ชีวิตที่พอเพียง  4662. PMAC 2024  2. กลไกจัดระเบียบโลก (Global governance)


 

นี่คือ Subtheme 1 : Global Governance for Health (and Global Health Governance)    ที่ผมตีความว่า เราอยู่ในยุคที่กลไกจัดระเบียบโลกอ่อนแอลง   โดยตัวการหลักคือประเทศมหาอำนาจโลกนั่นเอง    ดังกรณีประเทศที่ต้องการดำรงความเป็นประเทศหมายเลขหนึ่งของโลก มีประธานาธิบดีที่ประกาศนโยบาย America first    ที่ส่งผลทำให้ระบบสหประชาชาติอ่อนแอ    มาก่อนยุคประธานาธิบดีท่านนั้น   

เราจึงต้องการกลไกจัดระเบียบโลกใหม่    ที่ผมไม่มีความรู้ว่าควรเป็นอย่างไร    มีแต่ความคิดเชิงทฤษฎีว่า ต้องใช้หลัก inclusive & equity   ไม่ใช่หลักเอื้อประเทศที่มีอำนาจเป็นหลัก    การจัดระเบียบโลกใหม่ด้านระบบสุขภาพเป็นสาระหลักของการประชุมหัวข้อย่อยที่ ๑   ที่มี ๒ คำถามหลักคือ   (1) What are the implications of global governance for health and how can they improve the overall health outcomes?  (2) How can global governance for health be enhanced or transformed to address emerging challenges and promote health equity?

คำถามของผมคือ หลังจบการประชุมนี้ เรามีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมไหม   ผมเคยได้ยินจากคุณหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มากว่าสิบปี ว่า องค์การอนามัยโลกทำงานไม่ได้ผล       

คิดไตร่ตรองแล้ว ผมว่าเราน่าจะเสนอได้เพียงหลักการ    โดยเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ผลประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์    ตามแนวทางที่ PMAC ดำเนินตามรอยพระยุคลบาทของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ   

อ่านจากเอกสารประกอบการประชุม Plenary 1 บอกว่าระบบจัดระเบียบโลกแบบ multilateralism กำลังอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ    ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในโลกเพื่อสุขภาพ (global solidarity for health) ก็หย่อนยวบลงไปด้วย   

หลังจากฟัง Plenary 1   ตอนบ่ายวันที่ ๒๕ มกราคม มี Parallel Session ของ Subtheme 1 ถึง ๕ ห้องประชุมย่อยพร้อมกัน    ผมเลือกไปเข้า PS 1.3  Transformative Digital Technology for Future Health    ที่คนฟังแน่น และไม่ผิดหวัง   มีการมองโอกาสใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อระบบสุขภาพที่เข้มแข็งในอนาคต    โดยต้องตระหนักว่า digital technology มีทั้งประโยชน์และโทษ 

หลักการคือ ช่วยกันทำให้เกิดประโยชน์ หลีกเลี่ยงโอกาสเกิดโทษ    เรื่องแบบนี้มีหลักการสากลคือ (๑) เน้นความเท่าเทียม  (๒) มีความรับผิดรับชอบ  (๓) มีกลไกกำกับดูแลที่เข้มแข็ง  (๔) ทำให้เป็นสมบัติสาธารณะระดับโลก  (๕) มีกลไกให้ดำเนินการข้ามเขตแดน (cross-boundary)  (๖) มีกระบวนการร่วมมือกันหลายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (๗) ใช้กลยุทธ value-based 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ม.ค. ๖๗   ปรับปรุง ๑๘ ก.พ. ๖๗

ห้อง ๔๖๑๐  โรงแรมเซนทารา แกรนด์    

 

หมายเลขบันทึก: 717350เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2024 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Should we think more on globalizing medical communications - language and record and ‘networks’ - so that medical experiences and knowledge can available globally?

Conglomeration of hospital [patient and treatment] data systems seems needed urgently for future healthcare in Thailand. Have we planned/trained enough medical record data technologists and planned/invested in hardware and software and network infrastructure?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท