ปะติดปะต่อเรื่องแคดเมี่ยม คอร์รัปชั่นครั้งใหญ่


ปะติดปะต่อเรื่องแคดเมี่ยม   คอร์รัปชั่นครั้งใหญ่ 

ได้จากไลน์ ที่ส่งต่อกันมาสองตอน 

ตอนแรก สรุปประเด็นกากแร่แคดเมียม

1. แคดเมียม เป็นของเสียที่ได้จากอุตสาหกรรมเหมืองหลายอย่าง เช่น เหมืองสังกะสี จะได้ผลผลิตคือแคดเมียมมาด้วย

2. แคดเมียมต้นเรื่อง เป็นแคดเมียมที่ถูกเก็บในโกดังและบ่อเก็บกากอุตสาหกรรม ที่ตาก ซึ่งมีแคดเมียมปริมาณ ประมาณ สามแสนตัน ถูกเก็บพักไว้ในนี้ และตามกฏหมาย กากแคดเมียมพวกนี้ จะถูกฝังกลบไว้ตลอดกาล ไม่สามารถขุดขึ้นมาได้

3. มีมือดี แอบไปขุดและขนย้ายกากแคดเมียมเหล่านี้ออกมาจำนวนนึง ประมาณ 15000 ตัน แล้วส่งขายให้นายทุนจีน (ประเด็นนี้ทาง จนท บอกว่า คนขุดมีใบอนุญาตขุด แต่แร่พวกนี้ มีประกาศห้ามขุดให้ฝังกลบไว้ตลอดไป จึงเป็นประเด็นว่า ใครไปออกใบอนุญาตให้ น่าจะมี จนท เกี่ยวข้องด้วย)

4. แคดเมียม เป็นแร่ที่มีมูลค่าสูง สามารถเอาไปใช้เป็นส่วนประกอบในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมรถไฟฟ้า แบทเตอรี่ โซลาร์เซลล์ ซึ่งตอนนี้กำลังบูมมากที่จีน

5. นายทุนจีน ไปซื้อมาตันละ 8250 บาท แล้วขายต่อให้โรงหลอมในหลายพื้นที่ เช่น สมุทรสาคร เอาไปถลุงอัดเป็นก้อน ก่อนส่งไปขายที่จีน ราคาของแคดเมียมเกรดต่ำเห็นว่าราคาตลาดราวๆ 4หมื่นบาทต่อตัน ถ้าเกรดดีๆก็แสนเจ็ดต่อตัน

6. โรงงานทั้งหมดในไทย ยังไม่มีเทคโนโลยีที่สูงพอที่จะหลอมแคดเมียมได้อย่างปลอดภัย และไม่เกิดการปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม ดังที่ปรากฏว่าคนงานในโรงงานที่เจอกากแคดเมียม พอเอาไปตรวจ พบระดับแคดเมียมสูงผิดปรกติทุกคน

7. หากมีการปนเปื้อนของแคดเมียมสู่สภาพแวดล้อม หากลงสู่แหล่งน้ำ ไปสู่สัตว์ทะเล เช่น ปลา หอย พอคนกินเข้าไปจะเกิดการสะสมของแคดเมียมจนเป็นอันตราย เรียกว่าโรค อิไตอิไต ทำให้คนที่ได้รับแคดเมียมสะสม ไตวาย ตับวาย ปวดรวดร้าวไปทั้งตัว พิกลพิการกันไป

8. จนท กำลังเร่งตรวจสภาพแวดล้อมรอบๆจุดที่พบแคดเมียมว่ามีการปนเปื้อนสู่สภาพแวดล้อมหรือไม่

9. ล่าสุดเจอแคดเมียมแถวบางซื่อแล้วด้วยอีกหลายร้อยตัน 

ตอนที่สอง   ดร. มานะ นิมิตรมงคล

วิกฤตแคดเมียม: คอร์รัปชันที่แลกด้วยชีวิตประชาชน
วิกฤตแคดเมียมเกิดจากคอร์รัปชันในการออกใบอนุญาตอนุมัติของใครบางคนในกระทรวงอุตสาหกรรม การจ่ายใต้โต๊ะในเรื่องแบบนี้แม้ผู้จ่ายจำยอมหรือเป็นฝ่ายเสนอให้แต่ก็สมประโยชน์ แต่ครั้งนี้พวกเขาร่ำรวยขึ้นบนเสี่ยงที่แลกด้วยชีวิตและสุขภาพของประชาชนมากเกินไป

ใครบ้างได้ประโยชน์?..

1. นายทุนเจ้าของเหมืองคือผู้ได้ประโยชน์ก่อนใครจากกากแร่พิษ ที่กฎหมายเคยบังคับให้ฝังไว้ใต้ดินเป็นขยะตลอดไป แต่วันนี้กลับขายได้ราว 100 ล้านบาท แถมที่ดินผืนนั้นก็กลับมามีมูลค่าอีกครั้ง

2. นายทุนต่างชาติที่กล้าซื้อของล็อตใหญ่คงย่ามใจว่าประเทศไทยอะไรก็ซื้อได้แม้เจ้าหน้าที่รัฐ

กากแร่ 13,832 ตันต้องใช้รถบรรทุก 10 ล้อ ราว 550 คัน

พื้นที่เก็บกองก็ไม่ใช่ห้องแถวลับๆ แต่อยู่บนที่ดินกว่า 80 ไร่ ใหญ่ขนาดเปิดกูเกิ้ลยังมองเห็น อย่างนี้อุตสาหกรรมจังหวัด กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานฯ กรมโรงงานฯ ท่านผู้ว่าฯ ของทั้งสองจังหวัดจะชี้แจงอย่างไร

3. คอร์รัปชันในการบริหารราชการของอุตสาหกรรมจังหวัด เขาโกงความไว้วางใจของประชาชน ออกใบอนุญาตให้มีการขนย้ายกากแร่พิษ แถมยังขาดการติดตามควบคุมเส้นทางขนย้าย (Post Auditing Process)

คนรับราชการมาจนถึงซี 9 ต้องรู้แล้วว่า เป็นอันตรายต่อประชาชนในวงกว้าง ต้องใส่ใจเป็นพิเศษว่าวัตถุมีพิษมหาศาลขนาดนี้ควรจัดการอย่างไร ใครจะเอาไปไหน ไปทำอะไร

ขอเน้นเพื่อชวนติดตามกันว่า..

“ปรกติแล้วเรื่องใหญ่ขนาดนี้เส้นทางสินบนต้องขึ้นสูงมากไม่จบแค่ในจังหวัดแน่นอน”

ต้นตอของวิกฤต..

เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่เพิ่งรับรู้ว่า รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ยอมให้ขุดกากแร่พิษขึ้นมารีไซเคิลได้ การขออนุญาตขนย้ายก็ทำได้ง่ายขึ้น 
ขณะที่มาตรการควบคุมอ่อนแอ

เช่น ขาดการลงโทษที่รุนแรงต่อผู้ฝ่าฝืน การขนย้ายกากแร่ทำได้ง่าย โรงหลอมขาดการควบคุม ขาดมาตรฐานควบคุมมลพิษ เจ้าหน้าที่รัฐเกรงกลัวอิทธิพลและเกรงกลัวเอกชนฟ้องร้อง การบังคับใช้กฎหมายหย่อนยาน และเต็มไปด้วยคอร์รัปชัน (ที่มา: มูลนิธิบูรณะนิเวศ)

คนไทยต้องมีส่วนร่วมทบทวนและตรวจสอบ..

1. กากแร่ที่สมุทรสาครนายทุนบอกว่าจะเอาไปหลอม ส่วนที่ชลบุรีตั้งใจส่งออกไปต่างประเทศ แสดงว่าโลกเปลี่ยนไป ของที่เคยเป็นขยะกลับมีค่ามีราคาแพง ดังนั้นในอนาคตภาครัฐจะจัดการอย่างไรกับขยะอันตราย

2. การที่รัฐมีสนับสนุนให้เอกชนขุดขยะอิเลกทรอนิกส์และกากอุตสาหกรรมหรือนำเข้าจากต่างประเทศมารีไซเคิล จึงเปลี่ยนแปลงกฎหมายและ EIA แต่ยังขาดเงื่อนไขและมาตรการควบคุมที่ชัดเจน เป็นเรื่องเหมาะสมแล้วหรือไม่

3. ต้องเร่งรัดพิจารณาร่าง “พ.ร.บ. การรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ” (PRTR) ที่ภาคประชาชนเสนอ

บทสรุป..

ปัญหาเดิมๆ ของราชการไทยที่ทำให้เกิดคอร์รัปชันได้ง่าย คือ การปกปิดข้อมูลต่อสาธารณะ ผลประโยชน์การค้าของเอกชนแม้เป็นภัยต่อประชาชนก็ยังเป็นความลับ หน่วยงานรัฐไม่แชร์ข้อมูลในระบบให้หน่วยงานอื่นใช้ประโยชน์ นโยบายรัฐและกฎเกณฑ์เปลี่ยนไปมาขาดความชัดเจน

รัฐบาลต้องเห็นค่าของชีวิตประชาชน สำคัญกว่าความร่ำรวยจากธุรกิจ คนเป็น “รัฐมนตรี” ต้องเลิกหาประโยชน์จากระบบราชการที่บกพร่องอยู่ หันมาพัฒนาและสานต่อการปฏิรูประบบราชการให้ทันสมัย

ขอบคุณมูลนิธิบูรณะนิเวศและภาคประชาชนทุกท่าน ที่เปิดโปงวิกฤตนี้เพื่อประโยชน์ของสังคม

ดร. มานะ นิมิตรมงคล
10 เมษายน 2567

หมายเลขบันทึก: 717872เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2024 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2024 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท