วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ (KM) ปี 2567 งานวิชาการ ปีการศึกษา 2566 ประเด็นเรื่อง "กระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพพยาบาล"


การแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ (KM) 
เรื่อง “กระบวนการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพพยาบาล”

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ. ห้อง ห้องประชุมพวงผกา อาคารเรียน 1 ชั้น 6

กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ “การเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพพยาบาล” โดย ผศ.ดร.อัศนี วันชัย  ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี พุทธชินราช กล่าวถึงประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับจากการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพ ทำให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบทวนในการปฏิบัติหน้าที่พยาบาลวิชาชีพและทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับค่าตอบแทนตามคุณวุฒิดังนั้นการช่วยส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาเป็นบทบาทหน้าที่ของคณาจารย์ที่จะช่วยลูกศิษย์ต่อไป

วิทยากร คณาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

  1. ดร.ดวงดาว  อุบลแย้ม รองผู้อำนวยการด้านวิชาการ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
  2. อาจารย์จีราภรณ์  ชื่นฉ่ำ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
  3. ดร.นัยนา  ภูลม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
  4. ดร.วิยะการ แสงหัวช้าง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  5. อาจารย์พรนิภา วงษ์มาก อาจารย์รักษาการตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิชาการพยาบาลมารดาและทารก

ประเด็นที่ 1 แนวทางการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพพยาบาลในระดับสถาบัน

ดร. ดวงดาว อุบลแย้ม ได้กล่าวถึงบริบทโครงสร้างสาขาวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ดังนี้ 
โครงสร้างสาขาวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คือ 6 สาขาวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมาจาก 5 สาขาวิชา  หัวหน้าสาขา เป็นคนละคนกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 

  1. SMART class room เพื่อให้นักศึกษาใช้ ทำ conference  มีจำนวน  19  ห้อง ทุกคนสามารถใช้ห้องดังกล่าวได้เพียงแต่ต้องทำการจองใช้ห้องในระบบ  แต่ถ้าในกรณีที่มีการจองใช้ห้องสามารถสับหลีกได้
  2. ห้องเรียนขนาดใหญ่ 8 ขนาดกลาง 6
  3. ห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขา แยกพื้นที่แต่ละสาขาชัดเจน  ได้แก่ ห้องปฏิบัติการการพยาบาลผู้ใหญ่ , ห้องปฏิบัติผู้สูงอายุ, ห้องปฏิบัติการเด็กและวัยรุ่น, ห้องปฏิบัติการมารดาทารกและผดุงครรภ์ เป็นต้น  มีการใช้ร่วมกันเป็นบางมุม ปีการศึกษา 2566 
  4. ห้อง Simulation หมุนเวียนทุกวันจันทร์  ตาม case ที่เป็นสิ่งที่จำเป็น
  5. Digital library นักศึกษายืม-คืนเองได้ 
  6. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้นักศึกษาใช้ IPAD ได้
  7. ห้องLab-กายวิภาค ที่นักศึกษามาเรียนรู้จากอาจารย์ใหญ่ได้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และใช้ IT-IPAD เรียนรู้ได้
  8. การผลิตสื่อคลิปวีดีโอ น้องๆอาจารย์ผลิตสื่อคลิปวีดีโอ
  9. ทุกรายวิชาเป็นแบบ Active learning เช่น PBL /Evidence Based Leaning/ Team based Leaning/Simulations based /Tran formative Leaning /Information and communication 
  10. กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ให้เป็นไปตาม มคอ.3-4

1. รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งในระดับสถาบัน

ทั้ง 6 สาขาวิชาจะดำเนินการใน 3 ระยะ  ดังนี้

  1. ระยะที่หนึ่ง เดือนมกราคม  ให้แต่ละสาขาวิชา ทบทวน Content based อธิบายเนื้อหาตาม blue print สภาการพยาบาล  สาขาวิชาละ 3 ชม. นอกจากนี้ในขณะที่มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ได้ให้มีข้อสอบ post test ภาคปฏิบัติทุกสาขาวิชา เน้นให้ตรงกับ blue print สภาการพยาบาล
  2. ระยะที่สอง เดือนกุมภาพันธ์  ให้ทำแบบทดสอบด้วยข้อสอบ สาขาละ 3 วัน ให้แต่ละสาขาวิชาออกแบบการทบทวนความรู้ เน้นการทบทวนโดยให้นักศึกษาทำข้อสอบ
  3. ระยะที่สาม เดือนมีนาคม  สอบถามนักศึกษาว่าจะทบทวนสาขาไหนมากน้อยเพียงใด ด้วยการทำข้อสอบ และให้นักศึกษาไปย่อยความรู้เอง นักศึกษาขับเคลื่อนมีผู้นำที่เรียนดี เกียรตินิยม แบ่งเป็น 8 กลุ่มสาขาวิชา แต่ละสาขาทบทวนกันเอง ติดต่ออาจารย์  เน้นการทำข้อสอบ

ประเด็นที่ 2 แนวทางการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพในระดับสาขา/ภาควิชา 

ดร.ดวงดาว อุบลแย้ม ได้กล่าวถึง แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนฯ ในแต่ละสาขาวิชา ดังนี้

การพยาบาลอนามัยชุมชน ทำ PBL ทุกวิชา ยกเว้นรักษาทำ Case based 
พี่เลี้ยงแหล่งฝึกมีส่วนร่วมในการ  Conference  เน้นให้นักศึกษาสร้าง นวัตกรรมทางการพยาบาล ขั้นตอนดำเนินการมีทั้ง 3 ระยะ เช่นกัน  คือ

  • ระยะที่1 เน้นทบทวนตาม concept ตาม blue print สภาการพยาบาล  
  • ระยะที่2 เน้นการทำแบบทดสอบ  ทำข้อสอบหลายๆ รอบ  
  • ระยะที่3 ทำแบบทดสอบด้วยตนเอง และสามารถสอบถามอาจารย์ในเนื้อหาที่สงสัยได้
     

การพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์

  • ระยะที่ 1 เน้นทบทวนตาม TBP สภาการพยาบาล ฝึกวิเคราะห์ข้อสอบ เนื้อหาเน้น Concept หลัก/หลักการพยาบาล ภาคปฏิบัติ Simulation ด้วย สถานการณ์บนward Preconference ทำ case conference  ตามแนวข้อสอบสภาการพยาบาล
  • ระยะที่ 2 สอบถามเนื้อหาที่ต้องการทบทวน มอบหมายให้ไปทบทวนเอง เมื่อสงสัยซักถามได้ เน้นกลุ่มย่อย
  • ระยะที่ 3 จัดกลุ่มให้นักศึกษาฝึกทำข้อสอบด้วยตนเองพร้อมกับการวิเคราะห์โจทย์และถ้ามีข้อสงสัยให้ถามอาจารย์ประจำกลุ่ม
     

การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
วิชาการพยาบาลจิตเวชนักศึกษาได้เรียนในชั้นปีที่ 3 อาจจะทำให้นักศึกษาลืมเนื้อไปบ้างการทบทวนมีแนวทางเหมือนกัน คือ 3 ระยะตามระยะเวลาที่ทางวิชาการได้จัดไว้ให้ดังนี้

ระยะที่ 1 ทบทวนตาม blue print สภาการพยาบาล  เช่น ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช  ,การพยาบาลฉุกเฉินทางจิตเวช ที่สามารถพบในแผนกฉุกเฉิน, Mini PBL  

  • การเห็น case ตัวอย่างจะ ทำให้เข้าใจทำข้อสอบได้ มอบหมายให้ทุกคนช่วยกันเป็นทีม
  • ภาคปฏิบัติฝึกปฏิบัติที่ รพ. ศรีธัญญา  ฝึกแผนก ER ศรีธัญญา  ได้มีการเชิญเภสัช บรรยายเรื่องยา เชิญพยาบาลมาบรรยายฉุกเฉินจิตเวช ขณะฝึกปฏิบัติมีการทำ conference ทุก case ในทุกรายละเอียด Clinical ที่เป็นสำคัญ  จิตเวชชุมชน หลังสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ มีการ สอบ MEQ OSCE case สั้นๆ 
  • ปี 4 มาเตรียมสอบ 3 ระยะโดยทบทวนconcept จากข้อสอบโดยวิเคราะห์ว่าเจอปัญหาเรื่องใด ขาดเรื่องใด จะทบทวนConcept  จากนั้นทดสอบแยกกลุ่มเด็ก สร้างข้อสอบ online google form
  • จำข้อสอบไปศึกษาค้นคว้ามาอธิบายให้เพื่อนฟัง วิเคราะห์ร่วมกัน เมื่อทำการทบทวนความรู้จะลงไปทั้งทีม และเด็กเก่งหลุดตก ต้องพยามมองให้เด็กทั้งหมด Walk Rally ฐานสำคัญ Relax ตัวเองเพื่อเสริมกำลังใจ

การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
มีอาจารย์ครู 6 คนจัดการเรียนการสอน case กรณีศึกษาจริงๆ ที่เป็นสำคัญ (The must) 
ระยะที่ 1 ทบทวน Concept อธิบาย TBP โดยอาจารย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ อาจารย์น้องๆ observe
ระยะที่ 2,3 ทบทวนจากข้อสอบ แบบฝึกหัด ข้อสอบในgoogle form เพื่อนช่วยเพื่อน  เห็นนักศึกษารายบุคคลสามารถfeed backได้โดยตรง
 

การบริหารและพัฒนาวิชาชีพทางการพยาบาล
วิชานี้นักศึกษาเรียนในชั้นปีที่ 2 ในขณะที่จัดการเรียนการสอนจะปูพื้นให้จำมากๆ โดยมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนดังนี้

  1. เน้นการสอนแบบอภิปราย วิเคราะห์กรณีศึกษา แบบฝึกหัด ช่วยสรุปความรู้
  2. โต้วาทีจริยธรรม มาใช้ในการเรียนการสอน วิชากฎหมายจะเก็บตกอีกครั้งตอนปี 4

ระยะที่ 1 ทบทวน Concept วิเคราะห์ TBP เพื่อสอนให้เน้นมากขึ้น แบ่งหัวข้อกันเนื่องจากอาจารย์มีน้อย อาจารย์เชี่ยวชาญกฎหมายทำให้นักศึกษาได้ความรู้มากขึ้น

ระยะที่ 2,3 ทบทวนจากข้อสอบ แบบฝึกหัด ข้อสอบใน google form 
 

การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนแบบ case based/ team based /EVB /Sim

  • ระยะที่ 1   ทบทวนConcept ตามTBP เพื่อแบ่งชั่วโมง โดยอาจารย์แต่ละคนรับผิดชอบ
  • ระยะที่ 2 ทบทวนจากข้อสอบแต่ละระบบ อาจารย์ไปเฉลยแต่ละระบบ
  • ระยะที่ 3 นักศึกษาแจ้งว่าต้องทบทวนระบบไหน พิจารณาจากผลคะแนนด้วย แบ่งเด็กเป็นกลุ่มย่อยทบทวนและมานำเสนอให้อาจารย์เพิ่มเติม  ให้ครูออกข้อสอบไม่ติวทุกเรื่องแต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักศึกษา

2.ปัญหาอุปสรรคที่มีนัยสำคัญต่อความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข

  • อาจารย์ผู้สอนไม่ว่างในการทบทวนความรู้ หรือบริหารจัดการไม่ได้ แก้ไขโดยแลกตารางรายบุคคล แลกตารางกับสาขาอื่นๆ โดยหัวหน้าทุกสาขาจะคุยกันบ่อยๆ
  • การใช้ห้องและเทคโนโลยี มีการใช้ห้องเกินเวลาจนต้องจำกัดเวลา
  • life style ของนักศึกษารายบุคคลอาจไม่ชอบมานั่งทบทวน ก็จะให้อิสระนักศึกษาบ้าง เช่น อนุญาตให้ตามอัธยาศัยแต่จะมีน้อยมาก เช่น 1-2 คน
  • นักศึกษาบางคนไม่สนใจ ไม่ร่วมมือ ก็จะพูดข้อดีข้อเสียของการสอบไม่ผ่านให้นักศึกษาได้มีจิตสำนึกรับผิดชอบทบทวนความรู้เพื่อสอบให้ผ่าน

ประเด็นที่ 3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์

  • กระบวนการจัดการเรียนการสอน
  • วิธีจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เน้นสถานการณ์จำลอง/สถานการณ์จริง/case studyที่หลากหลาย The must case conferment, clinical teaching การสอนภาคปฏิบัติทุกสาขาวิชาแบบ evidence based Nursing (EBN) /สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน EBN สู่การสร้างนวัตกรรมทางสุขภาพ
  • การประเมินผล เช่น การสอบOSCE/Authentic Assessment
  • บรรยากาศการเรียนรู้/สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  • มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน สร้างแรงบันดาลใจ
  • การสอบความพร้อม/การสอนเสริม
  • Time Management
  • การแบ่งกลุ่มย่อยเรียนรู้ /เพื่อนช่วยเพื่อน
  • การติดตามอย่างสม่ำเสมอ
  • กำลังใจรุ่นน้องจัดกิจรรมให้กำลังใจพี่ ครูประจำชั้นคอยดูแลประสานผู้บริหารให้ Support นักศึกษาได้ ผู้บริหารมีกิจกรรมเสริมกำลังใจ อาจารย์แม่จะกระตุ้นบ่อยๆ มีการแจกขนมเป็นรางวัล รางวัลคะแนนสูง 3 อันดับแรกและคะแนนต่ำสุด 3 อันดับ
  • ผู้บริหาร และอาจารย์ประจำชั้นปีผูกพันกันดี ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ครูประจำชั้น 
  • ข้อสอบมาจากคณาจารย์แต่ละสาขาวิชา สร้างข้อสอบโดยยึดหลัก TBP ของสภาการพยาบาล
  • กำหนด The must case ที่นำมาสอน (Clinical teaching) ของทุกสาขาวิชาที่สอดคล้องกับTBPของสาขาวิชาและของสภาการพยาบาล หรือ ไม่พบในการฝึกภาคปฏิบัติจึงนำมานำมาสอน (Clinical teaching) ของทุกสาขาวิชาที่สอดคล้องกับTBPของสาขาวิชาและของสภาการพยาบาล หรือเลือกในหัวข้อที่ส่วนใหญ่สภาออกข้อสอบมาสอน
  • การแบ่งกลุ่มนักศึกษาขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละสาขาวิชาตามอิสระ เช่น ห้องใหญ่ กลุ่มย่อยแต่ใช้ข้อมูลการแบ่งมาจากผลการสอบของวิทยาลัย (เรียง GPA จากงานทะเบียน วัดผลฯ) ผลสอบ สถาบันพระบรมราชชนกแต่ละปีปรับเปลี่ยนไป
     

ประเด็นที่ 4 การแลกเปลี่ยนจากตัวแทนสาขาวิชาของวิทยาลับพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ดังนี้

อ.อายุพร กัยวิกัยโกศล สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

เป็นการทบทวน Concept ตาม TBP ของสภาการพยาบาลโดยอาจารย์ภายนอก คือ อาจารย์สาขาสุขภาพจิตฯ จากมหาวิทยาลัยพะเยา จากนั้นทางสาขาวิชาได้จัดทำข้อสอบ Pre-post test และแบ่งการทบทวนเป็น 4 กลุ่มย่อยกลุ่มละ 29-30คน ทบทวนกลุ่มย่อยด้วยการทำข้อสอบ แปลข้อสอบจากข้อสอบภาษาอังกฤษ และการทบทวนจะไม่ทิ้งทั้งนักศึกษาที่เก่งและอ่อน และได้สาระสำคัญจาก วพบ. สระบุรีเพื่อนำไปปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และกระบวนการทบทวนความรู้เพื่อสอบสภาการพยาบาลต่อไป

อาจารย์ศุภวรรน ยอดโปร่ง สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน
สาขาวิชานี้นักศึกษาสอบผ่าน 100% มีเพียงในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา พบว่าสอบไม่เป็น 100% สาเหตุเกิดจากนักศึกษาไม่เข้าใจในเนื้อหา ระบาดวิทยาและบทบาทการพยาบาลในชุมชน 
แนวทางในการเตรียมความพร้อม หรือการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่ม A-B-C และในแต่ละกลุ่มใหญ่แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย แบ่งออกเป็น 4-5 กลุ่ม ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบข้อสอบแบบ / X โดยให้แข่งกันทำและให้รางวัล 

อาจารย์สุรีรัตน์  ณ วิเชียร สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
เตรียมความพร้อมโดยการทบทวน Concept ตามข้อสอบสภาการพยาบาลโดยให้อาจารย์ที่มีเชียวชาญในแต่ละระบบเป็นผู้มาทบทวนให้กับนักศึกษาจากนั้นให้ทำข้อสอบ

อาจารย์สาวิตรี ลิ้มกมลทิพย์  สาขาวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
เตรียมความพร้อมโดยการแบ่งกลุ่มเด็กเป็น 3 กลุ่มตามคะแนนผลการเรียน ทบทวนเนื้อหาที่นักศึกษาไม่เข้าใจส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจในการการพยาบาลเด็กปกติ, มีการเชิญอาจารย์ภายนอกมาช่วยทบทวน

อาจารย์นุโรม  จุ้ยพ่วง สาขาการพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์
เตรียมพร้อมให้นักศึกษาทำข้อสอบในขณะฝึกภาคปฏิบัติและทบทวนความรู้พร้อมกับทำข้อสอบตามตารางโครงการเตรียมความพร้อมของวิทยาลัย

อาจารย์จิตติพร ศรีษะเกตุ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล
เตรียมความพร้อมขณะเรียนทฤษฏีโดยการวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายทางการพยาบาลและจริยธรรม รายวิชาปฏิบัติบริหารทางการพยาบาลมีให้นักศึกษาได้วิเคราะห์กรณีศึกษาทางจริยธรรม และนำองค์ความรู้ทางด้านจริยศาสตร์มาทบทวนเพื่อเตรียมสอบด้วย สำหรับในช่วงเตรียมความพร้อมก่อนสอบฯ ตามโครงการของวิทยาลัย สาขาวิชาจะใช้ระยะเวลาในการทบทวน 1 วันครึ่ง โดยปูพื้นฐานเนื้อหา 1 วัน และใช้ข้อสอบทบทวนอีก ครึ่งวัน และมีการแบ่งกลุ่มสลับวันในการติวเป็น กฎหมายและจริยศาสตร์ 

ดร.เบญจมาภรณ์ นาคามดี  
กล่าวถึงการเสริมแรงให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดย ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 3 โดยการทำภาพให้กำลังใจให้แก่ชั้นปีที่ 4 ให้สอบผ่านสภาการพยาบาลฯ
 

หมายเลขบันทึก: 717479เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2024 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2024 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

เป็นประโยชน์มากเลยคะ ได้นำความรู้มาปรับใช้ในการเตรียมทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาเพื่อเตรียมตัวสอบสภาการพยาบาลคะ

สิ่งที่วพบ.พุทธชินราชทำมาก็มีลักษณะคล้ายๆกับวพบ. สระบุรี เราควรนำของวพบ.สระบุรีมาปรับใช้กับวพบ.ของเราโดยเริ่มปลูกฝังเรื่องการสอบขอรับใบประกอบวิชาชีพฯตั้งแต่ปี1 และปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งกระบวนการทบทวนความรู้เพื่อสอบสภาการพยาบาล เพื่อเป้าหมายและประโยชน์สูงสุดกับนักศึกษาของเรา

การแลกเปลี่ยนความรู้ครั้งนี้สามารถนำมาใช้วางแผนการทบทวน เตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร

เป็นโครงการที่ดีมากคะ ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในการเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบสภาให้ผ่านอย่างมีคุณภาพ และสร้างแรงบันดาลใจในการติวนักศึกษา

จันทร์จิรา อินจีน

กิจกรรมดีมากคะ สามารถนำมาปรับใช้ในกระบวนการเตรียมตัวในการสอบสภาการพยาบาลของนักศึกษาเพื่อพัฒนาผลสอบให้ดีขึ้นต่อไป

ได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สามารถนำวิธีการต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้นักศึกษาได้มีการเตรียมตัวเพื่อสอบสภา และพัฒนาผลการสอบให้ดียิ่งๆๆขึ้นค่ะ

ได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แนวทางปฏิบัติที่หลากหลายค่ะ

เป็นการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์มากค่ะ ทำให้ได้แนวทางไปปรับปรุงพัฒนาการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการสอบสภาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบคุณผู้จัดและวิทยากรสำหรับกิจกรรมดีๆค่ะ

เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

ได้แนวทางที่ท้าทายในการสอน ทบทวนความรู้ โดยเน้นการสร้างพื้นฐานความรู้ให้แน่นในช่วงการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ช่วงทบทวนความรู้ก่อนสอบท้าทายให้คิดกิจกรรมฟื้นความรู้ที่น่าสนใจให้นักศึกษานำไปสอบสภาการพยาบาลให้ผ่านรอบแรกให้ได้ ซึ่งกลยุทธ์ที่ทีมวิทยากรนำมาแลกเปลี่ยนเป็นประโยชน์มากๆและได้แนวทางที่เป็นรูปธรรมดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท