง เริ่มวางแผนกำหนดเนื้อหาที่จะใช้ บุคลากรที่จะช่วย ทำให้มองเห็นช่องทางชัดเจนขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #e-training
หมายเลขบันทึก: 73118เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท