ชีวิตที่พอเพียง  4605. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๒๒๐) Pratham : ยุทธศาสตร์ชี้ผล สู่สภาพช่วยกันแก้ไขที่รากเหง้า (root cause)


 

ในการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๖  ได้ข้อเรียนรู้ที่น่าตื่นตาตื่นใจเรื่ององค์กร NGO ด้านการศึกษา ชื่อ Pratham   ที่มียุทธศาสตร์ทำงานน้อย ได้ผลมาก    ลงทุนน้อย ก่อผลกระทบมาก   เพราะจับประเด็นถูกในเรื่องยุทธศาสตร์สร้างการเปลี่ยนแปลง    คือจับที่ผู้รับผลกระทบ (demand-side)     ไม่เน้นทำจากฝ่ายผู้ให้ (supply-side) อย่างในบ้านเรา 

 เขาเน้นให้ ผู้รับผลกระทบ (demand-side) เป็นฝ่ายร่วมดำเนินการหาข้อมูลทำความเข้าใจตัวปัญหา และรากเหง้าของปัญหา     แล้วเน้นให้  ผู้รับผลกระทบ (demand-side) นั้นเอง เป็นผู้กระทำการหลักในการแก้ปัญหา    โดยชักชวนให้เข้ามาทำงานแบบอาสาสมัคร           

ฟังจากที่คุณหมอสุภกร บัวสายเล่าต่อที่ประชุมแล้ว ผมรู้สึกว่า Pratham ไม่มุ่งเข้าไปแก้ปัญหาโดยตรง   แต่มุ่งดำเนินการเพื่อให้ชุมชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความตระหนักในปัญหา    และมองเห็นลู่ทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง 

ชวนให้ผมกลับมาสะท้อนคิดต่อว่า     กสศ. ควรพิจารณาว่าจะใช้ยุทธศาสตร์ทำนองนี้แก้ปัญหาความไม่เสมอภาคด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ จะดีหรือไม่   ที่จริงข้อมูลที่นักเรียนชั้น ป. ๔ จำนวนหนึ่งอ่านเขียนได้เท่านักเรียน ป. ๒ เป็นที่รู้กันดีในวงการศึกษาไทย   แต่ข้อมูลนี้ไม่แน่นพอที่จะสร้างผลสะเทือนให้คนทั้งประเทศรวมพลังร่วมกันแก้ไข  ไม่ใช่โยนบาปไปให้กระทรวงศึกษาธิการที่เดียว   

ขอนำ presentation ของฝ่ายต่างประเทศของ กสศ.   มาให้ดู ดังต่อไปนี้    

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ต.ค. ๖๖

  

หมายเลขบันทึก: 716485เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2023 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2023 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท