ชีวิตที่พอเพียง  4661. PMAC 2024  1. ภูมิศาสตร์การเมืองกับสุขภาวะ


 

การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ๒๕๖๗ หัวข้อ Geopolitics, Human Security and Health Equity in the Era of Polycrisis    มีกิจกรรมทั้งสัปดาห์ ของวันที่ ๒๒ - ๒๗ มกราคม ๒๕๖๗   โดยการประชุมหลักอยู่ที่วันที่ ๒๕ - ๒๗ 

ผมตั้งใจเขียนบันทึกชุด PMAC 2024 นี้จากการสะท้อนคิดอย่างสุดๆ     

เริ่มจากการจ้องตีความสาระจากการประชุมตามหัวข้อของบันทึกนี้ ... ภูมิศาสตร์การเมืองกับสุขภาวะ   จากการทบทวนเอกสารภาพรวมของการประชุม (๑)    และตีความว่า ต้องจ้องดูจากสาระในการประชุมว่าภูมิศาสตร์การเมืองมีผลต่อ  “economic, social, and physical landscapes” ที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้คนในโลกอย่างไร     

แต่ผมก็รู้จัก geopolitics แบบเข้าใจไม่แม่น    จึงถาม Generative AI สามสำนักคือ ChatGPT, bard, bing ว่ามันคืออะไร   สรุปได้ว่ามันคือการทำความเข้าใจว่าภูมิศาสตร์มีผลต่อการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างไร   และเมื่อถามว่าประเด็นสำคัญของภูมิศาสตร์การเมืองในปัจจุบันคืออะไร   ก็ได้คำตอบว่า (๑) ความขัดแย้งสหรัฐ-จีน  (๒) สงครามรัสเซีย-ยูเครน  (๓) วิกฤติภูมิอากาศ  (๔) กระแสชาตินิยมและประชานิยม  (๕) การระบาดใหญ่ และผลที่ตามมา   

ผมตีความว่า เป็นเรื่องระยะยาวที่มีความซับซ้อนมาก และผลต่อสุขภาวะของผู้คนก็มีความไม่ชัดเจนและมีปัจจัยเกี่ยวข้องซับซ้อน    โดยกลไกสำคัญคือ ระเบียบโลก (global / international governance)    ความรู้สึกส่วนตัวผม คิดว่าสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ร้ายตัวสำคัญ   ที่มีพฤติกรรมต้องการรักษาความเป็นจ้าวโลกของตนไว้    จึงก่อปัญหาความขัดแย้งลับๆ ในเรื่องนี้ไปทั่วโลก   

ลองตั้งคำถามว่า ในท่ามกลางสภาพความขัดแย้งของภูมิศาสตร์การเมือง    แต่ละสังคม แต่ละชุมชน แต่ละครอบครัว และแต่ละคนต้องทำอย่างไร จึงจะดำรงสภาพที่มีสุขภาวะไว้ได้    ซึ่งก็สะท้อนว่า ประเทศไทยเราก็มีความยืดหยุ่นสูงดีทีเดียว    คือเราไม่เดือดร้อนมากนัก พอทนได้   

แต่หากสวมวิญญาณเห็นใจเพื่อนร่วมโลก เราก็เห็นชัดว่า คนในหลายประเทศ ในหลายภูมิภาคของโลกเดือดร้อนจากความขัดแย้งดังกล่าว    ที่เห็นชัดคือในยูเครน และในปาเลสไตน์               

Plenary 0 ว่าด้วยภาพใหญ่นี้โดยเฉพาะ   จับประเด็น governance mechanism  ระดับโลก  ภูมิภาค และประเทศ   ที่เป็นต้นเหตุของความไม่เท่าเทียม จากการเป็นระบบที่ครอบงำ (colonialism and imperialism)   ก่อผลร้ายไม่เฉพาะด้านสุขภาวะ    แต่มีผลต่อด้านสังคม เศรษฐกิจ และภูมิศาสตร์กายภาพ    ส่งผลให้บรรลุ SDG ได้ยาก   

เพิ่มเติม ๘ ก.พ. ๖๗

Victoria Fan  แห่ง CGD – Center for Global Development สะท้อนคิดการเข้าร่วม PMAC 2024  ไว้ที่ https://www.cgdev.org/blog/how-host-excellent-conference-lessons-pmac 

 วิจารณ์ พานิช

๒๖ ม.ค. ๖๗

ห้อง ๔๖๑๐ โรงแรมเซนทารา แกรนด์   

เพิ่มเติม ๘ ก.พ. ๖๗  

 

หมายเลขบันทึก: 717330เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2024 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2024 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท