ชีวิตที่พอเพียง  4601. ภูมิศาสตร์ของความไม่เป็นธรรม


 

บทความเรื่อง The Geography of Injustice ลงพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๖๖   บอกว่ามองจากมุมของสภาวะแวดล้อม คนที่ได้เปรียบที่สุดคือคนที่มีชีวิตอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ   คนที่ด้อยโอกาสคือคนที่มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เป็นภัยต่อสุขภาพ

ผมอดเถียงไม่ได้ว่า สภาวะแวดล้อมมีสองมิติ   คือมิติภายนอกตัวเรา กับมิติภายในตัวเราเอง    ที่เขาเขียนนั้น มองเฉพาะสภาวะแวดล้อมภายนอก   ที่หลายส่วนไม่อยู่ในอำนาจของเรา   แต่สภาวะแวดล้อมภายใน ตัวเราเองเป็นผู้กำหนด   หากเรามีทักษะในการควบคุมตนเอง   

กลายเป็นว่า ส่วนหนึ่งของความไม่เป็นธรรมคือ   โอกาสได้ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่ควบคุมจิตใจของตนเองได้    คนเรามีโอกาสไม่เท่ากัน    และที่ซับซ้อนยิ่งคือ ในหลายกรณีตนเองเป็นผู้เลือกไม่รับโอกาสนั้น 

กลับมาที่ บทความเรื่อง The Geography of Injustice เขาบอกว่า คนจน ในอเมริกา  และในประเทศยากจนในโลก หายใจรับอากาศเป็นพิษ มากกว่าคนรวย    ผมก็เถียงอีก ว่าความซับซ้อนคือ คนจนสูบบุหรี่เอาพิษจากบุหรี่ใส่ตัวมากกว่าคนรวย   

บทความไม่ได้เอ่ยถึง    แต่ผมขอเพิ่มว่า คนจนได้รับผลของความไม่เป็นธรรมตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา     คือแม่จำนวนมากมีความเครียดเรื้อรัง    ความเครียดเรื้อรังของแม่ที่ตั้งครรภ์ ๓ เดือนแรก เป็นพิษร้ายแรงที่สุดต่อทารกในครรภ์   มีผลต่อสมองที่กำลังพัฒนา   ทำให้พัฒนาแบบบิดเบี้ยว   กลไกสำคัญต่อการควบคุมตนเองพัฒนาผิดทาง   โอกาสเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่กำกับตัวเองได้ จะด้อยลงไป     

ความเครียดเรื้อรังนี้ เป็นพิษต่อร่างกายในทุกช่วงชีวิต    และครอบครัวร่ำรวยบางครอบครัว ก็ตกเป็นเหยื่อด้วย    

จะเห็นว่า ความไม่เป็นธรรมมีความซับซ้อนยิ่งนัก   บทความที่อ้างถึงแตะเพียงส่วนผิว   

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ต.ค. ๖๖

 

หมายเลขบันทึก: 716380เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท