ชีวิตที่พอเพียง  4694. KM ยุคใหม่


 

วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ทีม KM SCG ที่มีคุณหลิง (พรวิไล ธรรมพานิชวงศ์) กับคุณเอ๋ (สินชัย จันทร์สุคนธ์) ทำงานสังกัดฝ่ายพัฒนาบุคลากรของ SCG นัดมาสะท้อนคิดการทำงานในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา    เหมือนกับปีที่แล้ว ที่มาเดือนมีนาคม ๒๕๖๖   เท่ากับเราทำ annual reflective dialogue กัน   ปีนี้ฝ่ายผมมีคุณแอ็คกับ ดร. ผึ้ง ร่วมด้วย    ทั้งสองคนบอกว่า ได้เปิดหูเปิดตาเรื่อง KM    

ก่อนพบสองท่านนี้ ผมถาม  Gemini, ChatGPT และ Copilot ซึ่งเป็น Generative AI สามเจ้าหลัก ว่าในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา กิจกรรม ในโลกมีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง   ได้คำตอบที่ต่างกันมาก   ส่วนที่เหมือนคือ (๑) การใช้เทคโนโลยีช่วย โดยเฉพาะ AI และ Machine Learning  (๒) เน้นสร้างวัฒนธรรมแบ่งปันความรู้  (๓) เน้นการสื่อสารแลกเปลี่ยนผ่านโซเชี่ยลมีเดีย (๔) เปลี่ยนจากเน้นตรวจจับความรู้ เป็นเน้นสร้างและแบ่งปันความรู้   

นอกนั้นอีกหลายประเด็น สาม Gen AI ให้คำตอบแตกต่างกัน    และบางส่วนขัดแย้งกัน    สะท้อนความซับซ้อนและเป็นพลวัตของ KM    ได้แก่ประเด็น (๑) Personalization & Contextualization  (๒) การถ่ายทอดความรู้จากพนักงานใกล้เกษียณสู่พนักงานรุ่นเยาว์กว่า    (๓) เน้นจัดการ Tacit Knowledge  ด้วย Storytelling, CoP, และ mentoring program  (๔) เน้นจัดการสู่ Explicit Knowledge จาก Tacit Knowledge ด้วย Knowledge capture & codification เพื่อให้แชร์ง่าย และด้วย CoP (๕) ใช้ New Knowledge Management  

Copilot แนะนำบทความ The New Knowledge Management เสนอโดยบริษัท Deloitte เมื่อต้นปี 2021   ที่เปลี่ยนจากเน้น knowledge capture มาเป็นเน้น knowledge creation, knowledge transfer และการสร้างวัฒนธรรม knowledge sharing  ตีคู่กับการใช้ tools และ platform   ที่ โคไพล็อต สรุปว่าเป็นกระบวนการ dynamic collaboration    

คุณหลิงและคุณเก๋ใช้ PowerPoint จำนวนกว่า ๓๐ หน้านำเสนอกิจกรรมที่หน่วย KM ของ SCG ดำเนินการในฐานะหน่วยหารายได้  ผ่านการให้บริการที่ปรึกษา และจัดการฝึกอบรมหรือจัด workshop ให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก   ที่บางหน่วยงานใช้บริการติดต่อกันถึง ๕ ปี    บางหน่วยงาน ๔ ปี   สิ่งที่ทั้งสองท่านเล่าคือบางหน่วยงานที่ได้รับรางวัล KM มากมายมีชื่อเสียงมาก   แต่เมื่อตรวจสอบเข้าจริงไม่ก่อการเรียนรู้ภายในองค์กรเลย    ผมตีความว่าเป็นเพราะเขา “ทำ KM”  ไม่ได้ “ใช้ KM” เพื่อพัฒนาองค์กรและพัฒนาคน 

ผมเสนอต่อท่านทั้งสองว่า  ในสายตาของผม หลักการและเทคนิค KM ที่ทันสมัยและทรงพลังที่สุดในปัจจุบันคือ Experiential Learning    และเทคโนโลยีที่อันตรายต่อ KM คือ Gen AI ที่จะทำให้คนทำงานจำนวนหนึ่งมุ่งส่งงานโดยไม่เรียนรู้ ผ่านการใช้ Gen AI ช่วยคิดแทน 

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ก.พ. ๖๗

 

หมายเลขบันทึก: 717799เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2024 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2024 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think this “…เทคโนโลยีที่อันตรายต่อ KM คือ Gen AI ที่จะทำให้คนทำงานจำนวนหนึ่งมุ่งส่งงานโดยไม่เรียนรู้ ผ่านการใช้ Gen AI ช่วยคิดแทน…” is a misconception of AI’s (or Machine Learning - ML).

  • 1) AI/ML systems learn from “available” (=historical) data and report “summary” (that passes trainers’ criteria). AI/ML systems do not think. In a way ‘generative AI is just ‘vastly improved search engine’ - SE does not think either. Both facilities in human term ‘recall’ the recorded, available or accessible data. To make them ‘think’ AI/ML would need to have different kinds of ‘production rules’ (IF…THEN…[else…]) where the product/output from THEN [and/or ELSE] may be ‘novel to’ (not found in) the available data pool. Note Evolutionary may generate novelties by mis-copying , does Evolutionary thinks ?

  • 2) AI has advanced markedly, but still is ‘very young’. With good ‘ushering’, AI can benefit mankind. This Machine Intelligible (MI) https://www.gotoknow.org/journals/174469 talks about a path that AI may become (AI Net) to offer more intelligence capacity beyond any single individual human or machine. So, we need to ‘digitize’ our KM systems to allow AIs to learn from KMs - quickly.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท