เรียนไร้รูปแบบ...กับคนไร้กรอบ


เรียนกับอาจารย์วรภัทร์ ภู่เจริญ จึงเป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ที่มากด้วยสาระ จริงๆ..แถมไร้กรอบ..อีกต่างหากครับ

       นับเป็นสองวัน (10 – 11 /1) ที่มีคุณค่ามากสำหรับผม อีกครั้งหนึ่ง ที่ได้ร่วมเรียนรู้กับ  อ.วรภัทร์  ภู่เจริญ หรือ คนไร้กรอบ รูปแบบการเรียนของอาจารย์ ไร้กรอบจริงๆครับ ไม่มีการยึดติดกับรูปแบบ แต่เนื้อหาสาระเพียบ  

        วันแรก (10 /1) อาจารย์ ชวนเรียนเรื่อง Learning Organization ซึ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นพนักงานที่ร่วมโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของปูนท่าหลวง  อาคารที่เรียนเป็นอาคารชั้นเดียว  มีห้องเรียนที่ตั้งโต๊ะคอมพิวเตอร์ไว้ รอบห้องตรงกลางทิ้งว่างไว้เป็นที่กำกิจกรรมต่างๆ ...นอกห้องเป็นที่ว่างโล่งซึ่งกว้างประมาณ 4 เมตร ยาว 9 เมตร ..การเลือกที่เรียน เราตามใจผู้เรียนครับ แล้วแต่ผู้เรียนจะเลือกสถานที่ และรูปแบบการนั่งเรียน สำหรับวันนี้ผู้เรียนทั้ง 21 คนเลือกที่จะปูเสื่อนั่งกับพื้น มีโต๊ะญี่ปุ่นวางไว้สำหรับเขียน บางคนก็หาหมอนมาพิง แก้เมื่อย บางคยก็นั่งพิงฝา..ชนิดที่ว่า  อยากนั่งอย่างไรก็ได้ ตามแต่ถนัด...

          มาถึงตอนเรียน อาจารย์มาในชุดที่สบายๆเช่นกัน นั่งกับเก้าอี้ที่หน้าห้อง มี flip chart วางไว้ด้านข้าง อาจารย์เริ่มต้นด้วยการชวนผู้เรียนคุย สัพเพเหระ สร้างความเป็นกันเอง สนุกสนานครื้นเครงเฮฮา ที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะของผู้เรียน ที่ดังลั่นห้อง  พอเห็นว่าผู้เรียนผ่อนคลายได้ที่แล้วอาจารย์ก็เริ่มเข้าเนื้อหา ระหว่างการเรียนอาจารย์จะสลับ ระหว่างเนื้อหา กับ การโยนมุขตลก พร้อมกับโยนคำถามให้ผู้เรียนได้คิด ได้พูด ได้คุย พูดได้ว่าเรียนกันจนลืมเวลาพักเที่ยง วันนี้จบลงด้วยความประทับใจของผู้เรียน ครับ..แทบทุกคนบอกว่า โดน..ถูกกระตุกต่อมคิดกัน  ให้ได้เห็นตัวตนของตนเองกันถ้วนหน้า

..... พอถึงช่วงเย็นอาจารย์ก็แถมท้ายด้วยการ ชวนแม่บ้านชาวปูนมาเรียนรู้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมาความสุขกันอีก ด้วยที่อาจารย์คิดว่าการที่คนจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุขได้นั้น  คนที่อยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน ลูกบ้าน ต้องมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน อยู่กันอย่างเข้าใจกัน การที่ชวนแม่บ้านมาเรียนรู้เป็นการสร้างความเข้าใจ อีกวิธีหนึ่งก็นับว่าเรียนรู้กันเป็นครอบครัวเลยล่ะครับ...

          วันที่สอง (11/1) อาจารย์พบกับพนักงานระดับ ผู้จัดการ Cell ซึ่งเนื้อหาสาระ เน้นเรื่องการสกัดความรู้ด้วยกระบวนการ storytelling วันนี้ก็เป็นการเรียนที่ไร้รูปแบบอีกเช่นกันครับ เพียงแต่เราเปลี่ยนสถานที่ เป็นที่อาคารฝึกอบรม เรียนรู้กันในห้อง ภายในห้อง จัดเก้าอี้ไว้ แต่ไม่มีโต๊ะให้ พอถึงเวลาเรียนหรือทำกิจกรรมกลุ่มก็ให้แยกกลุ่มตามถนัด บางกลุ่มก็นั่งเป็นวงกลมบนเก้าอี้  บางกลุ่มก็เลือกนั่งเป็นวงกลมกับพื้น แล้วแต่สะดวก  

          เรื่องของการจัดที่นั่งของผู้เรียน ก็นับว่าเป็นการสร้างบรรยากาศอีกวิธีหนึ่ง ที่ผู้เรียนเลือกได้ตามถนัด  สำหรับผมแล้วได้อยู่ร่วมทั้งสองวัน ทำให้ได้จุดเรียนรู้ว่า เวลาจัดที่นั่งให้พนักงาน ระดับปฏิบัติการ นั่งกับพื้นเหมาะที่สุดเพราะไม่ติดพุง นั่งๆไปก็เลื้อยกลายเป็นนอนได้เลย..ส่วนเวลาจัดให้ระดับ ผู้จัดการ Cell ควรจัดให้นั่งเก้าอี้ ไม่ใช่ว่าเป็นเพราะศักดินา หรือตำแหน่งนะครับ แต่เป็นเพาะว่าระดับผู้จัดการนั่งกับพื้นแล้วทรมานมากครับ แต่ละคนพุงค้ำยันลิ้นปี่ ทำให้หายใจลำบาก มากกว่าครับ..เรียนกับอาจารย์วรภัทร์  ภู่เจริญ  จึงเป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ที่มากด้วยสาระ จริงๆ..แถมไร้กรอบ..อีกต่างหากครับ  

คำสำคัญ (Tags): #lo
หมายเลขบันทึก: 72185เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • มาเรียนรู้วิทยายุทธครับ
  • ขอบคุณ
  • ได้ข้อคิดหลายเรื่องครับ  ประทับใจในแนวคิดการทำงานที่มีความสุขกับความพร้อมสมบูรณ์ของผู้อยู่เบื้องหลัง   คนเราถ้าที่บ้านมีความสุข อยู่ที่ไหนก็มีความสุข ครับ
  • ผู้บริหารการศึกษา   พอจะมีโอกาสได้เรียนรู้กับ ดร.วรภัทร์  แบบใกล้ชิดเหมือนกลุ่มท่าน หรือเปล่าครับ
  • ตาม อ.Panda และ ผอ.เม็กดำ1มาเรียนรู้ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
ขอบคุณค่ะ....ตามมาเก็บเกี่ยว...การพัฒนาคุณค่าคนของท่านค่ะ

ขอบคุณทุกท่านครับ..

  • อ. Panda คงได้เจอกับ อ.วรภัทร์ ในวันที่ 24 นี้นะครับ ..
  • ท่านเม็กดำ1 ครับ..หากอยากเจอ อ.วรภัทร์ ก็ลองติดต่อ อ.Panda หรือไม่ก็มาที่วัดธรรมอุทยาน จ.ขอนแก่นนะครับ ช่วงวันที่ 23 -26 อาจารย์อยู่แถวๆนั้นครับ..หรือหากโอกาสหน้าท่านสนใจ มาเรียนรู้ร่วมกับอาจารย์ ที่ปูนก็ได้นะครับ เพราะอาจารย์มรที่ปูนทุกเดือนครับ..
  • พี่สิงห์ป่าสัก  ..คุณเมตตา..ด้วยความยินดี.. ลปรร. ...กันนะครับง.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท