การเยียวยาความเสียหายแก่ปัจเจกชนผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน


การใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อเยียวยาความเสียหายที่ได้รับจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

                  ปัจจุบันปัจเจกชนผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนในกรอบของ UN ยังไม่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อขอรับการเยียวยาความเสียหายได้โดยตรง แต่ต้องกระทำการผ่านรัฐซึ่งเป็นเจ้าของสัญชาติของตนเพื่อใช้สิทธิของรัฐเจ้าของสัญชาติไปเรียกร้องรัฐที่กระทำการละเมิดแทนตนเอง ซึ่งหากรัฐเจ้าของสัญชาติใช้สิทธิเรียกร้องแทนปัจเจกชนผู้เสียหายก็ได้รับการเยียวยาความเสียหาย แต่ส่วนมากการใช้สิทธิของรัฐเจ้าของสัญชาติก็มีข้อจำกัดมาก กล่าวคือ ต้องพิจารณาให้ดีว่าถ้ารัฐจะใช้สิทธิแทน จะมีผลกระทบกับประเทศชาติหรือไม่เพราะอาจทำลายความสัมพันธ์ในทางระหว่างประเทศได้ จึงต้องดูให้ดีและนี่ก็เป็นปัญหาสำคัญของปัจเจกชนที่ไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายตามสิทธิที่ควรจะได้

                 ปัญหาสำคัญอีกประการก็คือ การใช้สิทธิเพื่อขอรับการเยียวยาต้องผ่านกระบวนการภายในประเทศจนจบขั้นตอนก่อน หากยังไม่ครบขั้นตอนภายในประเทศ และปัจเจกชนขอใช้สิทธิเพื่อขอรับการเยียวยาความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนในกรอบของ UN  คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ก็ไม่สามารถรับเรื่องร้องทุกข์นั้นได้ ปัจเจกชนก็ต้องเสียเวลากว่าจะได้รับการเยียวยาความเสียหายในเรื่องนั้นๆ ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นอุปสรรคสำคัญของปัจเจกชนอีกเรื่องหนึ่ง

                ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งจัดทำขึ้นในกรอบของ UN ที่มีกระบวนการเยียวยาความเสียหายแก่ปัจเจกชนผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการให้สิทธิปัจเจกชนมีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการตามสนธิสัญญานั้นแล้ว 2 เรื่องคือ

                 1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                 2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ 

                 แต่ประเทศไทยก็ยังไม่มีหน่วยงานที่มารองรับเรื่องนี้โดยตรง ทำให้การให้ความช่วยเหลือแก่ปัจเจกชนผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนยังไม่ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่เพราะเรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตย ดังนั้น จึงต้องศึกษารายละเอียด ขั้นตอนอย่างถี่ถ้วน และถ่องแท้ เพื่อป้องกันความเสียหายหากประเทศไทยไปให้สัตยาบัน หรือให้ความผูกพันเอาไว้

http://gotoknow.org/file/saisaard/view/55512

คำสำคัญ (Tags): #เจ็ดราตรี
หมายเลขบันทึก: 72522เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  คนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนคงต้องต่อสู้ด้วยตนเองต่อไปอีกตามเคย รัฐและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้  ก็ต้องอาศัยประชาชนอย่างเราๆนี้แหละช่วยกันกระตุ้นและผลักดันล่ะครับ

ขอบคุณคุณฉัตรชัยนะค่ะที่เข้ามาให้ข้อคิดเห็น เมื่อวันที่รายงาน อจ.นพนิธิฯ ได้สอบถาม อจ.นพนิธิฯ ว่า ถ้าในกรอบของ UN ปัจเจกชนไม่สามารถเรียกร้องเพื่อขอรับการเยียวยาจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ด้วยตนเองโดยตรง แต่ต้องกระทำผ่านรัฐเจ้าของสัญชาติของตนเอง แต่ถ้าในกรอบของ EU ปัจเจกชนสามารถยื่นเรื่องเพื่อขอรับการเยียวยาได้โดยตรง จึงเป็นอะไรที่น่าศึกษาเหมือนกันว่า ทำไมจึงแตกต่าง ถ้ามีโอกาสไปค้นคว้าหาข้อมูลมาได้ จะนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ แต่ตอนนี้มีความรู้แค่ในกรอบของ UN ค่ะ 

สวัสดีค่ะ

มีความยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

มาบอกขอบคุณที่ได้เข้าไปเยี่ยมบันทึก เป็นการให้กำลังใจค่ะ

ขอให้มีสึขภาพแข็งแรงนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท