รูปภาพจาก : https://shine365.marshfieldclinic.org/wellness/end-of-life-people-have-care-options/
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การดูแลที่มีมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตั้งแต่ผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่จะทรุดลงเรื่อยๆจนถึงช่วงที่ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งสามารถให้การรักษาควบคู่กับการรักษาหลักเช่นการรักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยก็ยังได้รับการรักษาแบบมาตรฐาน เช่นการรับเคมีบำบัด การรับการรักษาการฉายรังสี โดยไม่ได้ไปจำกัดการรักษาที่ผู้ป่วยควรได้รับ แต่ในระยะท้ายที่สภาวะร่างกายของผู้ป่วยอาจไม่เหมาะสมกับการรักษาเดิม เช่น การรักษาเคมีบำบัด การรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวโรค เข้าใจการพยากรณ์ของโรค เข้าใจการรักษา และเข้าใจถึงผลประโยชน์ และความเสี่ยงจากการรักษา และช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจในการรับการรักษาได้ดียิ่งขึ้น โดยการดูแลแบบประคับประคองจะคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วยเสมอ
ซึ่งบทบาทของทีม palliative care คือการคงความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตของผู้ป่วยให้อยู่ได้นานที่สุด รวมถึงการควบคุมอาการต่างๆ สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติให้เข้าใจตัวโรค และการดำเนินของโรค เพื่อตั้งเป้าหมายในการรักษาแบบประคองร่วมกัน และเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วก็จะดูแลสภาพจิตใจของญาติผู้ป่วยต่ออีกด้วย
รูปภาพจาก : https://www.caringinfo.org/types-of-care/
จากรูปภาพด้านบนสังเกตเห็นว่า Palliative care สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาปกติ (Curative care )เพื่อควบคุมอาการของโรคได้ และเมื่อถึงจุดที่รู้แล้ว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นเหลือเวลาในการมีชีวิตอยู่แค่ประมาณ 6 เดือน ก็จะเริ่มวางแผนการหยุดให้การรักษาปกติและเน้นไปที่การรักษาแบบเตรียมความพร้อมไปสู่การเสียชีวิตอย่างสงบสุข (Hospice care ) เตรียมความพร้อมในด้านจิตใจ จิตวิญญาณ ของทั้งผู้ป่วยเองและผู้ดูแล ปรับการดูแลให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งจะรวมไปถึงช่วงที่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้ว มีการดูแลติดตามญาติของผู้ป่วยร่วมด้วย
สรุป Palliative care โดยรูปภาพจาก : https://hpc.providencehealthcare.org/about/what-palliative-care
นักกิจกรรมเป็นหนึ่งในสหวิชาชีพทางการแพทย์ มีหน้าที่ในการประเมิน และบำบัดรักษา ผู้รับบริการที่มีปัญหาในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ตลอดทุกช่วงวัยจนถึงช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต
บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แหล่งอ้างอิง : Position paper occupational therapy in palliative care จาก Occupational therapy Australia 2015 และนำมาเชื่อมโยงตาม Approach ของ OTPF 4th edition, 2020
Key concepts ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
1.Valued Occupation
นักกิจกรรมบำบัดใช้ Client-centerd approach ในการค้นหากิจกรรมที่มีคุณค่าและมีความหมายกับผู้ป่วย
2.Doing, Being, Becoming, Belonging Occupations
3.Occupational changed over time
การดำเนินของโรคต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความต้องการของผู้รับบริการมีการเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ
4.Affirming life and preparing for death
5.Safe and Supportive environment
นักกิจกรรมบำบัดมีส่วนร่วมในการสอนทักษะการดูแลผู้ป่วยที่สำคัญให้กับครอบครัว และช่วยให้ครอบครัวผ่ายช่วงเวลาที่ยากลำบาก และโศกเศร้าไปให้ได้ (Assistive devices, Home modification, Discharge plan, Crisis management, Energy conservation, edema management, Fall prevention, Positioning, ROM, Mobility and Transfer training)
สรุป เป้าหมายหลักของนักกิจกรรมบำบัดคือ การช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีประสบการณ์ในการจากไปอย่างสงบสุข นั้นคือ “ a Good death “ (Mills & Payne, 2015) ซึ่ง A Good death สามารถนิยามได้ดังต่อไปนี้
(Jacques & Hasselkus, 2004 )
จาก Key concepts ทั้ง 5 ข้อ ทำให้นักกิจกรรมบำบัด แสดงถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัวของผู้ป่วย ยอมรับ การจากไปอย่างสงบ “ a good death ”
รูปภาพจาก : https://ideas.ted.com/how-to-prepare-for-a-good-death/
แหล่งที่มา
ความหมายของ Palliative care > https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/palliative-care
บทความปิดเรื่องจาก > https://aeon.co/essays/if-you-could-choose-what-would-make-for-a-good-death
ขอขอบคุณในการอ่านบทความนี้
จัดทำโดย
6423002 น.ส.ชัญญานุช ขุนนุ้ย
6423012 น.ส.รัตนวลี บางจริง
6423015 น.ส.กัญภาภัค อาชีวกุลมาศ
6423024 นายพีรพัฒน์ ห่านชัย
6423028 นายศุภัสสินธ์ุ ทองสุขแสงเจริญ
ไม่มีความเห็น