drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการเรียนรู้บนความท้าทาย Challenge Based Learning


วิธีการเรียนรู้บนความท้าทาย Challenge Based Learning, การจัดการเรียนการสอน

การเรียนการสอนในสมัยปัจจุบัน หากสอนแต่ทฤษฎี นักศึกษาก็จะเบื่อหน่าย ดังนั้นการสอนที่ อ.อภิชาติ สนธิสมบัติ ทดลองวิจัยในชั้นเรียน และใช้มา 2-3 ปีที่แล้ว คือการเรียนรู้บนความท้าทาย กับนักศึกษา-อาจารย์ เนื่องจากมีคำเสนอแนะจากโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการนิเทศนักศึกษา การโทรศัพท์ประสานงานส่วนตัวกับหัวหน้างานที่เป็นรุ่นน้อง หรือที่รู้จัก สรุปว่าควรทำดังนี้

หมายเลขบันทึก: 717259เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2024 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2024 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

นำเอาปัญหาจากโรงงานจริง มาให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นใช้แผนภูมิก้างปลา หรือจะวิเคราะห์รูปแบบใดๆ ที่นักศึกษาถนัด (ไม่ปิดกั้น) เพื่อให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ปัญหา แล้วค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์คอยซักถาม เช่น ถ้าคิดว่าปัญหาเกิดจากเรื่องสารเคมีไม่เหมาะสม นักศึกษามีวิธีใดที่จะทดสอบ หรือยืนยันว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เป็นต้น

ในการฝึกปฏิบัติ หากนักศึกษาสอบถามว่า อ.อภิชาติ ทำไมอาจารย์ไม่ใส่สารเคมีตัวโน้นตัวนี่ หรือเทสารเคมีรวมกันแล้วค่อยผสมน้ำ อันนี้ถ้าไม่เป็นอันตราย อ.อภิชาติ ก็จะปล่อยให้ทดลองทำ (อาจจะต้องเผื่อใจของเสียหายบ้าง แต่ข้อดีคือ ถ้า อ.ห้ามทุกอย่าง นักศึกษาก็ไม่ทราบว่า ถ้าทำไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น) วิธีนี้เมื่อนักศึกษาทำแล้ว เกิดปัญหา ก็จะเหมือนข้อด้านบน ให้วิเคราะห์ปัญหา แล้วหาวิธียืนยันตามสมมติฐานที่นักศึกษาตั้งขึ้น โดยมี อ.คอยแนะนำ และสอบถาม เพื่อขมวดปมให้นักศึกษาไปอย่างถูกทาง เมื่อนักศึกษาสามารถทำได้ หรือแก้ไขปัญหาได้ ก็จะมีการยกย่องชมเชย เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษากล้าที่จะทดลอง (ในขอบเขตที่ต้องฝึกการวางแผน การคิดวิเคราะห์แยกแยะ ให้ครบถ้วนก่อน ก่อนลงมือทำจริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก เป็นต้น) เพราะเดิม อ.อาจจะกลัวของเสีย อ.ก็จะห้าม หรือเฉลยไปก่อน นักศึกษาไม่สามารถเรียนรู้เองได้

ในการฝึกสหกิจศึกษา ในโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะต้องให้นักศึกษารวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วทดลองให้ออกความคิดเห็น อ.จะคอยตะล่อมให้ตรงจุด โดยจะไม่เฉลย แต่จะให้นักศึกษาขออนุญาตพนักงานที่ปรึกษา ในโรงงาน ทดลองในห้องแลปก่อน หากได้ผลดี ค่อยขยาย Scale จากห้องทดลอง สู่ Production Line (ขนาด 1 กก.) ไม่ใช่ทำทีเป็น 100 กก. อาจจะเสียหายกับบริษัทได้

ในการสอนทุกครั้ง อ.จะ Challenge นักศึกษาให้คิด และโต้ตอบคำถามอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาทุกคน มีความมั่นใจในตัวเอง และฝึกบุคลิกภาพความเป็นผู้นำ ซึ่งไม่ว่าจะตอบผิดหรือถูก เราก็จะค่อยเรียนรู้ร่วมกัน แล้วค่อยแนะนำ ให้นักศึกษามีความคิดเข้ารูปเข้ารอย ไม่แน่นักศึกษาอาจมีแนวทางที่แปลกๆ ในการเสนอแนะ หรือแก้ไขปัญหาก็ได้ เพราะถ้า อ.จะเน้นแค่คำตอบถูกหรือผิด ถ้านักศึกษาตอบผิด ครั้งหน้าเขาจะไม่กล้าตอบ เพราะเสียหน้าต่อหน้าเพื่อนๆ อันนี้สำคัญมากครับ *สิ่งทั้งหลายนี้ ได้รับจากการเรียนรู้จากนักศึกษา พนักงานบริษัท ผู้บริหารของโรงงาน ว่า เราห้ามคิดแทนคนอื่น ต้องให้ลองคิดดู อีกประการ ถ้านักศึกษาคิดแก้ไขปัญหาแล้ว อ.อาจจะต้องบอกว่า ถ้าทำแบบนี้ จะเกิดผลเสีย หรือผลกระทบอะไรตามมา เหมือนเล่น สนุ๊กเกอร์ ยิงไปโดนลูกหนึ่งลง แต่อาจจะไปบังสนุ๊กตัวเอง ไม่ให้ยิงลูกต่อไป หรืออาจทำให้พลาดจนคู่แข่งตบลูกหมดโต๊ะ (แพ้ไปเลย) อันนี้ต้องขึ้นกับประสบการณ์อาจารย์ด้วยนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ หาก อ.ท่านใดจะเสริมแนวทาง สามารถเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ (หมายเหตุ อ.อภิชาติ เจนห่างจาก นักศึกษามากๆ ดังนั้น อ.ก็ต้องหาวิธีใหม่ๆ เพื่อให้เราทั้งสอง เจนมีความสุขในการเรียนรู้ร่วมกันนะครับ ขอบคุณครับ)

จากการทดลองมา 2-3 ปีนีั ช่วงแรกๆ จะติดขัดหนิดหน่อย เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 แต่พอสถานการณ์คลี่คลาย อ.อภิชาติ คิดว่ามีประโยชน์มากๆ เพราะเคยได้รับฟังปัญหาจากนักศึกษาสหกิจ ว่าบางบริษัท ห้ามโน้นห้ามเนี่ย นักศึกษาก็เลยไม่กล้าตัดสินใจอะไร ต้องรอให้หัวหน้าสั่ง ดังนั้นจะไม่เหมาะกับการสอนให้นักศึกษาเป็นวิศวกรที่ดี เพราะนักศึกษาจะกลัวผิด กลัวโน้นนี่นั่น ทางที่ดี อ.ต้องยอมเจ็บปวดใจบ้าง แต่คิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่ค่อนข้างเหมาะสมกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบันครับ ให้กำลังใจอาจารย์ทุกๆ ท่านครับ สนใจ… เคล็ดไม่ลับในการทำ ติดต่อได้นะครับ อ.อภิชาติ ยินดีจะร่วมพูดคุย และน้อมรับคำแนะนำครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท